วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แจกฟรี!! เหรียญเจ้าสัวน้อยศรีวิชัย


"กองทุนพระธาตุนครศรีธรรมราชสู่มรดกโลก
"
เป็นกองทุนที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช และจังหวัด ตั้งขึ้นเพื่อหาทุนดำเนินการบูรณะและปรับภูมิทัศน์ให้ "พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร สมกับเป็นมรดกโลก" โดยได้เข้ารับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลก (World Heritage Site) ในนามของประเทศไทยเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ทั้งนี้เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ ๓๗ กรุงพนมเปญ ซึ่งประเทศกัมพูชา มีมติเอกฉันท์ ๒๑ เสียง พิจารณารับรองวาระ ๘ A ในการเสนอชื่อ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช เข้าสู่บัญชีเบื้องต้นตามที่ประเทศไทยนำเสนอ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลกในขั้นตอนต่อไป

อย่างไรก็ตามเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายจึงมีการจัดสร้าง "เหรียญเจ้าสัวศรีวิชัย (แดนใต้)" คณะกรรมการได้รวบรวมชนวน แผ่นยันต์ เครื่องใช้สำริด ทองโบราณ ฐานพระบูชา เหรียญเก่า แผ่นจารจากพระเกจิอาจารย์ดังทั่วประเทศของคงทนสิทธิ์ เหล็กไหลดำ เหล็กไหลขาว สะเก็ดดาว แร่ธาตุกายสิทธิ์ นำมาประกอบพิธีเททองหล่อนำฤกษ์และวัตถุมงคลทั้งหมด

โดยจะประกอบพิธีเททองหล่อนำฤกษ์ ณ วิหารหลวงวัดพระมหาธาตุมหาวรวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ใน วันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖ แจกฟรี!! เหรียญเจ้าสัวน้อยศรีวิชัยเหรียญเนื้อทองทิพย์ เนื้อเงิน มีโค้ด มีหมายเลขทุกเหรียญ วันเททองเท่านั้น

พระเทพวินยาภรณ์ เจ้าอาวาส ประธานเททองหล่อนำฤกษ์ ณ วิหารหลวงวัดพระมหาธาตุมหาวรวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยพระเกจิอาจารย์ดังนั่งปรก ๘ ทิศ 

- หลวงพ่อศักดิ์ วัดอินทราวาส จังหวัดพัทลุง, 
- หลวงพ่อลาภ วัดเขากอบ จังหวัดตรัง, 
- หลวงพ่อเอียด วัดโคกแย้ม จังหวัดพัทลุง, 
- หลวงพ่อบุญให้ วัดท่าม่วง จังหวัดนครศรีธรรมราช, 
- หลวงพ่อผล วัดทุ่งนารี จังหวัดพัทลุง, 
- หลวงพ่อเคล้า วัดแดง จังหวัดนครศรีธรรมราช, 
- หลวงพ่อล้าน วัดเกษมบำรุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี, 
- หลวงพ่อเอียด วัดบ้านขันประชาสรรค์ จังหวัดพัทลุง, 
- หลวงพ่อเพิ่ม วัดเขียนบางแก้ว จังหวัดพัทลุง, 
- หลวงพ่อสมนึก วัดหรงบน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ลักษณะ "เหรียญเจ้าสัวศรีวิชัย (แดนใต้)" ตรงกลางเป็น พระพุทธสิหิงค์ ปางมารวิชัย มีความเชื่อกันว่าเป็นปางชนะมาร ปราบมาร สยบมาร และประทานความสุข ความสบาย สมความปรารถนา เรื่องทรัพย์สินเงินทอง ยศตำแหน่ง หน้าที่การงาน ขจัดปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งที่เป็นอัปมงคลใดใดทั้งปวงให้มลายหายสิ้น จะประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วิหารหลวง วันอังคารที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ ถึงวันพุธที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ โดยพระเกจิอาจารย์ดัง ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ทั้งนี้ พระเทพวินยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุมหาวรวิหาร เป็นประธานจุดเทียนชัย

ในการจัดสร้าง "เหรียญเจ้าสัวศรีวิชัย (แดนใต้)" มีผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานจัดสร้าง รายได้จากการจัดสร้างนอกจากจัดตั้ง "กองทุนพระธาตุนครศรีธรรมราชสู่มรดกโลก" แล้วยังร่วมสมทบทุนสร้างเททองหล่อ ไฉ่ซิ้งเอี๊ย องค์ใหญ่ที่สุด ณ พุทธสถานจีเต็กลิ้ม อ.เมือง จ.นครนายก รวมทั้งช่วยเหลือทหารตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

โดยผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบุญได้ที่ โทร.๐๘-๑๖๕๘-๐๑๖๖, ๐๘-๑๔๗๐-๗๑๙๐, ๐๘-๙๔๔๑-๓๓๙๗ และ ๐๘-๖๕๒๒-๒๙๕๒


