วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555


E-Book ท่องแดนธรรมวัดไผ่ล้อม นครปฐม






หลวงปู่เขียน ขนฺธสโร “เทพเจ้าแห่งขุนเขาคิชฌกูฏ” มรณภาพ



28 เม.ย.2555 ที่อาคารพยาธิวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ดร.มนัส โนนุช กรรมการและผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นตัวแทนพระองค์เดินทางมาสรงน้ำศพพระครูธรรมสรคุณ หรือหลวงปู่เขียน ขนฺธสโร เจ้าอาวาสวัดกะทิง บ้านกะทิง ต.พลวง กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี ซึ่งมรณภาพลงเมื่อเวลา 12.39 น.ที่ผ่านมา ด้วยอาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ อี หลังจากเดินทางเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาฯ เมื่อช่วงปลายเดือนม.ค.ที่ผ่าน โดยมีบรรดาลูกศิษย์ ประชาชน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ทราบข่าว ต่างพากันทยอยเดินทางมาร่วมพิธีสรงน้ำศพเป็นจำนวนมาก

ดร.มนัส เปิดเผยว่า หลวงปู่เขียนเป็นคนไข้ในพระราชูปถัมป์ของทูลกระหม่อม หญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี หลังทราบข่าว ตนจึงเดินทางมาจัดการเรื่องศพของหลวงปู่เขียน โดยทางโรงพยาบาลจะเปิดให้ลูกศิษย์และประชาชนทั่วไป มาร่วมสรงน้ำในศพตั้งแต่เวลา 15.00-18.00 น.ของวันนี้ (28 เม.ย.) เท่านั้น หลังจากนั้นทางโรงพยาบาลจะนำรูปภาพของหลวงปู่เขียน ผูกสายสิญจน์ ตั้งไว้ที่อาคารพยาธิวิทยา เพื่อให้ประชาชนเดินทางนำพวงมาลัยมาถวาย จากนั้นในวันที่ 2 พ.ค. ก็จะเคลื่อนศพของหลวงปู่ไปที่วัดกะทิง ต.พลวง กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี และพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ โดยจะตั้งสวดพระอภิธรรม เป็นเวลา 30 วัน พร้อมทั้งเก็บสรีระไว้ไม่มีการฌาปนกิจแต่อย่างใด

สำหรับประวัติพระ“พระครูธรรมสรคุณ”หรือ“พ่อท่านเขียน ขนฺธสโร”เป็นพระที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมพัฒนาช่วยเหลือทางสังคม สาธารณประโยชน์ การศึกษา และอื่นๆ อีกมากมาย พ่อท่านเขียน มีนามเดิมว่า เขียน ทองคำ เกิดเมื่อวันที่ 18 ก.พ.2473 ณ บ้านกะทิง ต.พลวง กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฏ (ขณะนั้นเป็นอำเภอมะขาม) จ.จันทบุรี โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายอยู่ และนางมุ้ง ทองคำ ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม หาของป่าและสมุนไพร จึงได้รับการถ่ายทอดวิชาพืชสมุนไพรและของป่าบนเขาคิชฌกูฏ จนมีความชำนิชำนาญ และเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดกะทิง ต.พลวง กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2494 รวมสิริอายุ 82 ปี พรรษา 60 ปี

พ่อท่านเขียน ขนฺธสโร เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการจัดงานประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พระบาทพลวง) ซึ่งอยู่บนยอดเขาคิชฌกูฏ ต.พลวง กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี ขึ้นเป็นเวลานานไม่ต่ำกว่า 60 วัน ระหว่างปลายเดือนมกราคมหรือต้นเดือนกุมภาพันธ์จนกระทั่งถึงเดือนมีนาคมหรือเดือนเมษายน ของทุกๆ ปี ซึ่งเป็นที่กล่าวขานว่า ใครเดินทางขึ้นเขาพระบาทพลวง (เขาคิชฌกูฏ) เพื่อนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนเขาคิชฌกูฏ จะได้รับมหากุศล ประสบแต่ความสุขความเจริญรุ่งเรือง โดยจะมีพิธีบวงสรวงเทพยดาฟ้าดิน พีธีปิดป่า (พิธีปิดตาสัตว์ป่า ป้องกันภัยจากสัตว์ร้าย) เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่พุทธศาสนิกช    เครดิต by 
อติภพ ค้าแก้ว 

วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555


          วันเสาร์ที่ 12 พ.ค.55 พิธีบำเพ็ญกุศล บวงสรวงดวงวิญญาณ
                                 อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน นิมนต์พระสวดขอขมากรรม

              
นายพิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี ชาวบ้านบางระจัน แห่งเมืองสิงห์บุรีทุกคน ล้วนเป็นวีรชนผู้กล้า ต่อสู้กับพม่า สมัยกรุงศรีอยุธยา อย่างอาจหาญ ปรากฏในประวัติศาสตร์ นำการต่อสู้โดย พระอาจารย์ธรรมโชติ, นายแท่น,  นายอิน,   นายเมือง,  นายโชติ,  นายดอก,  นายทองแก้ว, นายจัน, หนวดเขี้ยว,  นายทอง, แสงใหญ่ , นายทองเหม็น,  ขุนสรรค์, พันเรือง ทุกคนปักหลักต่อสู้อย่างองอาจกล้าหาญจนตัวตาย พวกเขา อุทิศชีวิตเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทยให้คงอยู่ วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันยังคงตราตรึงอยู่ในใจของคนไทยตราบนานเท่านาน เพื่อระลึกถึงวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ ความกล้าหาญ รักชาติ ของชาวบ้านบางระจัน ทางราชการจึงได้สร้างอนุสาวรีย์ชาวบ้านบางระจันขึ้น บนเนินสูงหน้าค่ายบางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี เพื่อเป็นอนุสรณ์สืบต่อไป ทั้งหมดเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ที่ ชาวสิงห์บุรี และชาวไทยทุกคนต้องภาคภูมิใจ ในความกล้าหาญ และความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อปกป้องมาตุภูมิ จากการข่มเหงของชาวชาติอื่น แม้ชาวบ้านบางระจันจะพ่ายแพ้ในที่สุด แต่ชื่อเสียงและเกียรติคุณยังคงอยู่แม้เวลาล่วงเลยมา 200 กว่าปีแล้วก็ตาม เรื่องราวของวีรกรรมชาวค่ายบางระจันยังคงอยู่เปรียบดังผู้เป็นอมตะ แม้ตัวจะตายไปชื่อยังคงอยู่ แม้จะไม่มีชื่อวีรชนทั้งหมดแต่วีรกรรมยังคงอยู่ ปรากฏอยู่ในหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ ถึงภาพความกล้าหาญ ภาพชาวค่ายบางระจันรุกรบกับกองทัพพม่า เป็นอุทาหรณ์แก่อนุชนรุ่นหลังให้ตระหนักถึงความกล้าหาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามัคคี เป็นเรื่องที่พิสูจน์คำกล่าวที่ว่า "สามัคคีคือพลัง" ได้อย่างแน่แท้ปราศจากข้อสงสัย หากชาวค่ายบางระจันไม่สามัคคีกันไม่มีทางใดเลยที่จะต้านกองทัพพม่าได้ ถ้าไม่สามัคคีกันย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะชนะกองทัพพม่า ทั้งไม่ปรากฏว่ามีกองทัพใดเข้าช่วยเหลือในการรบที่ค่ายบางระจัน ชัยชนะที่ผ่านมาย่อมไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ให้เราได้ใคร่ครวญว่าได้ทำให้หมู่คณะของเรามีความสามัคคีกันบ้างไหม ดังพระราชดำรัส " วีรกรรมในครั้งนั้นเป็นของผู้ที่รักแผ่นดินไทย เป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยทั้งมวล ทั้งในอดีตและปัจจุบันมีกำลังใจและเตือนสติให้มีความสามัคคีและรักษาจิตใจให้เข้มแข็ง เพื่อรักษาประเทศไทยให้ตนเอง และเพื่อความมั่นคงของแผ่นดิน....." ฉะนั้นในโอกาสสำคัญนี้ พระเดชพระคุณ พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หลวงพี่น้ำฝน ทายาทศิษย์เอกหลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม จึงได้จัดพิธีรำลึกวีรชนผู้กล้าแห่งค่ายบางระจัน โดยจัดให้พิธีบำเพ็ญกุศล บวงสรวงดวงวิญญาณ ในวันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม 2555 เวลา 18.09 น. จึงขอเชิญทุกท่านร่วมพิธีนี้โดยพร้อมเพรียงกัน



"หลวงพี่น้ำฝน" ปลื้มคนล้นหลาม

แห่ร่วมงาน “ขอขมากรรม ที่วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี








วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

เหรียญท้าวเวสสุวรรณ! 