*************************

เรื่องโดย : คมชัดลึกออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ



วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

พระอนิลมาน ผู้สืบเชื้อสายพระอานนท์ ผู้สนองงานพระสังฆราชฯ


พระศากยวงศ์วิสุทธิ์
 (พระ ดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย) อดีตสามเณรชาวเนปาล สายเลือด “ศากยวงศ์”  (ตระกูลเดียวกับพระพุทธเจ้า) ผู้สืบเชื้อสาย พระอานนท์ บวชเป็นสามเณรในประเทศเนปาล และเดินทางมาศึกษาพระธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนเมื่ออายุครบบวชพระ จึงอุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เป็นพระอุปัชฌาย์ และต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช และก็ยังสนองงานสมเด็จพระสังฆราชด้วยดีมาโดยตลอด

พระ ดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย ท่านเกิดวันที่ 18 มิ.ย. 2503 เป็นบุตรคนที่ 2 ในพี่น้อง 6 คน ชาย 5 หญิง 1 บิดาชื่อ “อาสา” มารดาชื่อ “ปุรณะ” พ่อเป็นช่างทอง แม่เป็นแม่บ้าน ต่อมาบ้านเปิดร้านขายของชำ ปัจจุบันพ่อเสียชีวิตแล้ว จึงเลิกกิจการไป

พ่อของท่านตั้งใจจะถวายลูกสักหนึ่งในพระพุทธศาสนา หมายมั่นตั้งใจที่ลูกชายคนโต พี่ชายของท่าน แต่พี่ชายสอบได้ทุนเรียนที่ 1 ของประเทศ ไปเรียนที่อินเดีย การจึงกลายเป็นท่าน


ในปี 2517 ท่านอนิลมานจึงได้บวชเป็นสามเณร ใช้ชื่อว่า “สามเณรสุคันธะ” ที่เป็นชื่อนี้ เพราะเป็นไปตามประเพณีในเนปาล ที่ไม่ให้ใช้ชื่อเดิม ท่านบวชอยู่ที่เนปาล 9 เดือน พอวันที่ 14 เม.ย. 2518 ก็ย้ายจากเนปาลมาอยู่ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร และเป็นสามเณรถวายการปรนนิบัติสมเด็จพระสังฆราช (สมณศักดิ์ขณะนั้น คือ สมเด็จพระญาณสังวร) และได้รับการประทานอุปสมบทจากสมเด็จพระสังฆราชในปี 2523 และได้รับฉายาว่า “ธมฺมสากิโย” (ผู้กล้าในธรรม)

การที่ท่านมาอยู่วัดบวรฯ ได้ เกิดจากการที่ สมเด็จพระสังฆราชฯ เมื่อครั้งเป็น พระสาสนโสภณ ได้เดินทางไปดูงานที่เนปาลครั้งแรกเมื่อปี 2513 ในตอนนั้นสมเด็จฯ ถามทางเนปาลว่า "จะให้ช่วยอะไรบ้าง" ประมุขสงฆ์เนปาลได้เรียนได้บอกไว่าขอ 2 อย่าง คือ 

1 ให้ทางไทยส่งพระธรรมทูตมาเผยแผ่ที่เนปาล 
2 ให้พระเณรเนปาลมาเรียนที่ไทย

ข้อแรกสมเด็จฯ รับจะนำเข้าที่ประชุมมหาเถรสมาคม ส่วนข้อ 2 สมเด็จฯ บอกว่าท่านรับได้เลย ขอให้ติดต่อและส่งมาเลย จากนั้นในปี 2514 ได้ส่งมา 2 รูป ต่อมาปี 2518 ก็ส่งมาอีก 3 เป็นสามเณรทั้งหมด และ ท่านอนิลมาน ก็เป็นหนึ่งในนั้น

พระ ดร. อนิลมาน ธมฺมสากิโย
สำเร็จการศึกษา ศาสนศาสตรบัณฑิต (ศน.บ) จาก คณะสังคมศาสตร์ มหามกุฏราชวิทยาลัย ในปี พ.ศ.2525 และศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยตรีภูวัน ประเทศเนปาล ในปี พ.ศ.2530 นอกจากนี้ยังได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านมานุษยวิทยาสังคม จาก วิทยาลัยคราอิสต์ คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ โดยทุนพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2537 แล้วศึกษาต่อระดับปริญญาเอกด้านมานุษยวิทยาสังคม จากมหาวิทยาลัยบรูเนล ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยทุนพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่นเดียวกัน และสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2543

พระ ดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ (เป็นกรณีพิเศษ) ในวโรกาสที่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษา ครบ ๑๐๐ ปี วันที่ ๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญยก ในราชทินนามที่ พระศากยวงศ์วิสุทธิ์

พระอนิลมาน ท่านมีความผูกพันกับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ อย่างมาก ถึงขนาดออกปากว่า สมเด็จพระสังฆราชเป็นเหมือน บิดา ของท่าน

นั่นไม่ใช่การอ้างสุ่มสี่สุ่มห้าของท่านอนิลมาน แต่การที่ท่านมีวันนี้ได้ ก้าวมาถึงจุดนี้ได้ เพราะ สมเด็จพระสังฆราชทรงชุบเลี้ยงและให้ความเมตตามาตลอด

วันนั้นถึงวันนี้ พระ ดร.อนิลมาน ไม่เคยทำสมเด็จพระสังฆราชต้องผิดหวังพระทัย และพูดได้เต็มปากว่า ท่านเป็นพระที่มีศักยภาพ มีความรู้ มีความสามารถเป็นที่ยอมรับในคณะสงฆ์ไทยและในสายตาชาวโลก แม้ท่านจะเป็นพระชาวเนปาล แต่ท่านก็คือหน้าตาของประเทศไทย คณะสงฆ์ไทย ของพระพุทธศาสนา และวัดบวรนิเวศวิหาร โดยเฉพาะ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ


*************************

เรื่องโดย : ทีมข่าวมงคลพระ
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ




วัดบวรฯ จัดทำล็อกเก็ต ที่ระลึกงานพระศพ สมเด็จสังฆราชฯ

วันที่ 30 ต.ค. 2556 พระโสภณคณาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรฯ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการพิธีบำเพ็ญกุศลพระศพสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งมี สมเด็จพระวันรัต เป็นประธาน ได้เห็นชอบให้มีการจัดสร้าง ล็อกเก็ต ที่ระลึกในพิธีบำเพ็ญกุศลพระศพ เป็น 2 แบบ ได้แก่ แบบ 4 สี และ แบบซีเปีย (สีน้ำตาล) โดยมอบหมายให้อาตมาดูเรื่องการออกแบบทั้งหมด ซึ่งในเบื้องต้นมีแนวคิดว่าจะทำล็อกเก็ตเป็นรูปทรงไข่ด้านในมีพระรูปสมเด็จพระสังฆราช โดยแบบ 4 สีจะมองเห็นด้วยตาโดดเด่นชัดเจนนั้น ขณะนี้ได้เชิญ เจ้าหน้าที่สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร มาพูดคุยเพื่อนำแนวคิดดังกล่าวไปออกแบบ ส่วนแบบซีเปีย (สีน้ำตาล) นั้นมอบหมายให้ พระธีระพันธ์ (ธีรโพธิ ภิกขุ) ซึ่งเป็นผู้เขียนภาพสีน้ำมันในหนังสือพระนิพนธ์จิตตนคร เป็นผู้ออกแบบล็อกเก็ตพระรูปสมเด็จพระสังฆราช อย่างไรก็ตามสำหรับจำนวนการจัดทำล็อกเก็ตนั้นยังไม่ได้มีการสรุปชัดเจน

พระธีระพันธ์ (ธีระโพธิ ภิกขุ) กล่าวว่า ขณะนี้กำลังร่างรูปแบบของล็อกเก็ตแบบซีเปีย เบื้องต้นมีแนวคิดจัดทำเป็นลายเส้นที่เป็นสีซีเปีย คล้ายๆ กับล็อกเก็ตสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทำจากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งคาดว่าการออกแบบจะแล้วเสร็จภายใน 1-2 วัน จากนั้นจะเสนอให้คณะกรรมการพิธีบำเพ็ญกุศลพระศพสมเด็จพระสังฆราชพิจารณารูปแบบของล็อกเก็ต

วันเดียวกันที่ ตำหนักเพ็ชร ในการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระกุศลพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มี ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ เป็นประธานในพระพิธีธรรมรับพระราชทานฉันเช้า พระภิกษุ จากวัดระฆังโฆษิตาราม จากนั้น พลตรีหม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคคล เป็นประธานในพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ และพระพิธีธรรมรับพระราชทานฉันเพลจากวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษ์ สำหรับการจัดพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพในวันนี้ ถือเป็นการเริ่มพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร 7 วัน ในการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งตลอดช่วงเช้าที่ตำหนักเพ็ชร ได้มีประชาชนมาเข้าแถวรอสักการะพระศพสมเด็จพระสังฆราชเนืองแน่น แม้อากาศจะร้อนอบอ้าวก็ตาม ทั้งนี้ ภายในวัดได้มีการจัดรถแพทย์ฉุกเฉิน และจัดนักเรียน โรงเรียนในพระสังฆราชูปถัมภ์คอยอำนวยความสะดวกแจกน้ำให้กับประชาชนที่รอเข้าแถว

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช กล่าวว่า ตลอด 6 วันที่ผ่านมาได้มีประชาชนมาเดินทางมาสักการะพระศพแล้วกว่า 1 แสนคน ซึ่งขณะนี้เปิดให้ประชาชนได้เข้าสักการะ 3 ช่วง คือ 