ต้นตำรับ เนื้อโลหะพ่นทราย ขูดเงา ด้วยฝีมือปราณีต ด้านงานพุทธศิลป์




ล็อกเก็ตแท้ งานละเอียด ทำด้วยฝีมือทุกองค์
(มีโค๊ตและเบอร์กำกับทุกองค์)






หลังเหรียญเป็นยันต์เกราะเพชรล้อมรอบด้วย ยันต์พระเจ้า16พระองค์ สุดยอดความเข้มขลัง
ปัดทุกข์ ปัดโศก ปัดโรค ปัดภัย ปัดเสนียดจัญไร วินาศสันติ โชคดี โชคดี โชคดี ทุกประการ




สุดยอดพุทธศิลป์ พลังพุทธคุณ บุญหนุนร่วมสร้างวิหารหลวงพ่อพูล!



5 พระเกจิิอาจารย์ หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร หลวงพ่อยวง วัดโพธิ์ศรี หลวงพ่อสิริ วัดตาล 
หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม และ หลวงพี่น้ำฝน รวมพลังปลุกเสกสมโภช ท้าวเวสสุวรรณ 
ที่ระลึก 100 ปีชาติการหลวงพ่อพูล วัดไผ่้ล้อม จังหวัดนครปฐม


วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

มาแล้วครับ!!!! 


       ท้าวเวสสุวรรณโณ มงคลวัตถุที่ระลึก 100 ปี ชาติกาล หลวงพ่อพูล อัตตะรักโข เทพเจ้า






แห่งวัดไผ่ล้อม สอบถามโทร.034-250077-9, 087-6984777 ,081-4424262 ,087-1517799
                            www.watpailom.org    www.mongkhonphra.com
มงคลวัตถุ100 ปี ชาติกาล หลวงพ่อพูล ท้าวเวสสุวรรณโณ 



                 เทพเจ้าแห่งเงินตรา ราชาแห่งโชคลาภ แคล้วคลาด ปลอดภัย ตำรับหลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จังหวัดนครปฐม 


                 พิธีปลุกเสกยิ่งใหญ่ในวันพฤหัสบดี ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 17.59 น. โดยพระเกจิอาจารย์ทรงคุณวิเศษ 5 รูป อธิษฐานจิตปลุกเสก ประกอบด้วย หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อสิริ วัดตาล จ.นนทบุรี, หลวงพ่อยวง วัดโพธิ์ศรี จ.ราชบุรี, หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพี่น้ำฝน วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม พิธีปลุกเสก ณ ลานด้านหน้าอุโบสถเฉลิมพระเกียรติวัดไผ่ล้อม


                   มงคลวัตถุ 100 ปี ชาติกาลหลวงพ่อพูล ท้าวเวสสุวรรณโณ เทพเจ้าแห่งเงินตรา ราชาแห่งโชคลาภ แคล้วคลาด ปลอดภัย ประกอบด้วย เหรียญรูปไข่, รูปหล่อลอยองค์, ล็อกเก็ต, ขนาดองค์บูชา และผ้ายันต์ พร้อมเปิดโอกาสให้ญาติโยมพุทธศาสนิกชนทำบุญบูชาในวันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2555 เป็นต้นไป..