- ช่วงเช้าหลังเสร็จพระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ไปจนถึงเวลา 10.30 น. 
- ช่วงบ่าย ตั้งแต่เวลา 12.30 น. ไปจนถึง เวลา 17.00 น. 
- หลังเสร็จพระพิธีธรรม ตั้งแต่เวลา 20.00-21.00 น

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ องค์ดาไลลามะ ได้ส่งสาส์นธรรมสังเวชผ่านเว็บไซต์ http://www.dalailama.com/ แสดงความเสียพระทัยเมื่อทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก มีใจความดังนี้ "สหายทางจิตวิญญาณที่รักทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจต่อการสิ้นพระชนม์ของ สมเด็จพระญาณสังวรฯ ในระยะเวลาอันสั้นหลังงานฉลองพระชนมายุ 100 พรรษา ในระหว่างที่ข้าพเจ้าสวดภาวนาอุทิศถวายแด่สมเด็จพระสังฆราช ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจมายังมหาเถรสมาคม และศิษยานุศิษย์นับหลายล้านคนของพระองค์ทั้งในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก การจากไปของสมเด็จพระญาณสังวรฯ นั้น เราทั้งหลายได้สูญเสีย สหายทางธรรมอันวิเศษ


พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ กล่าวต่อไปว่า องค์ดาไลลามะ ยังได้กล่าวไว้อีกว่า เมื่อหลายปีมาแล้ว ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าฯ พระองค์ และได้รู้สึกเคารพนับถือและชื่นชมอย่างสุดซึ้งต่อวิถีทางที่พระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบที่มีต่อพระศาสนาได้สมบูรณ์ยิ่งตลอดพระชนม์ชีพอันยาวนานและมีความหมายยิ่งนั้น สมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้ทรงอุทิศพระองค์ในการสร้างคุณประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติอย่างทั่วถึงตลอดมา องค์ดาไลลามะได้ทรงชี้แนะอีกว่า ในเวลาเช่นนี้พวกเราอาจรู้สึกถึงความสูญเสีย แต่ การอุทิศถวายที่ดีที่สุดนั้น คือ การทำอะไรก็ตามตามกำลังความสามารถ เพื่อพัฒนาสันติภาพและปัญญา อย่างเช่นที่ สมเด็จพระสังฆราชได้เคยทรงปฏิบัติสืบมา และพระองค์หวังว่าจะได้ส่งผู้แทนพระองค์มาสวดภาวนา และแสดงความอาลัยต่อประชาชนชาวไทย เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความเคารพนับถือ

ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช กล่าวอีกว่า ชาวพุทธและองค์กรพระพุทธศาสนาจากประเทศต่างๆ ได้ส่งสาส์นแสดงความอาลัยมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ 

- พุทธสมาคมประเทศสเปน 
- องค์การพระพุทธศาสนาอินเดีย 
- สมาคมเถรวาทแห่งเม็กซิโก 
- คณะพระธรรมทูตจากประเทศมาเลเซีย


สำหรับบรรยากาศการถวายสักการะพระศพ มีประชาชนจำนวนมากเดินทางมาสักการะพระศพสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทางวัดบวรนิเวศวิหาร จะพยายามอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนอย่างดีที่สุด และฝากถึงประชาชนทุกคนที่จะเดินทางมายังวัด ขอให้แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ควรเตรียมร่ม หรือยาติดตัวมาด้วยหากมีโรคประจำตัว เพราะการเข้าถวายสักการะพระศพ ประชาชนต้องเข้าแถวยืนประมาณ 2-3 ชั่วโมง

“ส่วนการเปิดให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ตลอดจนประชาชน ที่ต้องการเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลพระศพ สามารถติดต่อได้ที่ สำนักอำนวยการบำเพ็ญกุศลพระศพ ได้ที่ 0-2280-9578 สำหรับหน่วยงานราชการ เอกชน ประชาชน ที่แสดงความจำนงเป็นเจ้าภาพไว้แล้ว แต่ทางวัดบวรฯ ยังไม่ได้ติดต่อกลับ กรุณาติดต่อกลับมายังสำนักอำนวยการบำเพ็ญกุศลพระศพอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ทางวัดบวรนิเวศวิหาร ยังคงเปิดให้ประชาชนได้ถวายสักการะพระศพ สมเด็จพระสังฆราชอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะมีพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ” พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ กล่าว

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ กล่าวว่า สำหรับเครื่องอัฐบริขาร ซึ่งเป็นเครื่องใช้ ของสมเด็จพระสังฆราช ในเบื้องต้น วัดบวรนิเวศวิหาร ได้นำมารวบรวมไว้ที่ ตำหนักคอยท่าปราโมช ในเบื้องต้น ทางวัดบวรนิเวศวิหาร มีแนวความคิด 2 ส่วน คือ 

1.การนำเครื่องอัฐบริขาร ไปจัดแสดงพิพิธภัณฑ์เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร 
2.อาจจะมีการสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อเทิดพระเกียรติ 