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555


มงคลวัตถุ100 ปีชาติกาล หลวงพ่อพูลท้าวเวสสุวรรณโณ

 เทพเจ้าแห่งเงินตรา ราชาแห่งโชคลาภ


แคล้วคลาด ปลอดภัย ตำรับหลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม 

จังหวัด นครปฐม




                 มงคลวัตถุ100 ปี ชาติกาล หลวงพ่อพูล ท้าวเวสสุวรรณโณ เทพเจ้าแห่งเงินตรา ราชาแห่งโชคลาภ แคล้วคลาด ปลอดภัย ตำรับหลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จังหวัดนครปฐม พิธีปลุกเสกยิ่งใหญ่ในวันพฤหัสบดี ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 17.59 น. โดยพระเกจิอาจารย์ทรงคุณวิเศษ 5 รูป อธิษฐานจิตปลุกเสก ประกอบด้วย หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อสิริ วัดตาล จ.นนทบุรี, หลวงพ่อยวง วัดโพธิ์ศรี จ.ราชบุรี, หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพี่น้ำฝน วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม พิธีปลุกเสก ณ ลานด้านหน้าอุโบสถเฉลิมพระเกียรติวัดไผ่ล้อม

                 มงคลวัตถุ 100 ปี ชาติกาลหลวงพ่อพูล ท้าวเวสสุวรรณโณ เทพเจ้าแห่งเงินตรา ราชาแห่งโชคลาภ แคล้วคลาด ปลอดภัย ประกอบด้วย เหรียญรูปไข่, รูปหล่อลอยองค์, ล็อกเก็ต, ขนาดองค์บูชา และผ้ายันต์ พร้อมเปิดโอกาสให้ญาติโยมพุทธศาสนิกชนทำบุญบูชาในวันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2555 เป็นต้นไป.  

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

4 มิ.ย.55 วิสาขบูชารำลึก พิธีไหว้ครู-ครอบครูท้าวเวสสุวรรณ100ปี 

ชาติกาล หลวงพ่อพูล 

ณ วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครปฐม





ประวัติท้าวเวสสุวรรณ หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม นครปฐม



รูปหล่อลอยองค์ท้าวเวสสุวรรณ หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม
สร้างปี พ.ศ.2547  เนื้อผงตะเคียน ใต้ฐานฝังตะกรุดทอง
หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม ต.พระปฐมเจดีย์ องเมือง จ.นครปฐม สุดยอดพระเกจิอาจารย์ ที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา พระเครื่องของท่านล้วนแล้วแต่สร้างประสบการณ์ให้กับผู้ใช้มากมาย ทั้งทางด้านคงกระพันชาตรี ค้าขาย โชคลาภ แม้เวลาที่ท่านมรณภาพละสังขารแล้ว ยังบันดาลโชคลาภให้กับประชาชนและศิษยานุศิษย์ พระเครื่องที่ท่านสร้างและอธิษฐานจิตปลุกเสกส่วนใหญ่จะงดงามด้วยพุทธศิลป์  เพราะได้จ้างช่างฝีมือดีมาแกะพิมพ์ ผู้ที่บูชาจึงได้ไปทั้งพระที่งดงามด้วยพุทธศิลป์ และพุทธคุณสูงถือเป็นของดี สมควรมีไว้บูชาเป็นอย่างยิ่ง!!!
กล่าวสำหรับท้าวเวสสุวรรณ ท่านเป็นจ้าวแห่งอมนุษย์และภูติผีทั้งหลาย ท่านอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นหนึ่งในท้าวทั้งสี่ที่ปกครองสวรรค์ชั้นนี้

ท่านยังมีหน้าที่ปกครองพวกยักษ์  และอีกปางหนึ่งของท่านเป็นเทวดาที่บันดาลโชคลาภทั้งหลาย ให้กับมวลมนุษย์ทั้งหลาย ที่เรียกกันว่าพระธนบดี (ท้าวกุเวร หรือ ไฉชิงเอี้ยของจีน) ผู้ใดบูชาท่านจะปราศจากการรบกวนจากอนุษย์และสิ่งไม่เป็นมงคลทั้งหลาย  พร้อมทั้งบังเกิดโชคลาภเป็นอย่างมากอีกด้วย
รูปหล่อลอยองค์ท้าวเวสสุวรรณ รุ่นนี้ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2547 มีประสบการณ์โด่งดังเป็นที่กล่าวขานกันมากทางด้านโชคลาภ เนื้อหามวลสารผงตะเคียน ฝังตะกรุดเงิน หายากและเป็นที่เสาะแสวงหาของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและประชาชาชนทั่วไป เป็นอย่างมาก  ห้วงนี้สนนราคาค่านิยมเล่นหากันที่หลักพันต้นๆ และมีแนวโน้มว่าจะขยับขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน!!!
ปัจจุบันเป็นสุดยอดของดีที่ควรมีไว้บูชาเป็นอย่างยิ่ง   สนใจโทร. 084-8457555





วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

สุดยอดอมตะเหรียญหล่อ

สุดยอดอมตะเหรียญหล่อ
หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม
นักเลงปืนขยาด-หน้าเสือหรือหน้าเสียกันแน่!?!