อย่างไรก็ตามแนวทางทั้ง 2 ส่วนนี้ จะต้องนำหารือในที่ประชุมคณะกรรมการพิธีบำเพ็ญกุศลพระศพ สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งมีสมเด็จพระวันรัต รักษาการเจ้าอาวาส เป็นประธาน

ด้าน พระครูสังฆสิทธิกร กรรมการประชาสัมพันธ์ งานบำเพ็ญพระกุศลพระศพ สมเด็จพระญาณสังวรฯ กล่าวว่า สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้เผยแพร่ คำถวายสักการะที่เป็นทางการ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้กล่าวอธิษฐานระหว่าง เข้าถวายสักการะพระศพ สมเด็จพระสังฆราช มีเนื้อหาดังนี้ “สังขารานัง ขะยัง กัตวา สันตะคามิง นะมามิหัง” เกล้ากระหม่อมขอนอบน้อมนมัสการพระองค์ผู้ดับสิ้นสังขารบรรลุธรรมอันสงบระงับ

นอกจากนี้ ยังได้เผยแพร่ในเฟซบุ๊ก สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เพื่อที่จะให้ประชาชนช่วยกันเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ได้รับทราบกันทั่วถึงกันมากขึ้นด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล สัตตมวาร (ครบ 7 วัน) คณะทูตประจำประเทศไทย จำนวน 32 ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี เกาหลี ศรีลังกา ออสเตรเลีย เข้าร่วมถวายสักการะและร่วมพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล สัตตมวาร ด้วย


*************************

เรื่องโดย : คมชัดลึกออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ



วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ในหลวง พระราชทานพระโกศกุดั่นใหญ่ แด่พระสังฆราช


วันที่ 25 ต.ค.56 เมื่อเวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ถวายน้ำสรงพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ร่วมในพิธีด้วย จากนั้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงผ้าไตรถวายพระศพ ถวายความเคารพพระราชอาสน์

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ วางพวงมาลาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพวงมาลาส่วนพระองค์ ที่หน้าพระโกศพระศพ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ 20 รูปสดัปกรณ์ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ทรงจุดธูปเทียนเครื่องบูชา กระบะมุก ที่หน้าเตียงสวดพระอภิธรรม พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม 1 จบ ทรงกราบพระรูปที่หน้าเครื่องนมัสการ หน้าพระโกศพระศพ ถวายความเคารพพระราชอาสน์ เสด็จพระราชดำเนินกลับ

โดยบรรยากาศที่ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร ตลอดช่วงกลางคืนจนถึงเช้า คณะสงฆ์วัดบวรฯ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง และเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกันตกแต่งประดับประดาบริเวณรอบวัด เพื่อไว้อาลัย ต่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสังฆราช โดยนำผ้าขาวดำผูกกำแพงแก้วรอบวัดบวรฯ ขณะเดียวกันในกุฏิคณะต่างๆ ของวัดบวรฯ มีการตกแต่งทำความสะอาดและจัดเครื่องไว้ทุกข์ เพื่อแสดงถึงความกตัญญูแด่องค์พระสังฆราชา ส่วนร้านค้าบริเวณรอบวัด พุทธศานิกชนพร้อมใจกันสวมชุดดำ นำภาพพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระสังฆราช มาประดับ บางร้านงดการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงนี้ ทั้งทำความสะอาดบ้านเรือนเตรียมรับงานพระราชพิธีรดน้ำหลวงอาบพระศพขององค์พระประมุขสงฆ์ที่จะมีขึ้นในช่วงบ่าย

ขณะเดียวกัน ที่บริเวณ ตำหนักเพ็ชร ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าหน้าที่กองพิธีสำนักพระราชวัง และคณะสงฆ์วัดบวรฯ ร่วมกันปรับสภาพภูมิทัศน์ ให้สวยงามสมพระเกียรติ เพื่อจัดให้เป็นสถานที่สำหรับการตั้งพระศพของสมเด็จพระสังฆราช โดยบริเวณห้องโถงใหญ่ของตำหนักเพ็ชร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระโกศประดับเกียรติยศแด่สมเด็จพระสังฆราช เป็น พระโกศกุดั่นใหญ่ พร้อมฉัตร 3 ชั้น และเครื่องประกอบเกียรติยศ ทั้งนี้ พระโกศกุดั่นใหญ่ ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายทรงแปดเหลี่ยม ฝายอดทรงมณฑป ปิดทองล่อง ชาดประดับ กระจกสี สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 เดิมจะใช้ในงานพระศพสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ และสมเด็จพระสังฆราชเจ้า เจ้าหน้าที่กองพิธีสำนักพระราชวังตั้งไว้กลางห้อง นอกจากนี้ ยังมีการนำพระพุทธรูประจำพระชนมวาร ตลอดจนทั้งพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระสังฆราช พัดยศประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช มาตั้งไว้หน้าพระโกศ