นักเลงรถส่วนใหญ่รู้จักหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม เป็นอย่างดี เพราะท่านคือสุดยอดพระอมตะเถราจารย์ชื่อดังที่โดดเด่นทางเรื่องแคล้วคลาดปลอดภัย และที่สำคัญท่านได้ศึกษาวิชาการทาง “พุทธคุณ” มาเป็นเวลานาน  แต่มิได้แสดงออกให้ผู้ใดได้ทราบ จากจริยาวัตรของท่านที่สร้างความศรัทธาให้กับบุคคลผู้พบเห็น..... 
จวบจนวัยชรา ศิษย์ทั้งหลายต่างพร้อมใจกันขอให้หลวงพ่อ ได้สร้างอิทธิวัตถุเพื่อเป็นมงคลแก่บรรดาศิษย์ทั้งมวล แต่ท่านไม่อนุญาต.......
ในเวลาต่อมา บรรดาศิษย์ทั้งหลายไม่ละความพยายามที่จะขอให้หลวงพ่อสร้างอิทธิวัตถุมงคลให้ได้ มีลูกศิษย์ผู้หนึ่งได้ไปพบพระเมฆพัดที่ร้านจำหน่ายพระมีไว้ให้เช่า พระเมฆพัดนี้ พิมพ์เดียวกันกับ “หลวงพ่ออี๋” วัดสัตหีบเป็นผู้ปลุกเสก เพื่อแจกทหารเรือในสมัยสงครามอินโดจีน มีลักษณะเป็นรูปพระสมาธิสี่ด้านและมาเรียกกันว่า “พิมพ์พรหมสี่หน้า”
ดังนั้นศิษย์หลวงพ่อน้อยที่มาพบพระพิมพ์พรหมสี่หน้าที่กรุงเทพฯ นี้ ได้เช่าไปประมาณ 200 กว่าองค์ เมื่อเช่ามาได้แล้วจึงพากันไปหาหลวงพ่อ แล้วถวายหลวงพ่อเพื่อการปลุกเสก
พร้อมกับมีผู้เรียนหลวงพ่อว่า “พระจำนวนนี้เมื่อหลวงพ่อปลุกเสกแล้ว ให้แจกจ่ายลูกศิษย์ใกล้ชิดทั้งหลาย”  โดยลักษณะนี้หลวงพ่อท่านจำยอมรับมาปลุกเสกให้
ในการปลุกเสกหลวงพ่อท่านทำทุกวัน เป็นระยะเวลานานพอสมควร แต่ก็ไม่มีผู้ใดจำว่านานเท่าใด จึงได้แต่เชื่อว่าประมาณ 1 พรรษาหลวงพ่อจึงนำมาแจกจ่ายให้กับศิษย์ทั้งหลาย พระชุดนี้จึงถือว่าเป็นพระชุดแรกที่หลวงพ่อท่านปลุกเสกให้
ต่อมามีลูกศิษย์อีกหลายคนที่ยังมิได้รับพระปลุกเสกครั้งแรกจากหลวงพ่อ ต่างก็มาขอร้องให้ท่านสร้างหรือเหรียญเพื่อแจกเป็นที่ระลึกโดยทั่วถึง ความปรารถนาของศิษย์ทั้งหลายที่หลวงพ่อได้รับรู้นี้ ท่านได้ใช้เวลาไตร่ตรองอยู่เป็นนานพอสมควร และในโอกาสที่ท่านได้พบกับ “หลวงพ่อเงิน” วัดดอนยายหอม ซึ่งมีความมักคุ้นกันมากหลวงพ่อท่านก็ได้ปรารภความปราถนาของศิษย์ดังกล่าวให้หลวงพ่อเงินทราบ หลวงพ่อเงินท่านก็สนับสนุน ควรจะตอบสนองความศรัทธา
หลังจากนั้นไม่นานนัก เมื่อบรรดาลูกศิษย์ นำเรื่องนี้เรียนกับหลวงพ่ออีก หลวงพ่อท่านก็ไม่กล่าวความแต่อย่างใด กลุ่มลูกศิษย์จึงถือว่าท่านอนุญาตแล้ว จึงเริ่มตั้งต้นการสร้างเหรียญของท่านก่อนเป็นปฐมฤกษ์ แต่ในครั้งแรกนี้ในฐานะที่แต่ละคนยังไม่เคยสร้างพระ หรือสร้างเหรียญมาก่อน จึงใช้วิธีการติดต่อช่างว่าจ้างให้สร้างเหรียญรูปหลวงพ่อขึ้นจำนวนหนึ่ง
เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญรุ่นอัดพิมพ์ เนื้อโลหะผสมที่แก่ทองแดงพิมพ์เสมา มีขนาดค่อนข้างเล็ก ด้านหน้าเบื้องบนอักษรไทยตัวนูนว่า"หลวงพ่อน้อย" ขอบด้านหน้ามีลายกนกกิ่งกลางด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ลอยเด่นอยู่ตรงกลาง มีใบหน้าหนุ่มและรู้สึกดูด้านล่างของรูปหลวงพ่อประมาณแนวอก ตัดตรงและไม่มีส่วนใดชิดเส้นขอบ
สำหรับด้านหลังเรียบมียันต์นะปถมังอยู่ตรงกลางเป็นเส้นนูนขึ้นมา ดังนั้นเหรียญรุ่นนี้จึงนับว่าเป็นรุ่นแรก ที่หลวงพ่อได้สร้างและปลุกเสก
หลวงพ่อน้อย ได้สร้างอิทธิวัตถุอันเป็นมงคลไว้หลายชนิด ทั้งที่สร้างเป็นรุ่นๆ ในจำนวนมาก และที่ปลุกเสกเป็นการเจาะจงให้กับลูกศิษย์เป็นเฉพาะรายในจำนวนน้อย เมื่อรวมกันแล้วถึง 50 กว่าชนิด
การสร้างนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อแจกเป็นที่ระลึกให้กับบรรดาผู้ที่มานมัสการหลวงพ่อ รวมทั้งแจกในโอกาสต่างๆ
“หลวงพ่อน้อย” เป็นเกจิอาจารย์ที่เรืองด้วยวิทยาคุณ การปลุกเสกมักจะเป็นไปในทำนองเกจิอาจารย์ทั้งหลาย คือ มักจะปลุกเสกเพียงองค์เดียว  แต่ก็ปรากฏอยู่บางครั้งเหมือนกันที่ปลุกเสกเพียงองค์เดียว แต่ก็ปรากฏอยู่บางครั้งเหมือนกันที่จัดเป็นพิธีพุทธาภิเษก อันเป็นงานใหญ่ของวัด โดยคณะกรรมการวัดได้นิมนต์พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง และคุ้นเคยชอบพอกับหลวงพ่ออีกหลายแห่ง มาร่วมการปลุกเสกกับหลวงพ่อ เช่นในงานสมโภชที่หลวงพ่อได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่ “พระครูภาวนากิตติคุณ” เมื่อเดือนมีนาคม 2512 เป็นต้น
อิทธิวัตถุต่างๆ ที่สร้างนี้ในยุคแรกมีทั้ง “เนื้อโลหะ” และ “เนื้อผง” บางส่วนจัดสร้างขึ้น โดยเฉพาะภิกษุเป็นช่างกันเองภายในวัดนั้น ดังนั้นของจำพวกหล่อจึงผิดความจริงไปบ้าง
ส่วนจำพวกเหรียญอัดพิมพ์( ปั๊ม) นั้นก็มีการว่าจ้างโรงงานผลิตขึ้น ความปราณีตงดงามจึงสวยกว่าเป็นไปตามแบบมาตรฐานทั่วไป
ส่วนที่มาของ "เหรียญหน้าเสือ" และเหรียญคอน้ำเต้ายุคแรกเมื่อออกมาใหม่ๆ ลูกศิษย์ให้ความสนใจกันน้อยเพราะด้อยในความปราณีตและสวยงาม
เมื่อช่างหล่อเทพิมพ์และถอดออกมาจะพบเหรียญนี้ใบหน้าจะเทไม่ค่อยติด ช่างได้บอกกับหลวงพ่อว่า "หน้าเสีย"  หลวงพ่อได้ยินก็ตอบช่างว่าไม่ใช่ "หน้าเสือ" 
แต่เมื่อลูกศิษย์ที่นำใช้ติดตัว เมื่อประสบผลทางกฤติยาคมกันเข้า ต่างก็เสาะแสวงหา จนเป็นของหายากในยุคนี้
ในกรณีที่คนไปนมัสการหลวงพ่อ เพื่อจะขอของจากท่านและแทบทุกครั้งเมื่อเขาจะเอ่ยปาก หลวงพ่อท่านเห็นท่า ท่านยิ้มก่อน แล้วลุกไปนำออกมา โดยไม่ต้องรอคำขอ
เมื่อเลือกได้แล้วจึงจะส่งให้หลวงพ่อท่านประสาทให้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในกรณีที่ท่านหยิบให้เองมักจะเป็นของชนิดที่ตรงกับผู้ขอมาต้องการ ซึ่งได้สร้างความแปลกใจกันในหมู่ลูกศิษย์เสมอมา