ขณะที่ ภายในห้องโถงใหญ่ตำหนักเพ็ชร ด้านหลังของพระโกศกุดั่นใหญ่ เจ้าหน้าที่กองพิธีสำนักพระราชวังนำฉากกั้น มาติดตั้งไว้เพื่อกันเป็นพื้นที่สำหรับการสรงน้ำพระศพ โดยนำพระแท่นสำหรับสรงน้ำพระศพมาตั้งไว้กลางห้อง หน้าพระบรมรูปหล่อของรัชกาลที่ 4 และมีภาพพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระสังฆราช เจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ประทับอยู่กลางห้อง นอกจากนี้บริเวณโดยรอบตำหนักเพ็ชรมีการนำเต๊นท์ขนาดใหญ่มาตั้งกว่า 10 เต๊นท์มาติดตั้ง เพื่อรองรับเหล่าศิษยานุศิษย์ ตลอดจนแขกวีไอพีที่จะเดินทางมามาร่วมในงานพระศพที่จะจัดให้มีขึ้น

นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า พระราชพิธีในครั้งนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โปรดเกล้าฯให้ กองงานส่วนพระองค์มาทำหน้าที่ดูแลและให้ข้าราชการที่เข้าร่วมในพิธีแต่งเครื่องแบบเต็มยศ ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นการถวายพระเกียรติยศสูงสุด แด่สมเด็จพระสังฆราช

กระทั่งเวลา 12.50 น. ขบวนรถเคลื่อนพระศพสมเด็จพระสังฆราช ได้มาถึงยังวัดบวรฯ โดยขบวนเคลื่อนพระศพ ประกอบด้วย รถนำเสด็จจากกองงานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ตามด้วยรถของผู้อัญเชิญพระศพ ตามพิธีการ คือ สมเด็จพระวันรัต วัดบวรฯ ถัดมาคือ รถพระประเทียบของสมเด็จพระสังฆราช ที่ทรงเคยใช้ปฏิบัติพระศาสนกิจ มีนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี นั่งอัญเชิญพระพุทธรูป ประจำพระชนมวาร สมเด็จพระสังฆราช คือ ปางรำพึง ประดิษฐานมาในรถ ส่วนรถอัญเชิญพระศพของสมเด็จพระสังฆราช เป็นรถของรพ.จุฬาฯ ปิดท้ายขบวนด้วยรถอัญเชิญเครื่องทองน้อย และผ้าไตร ที่มีนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกฯ และนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ เป็นผู้อัญเชิญ พร้อมรถของคณะพยาบาลจากโรงพยาบาลจุฬา ที่เคยถวายการรักษา ตามมาส่งพระศพ ถึงยังวัดบวรฯ

ทั้งนี้ เส้นทางการเคลื่อนพระศพ ได้ผ่านถนนราชดำริ เลี้ยวขวา ถนน พระราม 4 ขึ้นทางด่วนหัวลำโพง ลงแยกอุรุพงษ์ ก่อนเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเพชรบุรี ผ่านถนนหลานหลวง แยกผ่านฟ้า เลี้ยวขวาแยกป้อมมหากาฬ จนถึงแยกวันชาติ ทุกเส้นทางที่ขบวนรถอัญเชิญพระศพผ่าน ได้มีเหล่าพุทธศาสนิกชนร่วมยืนไว้อาลัย เพื่อส่งเสด็จองค์พระประมุขสงฆ์ผู้มีพระเมตตา และเมื่อขบวนรถเคลื่อนพระศพมาถึงยังวัดบวรฯ มีเหล่าคณะนักเรียนนายร้อยตำรวจ นักเรียนโรงเรียนนายเรือ ยืนตั้งแถวเกียรติยศ รอรับตลอดเส้นทางถนนพระสุเมรุ ตั้งแต่บริเวณแยกวันชาติ ถึงประตูทางเข้าวัดบวรฯ ฝั่งหน้าตำหนักเพ็ชร นอกจากนี้ยังมีเหล่าคณะสงฆ์ แม่ชีวัดบวร รวมทั้งคณะศิษยานุศิษย์ พุทธศาสนิกชน เดินทางมาร่วมเข้าแถวรอรับพระศพ กันอย่างเนืองแน่น ท่ามกลางบรรยากาศอันเศร้าสลด ทั้งนี้ เมื่อรถส่งพระศพของรพ.จุฬาฯ ได้ถึงประตูทางเข้าวัดบวรฯ เหล่าพุทธศาสนนิกชนที่มารอเฝ้ารับพระศพ ต่างพนมมือ พร้อมเปล่งเสียงสาธุ หลายคนถึงกับน้ำตานองหน้าด้วยความเศร้าเสียใจ ต่อการจากไปขององค์พระประมุขสงฆ์ ทั้งนี้ รถส่งพระศพ ได้เคลื่อนถอยหลังเข้ามาภายในวัดบวร โดยมีคณะนายทหารรักษาพระองค์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมคณะสงฆ์วัดบวร และเหล่าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ร่วมกันทำหน้าที่อัญเชิญพระศพลงจากรถ แล้วจึงเคลื่อนสู่ห้องโถงตำหนักเพ็ชร เพื่อประกอบพิธีตามประเพณีต่อไป