ประวัติวัดธรรมศาลา

ปัจจุบันวัดธรรมศาลามีเนื้อที่ตามโฉนดประมาณ 61 ไร่เศษ ตั้งอยู่เลขที่4 หมู่ที่7 ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีสิ่งสำคัญหลายอย่าง คือ วิหารเก่า, โบสถ์, เนินถ้ำ และลิง วัดธรรมศาลามีตำนานเกี่ยวกับพระยากงพระยาพาน คือ พระยาพานได้ครองเมืองศรีวิชัย จึงทรงวิตกว่าการที่พระองค์ทำปิตุฆาตพระราชบิดากับยายหอมจะได้รับสนองกรรมอย่างหนักอันจะเกิดขึ้นแก่พระองค์ทั้งที่มีชีวิตอยู่และกาลสิ้นชีวิตไป และได้สำนึกในบาปบุญคุณโทษของตนที่ทำไว้ จึงได้โปรดให้ประชุมพระอรหันต์และพระสงฆ์จากอารามต่างๆ ได้ปลูกสร้างโรงธรรมขนาดใหญ่ไว้ใกล้เนินหรือถ้ำเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสงฆ์ และอุทิศโรงธรรมเป็นที่สำหรับพระสงฆ์ไว้แสดงธรรม เพื่อให้กรรมที่ได้รับเบาบางลง จึงได้เรียกชื่อ "ธรรมศาลา" มาทุกวันนี้

ข้อมูลประวัติ

เกิด                       วันที่ 12 พฤษภาคม 2426  เวลา 04.00 น. เป็นบุตรของ นายแสง  นางอ่อน

บรรพชา                เป็นสามเณรอยู่กับ หลวงพ่อชา  วัดสามกระบือเผือก

อุปสมบท               อายุ 20 ปี  ตรงกับวันที่ 28 พฤษภาคม 2446  ณ วัดธรรมศาลา

มรณภาพ               วันที่ 17 พฤศจิกายน 2513  เวลาประมาณ 18.34 น.

รวมสิริอายุ            83 ปี 67 พรรษา

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
                คือ เหรียญหล่อหน้าเสือ รุ่นแรก สร้างประมาณปี 2497-2498  ส่วนครั้งที่สองและสาม ด้านหลังใต้ยันต์ปลายเหรียญมีเลขไทยปรากฎอยู่ ความคมชัดจะไม่เหมือนกัน
                เหรียญหล่อคอน้ำเต้า สร้างปี 2497-2498 มีหลายรุ่นหลายเนื้อเช่นกันกับเหรียญหล่อหน้าเสือ  นอกจากนี้แล้วยังมีอีกหลายชนิด คือ เหรียญ  พระเนื้อผง  และเครื่องรางอื่น ๆ
พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมาพุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง  เมตตามหานิยม