แหล่งข่าวจากวัดบวรฯ เปิดเผยว่า พระผู้ใหญ่ได้มีการสั่งการให้สำนักงานของวัด และทุกส่วนที่มีการให้เช่าบูชาพระในพื้นที่บริเวณภายในวัด โดยเฉพาะรอบๆ พื้นที่ตำหนักเพ็ชร งดให้เช่าบูชาพระทุกชนิด เนื่องจากเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวาย และการกระทำที่ไม่เหมาะสมในช่วงพิธีบำเพ็ญพระกุศลศพของสมเด็จพระสังฆราช

ด้านสำนักพระราชวังออกประกาศไว้ทุกข์ในพระราชสำนักความว่า เลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการให้ประกาศว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฒนมหาเถร ) สิ้นพระชนม์เนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ โรงพยาบาลจุฬาฯ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 24 ต.ค.เวลา 19.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้วยความเศร้าสลดในพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนักจาก 15 วัน เป็น 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค. 2556 ถึงวันที่ 23 พ.ย. 2556 และโปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานพระศพไว้ที่ตำหนักเพ็ชร วัดบวรฯ ถวายพระเกียรติยศตามราชประเพณีทุกประการ

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (พระอนิลมาน ธมฺมสากิโย) ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช กล่าวถึงเหตุการณ์ก่อนที่สมเด็จพระสังฆราชจะสิ้นพระชนม์ว่า อาตมาได้นั่งเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชจนพระองค์สิ้นพระชนม์ อาการประชวรของพระองค์ทรุดลงตั้งแต่ช่วงบ่าย อัตราการเต้นของพระหทัยค่อยๆ ลดลง บางครั้งก็หยุดเต้นและกลับมาเริ่มเต้นดังเดิม แต่จากนั้นพระอาการก็ค่อยๆ ทรุดลง ถ้าจำกันได้เวลา 16.30 น. เมื่อวานอยู่ดีๆ ก็เกิดฝนตกหนัก ในช่วงที่พระหทัยพระองค์ค่อยๆ เต้นช้าลงเรื่อยๆ และความดันพระโหลิตค่อยๆ ลดลง พอถึงเวลาประมาณ 19.00 น. พระอาการทรุดหนักและ เวลา 19.19 น. อาตมาได้โพสต์เฟซบุ๊กสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เชิญชวนให้ทุกคนร่วมกันสวดมนต์และตั้งจิตภาวนาให้พระองค์ และเมื่อถึงเวลา 19.29 น. หันไปมองนาฬิกา พระหทัยของสมเด็จพระสังฆราชก็หยุดเต้น ในช่วงเวลาที่พระอาการของพระองค์อยู่ในขั้นวิกฤติ พระองค์สงบนิ่งเหมือนกับพระองค์ท่านกำลังทรงนั่งพระกรรมฐาน จนถึงวินาทีสุดท้ายที่พระองค์ท่านสิ้นพระชนม์

"พระองค์ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ของอาตมา จึงมีโอกาสได้สนองงานตั้งแต่ยังเป็นเณร เปรียบได้เหมือนเป็นบิดา ที่เลี้ยงดูมาตั้งแต่เด็ก ยอมรับว่ารู้สึกโศกเศร้ากับความสูญเสียครั้งนี้เป็นปรกติ แต่ต้องไม่ลืมข้อเท็จจริง ตามหลักพระพุทธศาสนา คือทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง จึงอยากให้พุทธศาสนิกชน มาร่วมถวายพระเกียรติ พระสังฆราชา บูชา โดยให้ยึดพระนามของพระองค์ว่าญาณสังวร มาปฏิบัติในตัวเอง โดยใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนา รวมทั้งนำมรดกธรรมที่พระองค์ได้ปฏิบัติให้เห็นเป็นแบบอย่าง มาสู่การปฏิบัติ ก็จะถือว่าเป็นการบูชาพระองค์ และจะมีพระองค์อยู่ในดวงใจตลอดไป สำหรับพระราชพิธีบำเพ็ญพระกุศลพระศพ สมเด็จพระสังฆราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ ทั้งสิ้น 7 วัน ในเบื้องต้นพระโกศที่ได้รับพระราชทาน คือ พระโกศกุดั่นใหญ่"พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ กล่าว

พระครูสังฆสิทธิกร หัวหน้าฝ่ายศาสนวิเทศ สำนักเลขานุการสำเด็จพระสังฆราช กล่าวว่า ในช่วงที่สมเด็จพระสังฆราช ยังทรงพระประชวร พระองค์จะเจริญสมาธิอยู่ตลอดเวลา กระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์ ทางคณะแพทย์ที่ถวายการรักษา จะไม่มีการถวายยาที่มีผลต่อสติของพระองค์ เพราะต้องการให้พระองค์จากไปในขณะที่ยังทรงสามารถเจริญสมาธิได้อยู่ จึงถือได้ว่า พระองค์สิ้นพระชนม์อย่างสงบในระหว่างการเจริญสมาธิ


ตั้ง "สมเด็จพระวันรัต" รักษาการเจ้าอาวาสวัดบวรฯ

เมื่อเวลา 18.30 น.ที่พระอุโบสถวัดบวรฯ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานในการมอบคำสั่งเจ้าคณะภาค1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต) ตั้ง สมเด็จพระวันรัต เป็น รักษาการเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร โดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 19 ว่า ด้วยการแต่งตั้งรักษาการแทนเจ้าอาวาส ออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2505 แก้ไขเพิ่มเติม 2535 โดยมีพระเถรานุเถระ นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และคณะสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย


*************************

เรื่องโดย : คมชัดลึกออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ




สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เป็นประธาน เปิดเทศกาลองค์พระฯ นครปฐม


พระธรรมปริยัติเวที
เจ้าอาวาส วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครปฐม ประธานจัดงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ประจำปี 2556 เปิดเผยว่า วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร กำหนดจัดงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในวันเพ็ญกลางเดือน 12 สืบทอดมาเป็นประจำทุกปี สำหรับในปีนี้ตรงกับ วันที่ 14-22 พ.ย.2556 รวม 9 วัน 9 คืน จังหวัดนครปฐม จึงได้กราบอาราธนา สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าคณะใหญ่หนกลาง เป็นประธานในพิธีเปิดงานในวันที่ 14 พ.ย.2556 เวลา 13.00 น. ณ ศาลากองอำนวยการองค์พระปฐมเจดีย์ และมี นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

เทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ จัดเป็นแบบงานวัด คณะสงฆ์เป็นผู้จัดเองแบบประหยัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 ภายในกำแพงแก้วองค์พระปฐมเจดีย์ทั้งชั้นบนและชั้นล่างโดยรอบ เพื่อให้ประชาชนเข้ามาทำบุญ และหาความสำราญกับการชมมหรสพ มีการรับบริจาคสมทบทุนมูลนิธิเพื่อบำรุงองค์พระปฐมเจดีย์ ทางวัดได้เปิดพระวิหารและคดระเบียงทุกแห่งให้ประชาชนเข้านมัสการปิดทอง พระร่วงโรจนฤทธิ์ พระพุทธรูปโบราณประจำวิหาร และชมวัตถุโบราณ เข้าบูชาพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อเป็นสิริมงคล เป็นเจ้าภาพผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา อาราธนาพระสงฆ์จำนวน 108 รูป เจริญพระพุทธมนต์ในวิหารหลวงทุกวัน ฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ 1,000 พระคาถา สร้างระฆังทองแขวนประดับองค์พระปฐมเจดีย์

ทางวัดเชิญชวนให้พ่อค้า แม่ค้า เกษตรกรได้นำสินค้า ผลิตผลทางการเกษตรมาจำหน่าย มีการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และสนับสนุนกิจกรรมหารายได้ช่วยเหลือการกุศลของเหล่ากาชาดจังหวัดนครปฐม


*************************

เรื่องโดย : ข่าวสดออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ





วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ประชาชนหลั่งไหลสักการะพระศพ "สมเด็จพระสังฆราชฯ"

วันที่ 25 ต.ค.56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลัง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระอาการทรุดลง และได้สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 19.30 น. เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม สาเหตุเนื่องจากติดเชื้อในกระแสเลือด สำหรับบรรยากาศช่วงเช้าวันที่ 25 ตุลาคม ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ก่อนเปิดให้ประชาชนได้เข้าสักการะพระศพเวลา 08.00-12.00 น. ณ ตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งเป็นสถานที่ประทับรักษาพระอาการประชวรของสมเด็จพระสังฆราช ขณะนี้ยังมีประชาชนทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลมาร่วมสักการะพระศพอย่างต่อเนื่อง จนเต็มพื้นที่หน้าตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร

โดยระเบียบการเข้าสักการะพระศพสมเด็จพระสังฆราช ณ ตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร ประชาชน สื่อมวลชนต้องปิดโทรศัพท์มือถือ และห้ามถ่ายรูปทุกกรณี โดยภายหลังการเข้าสักการะพระศพ ทางโรงพยาบาลจุฬาฯ จะมอบของที่ระลึกเป็นโปสเตอร์รูปสมเด็จพระสังฆราช พิมพ์ข้อความ "ฉลองพระชนมายุ 100 พรรษา 3 ตุลาคม 2556 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก" ส่วนด้านหลังพิมพ์พระประวัติ และลำดับสมณศักดิ์ นอกจากนี้ยังมีโปสเตอร์ขนาดเล็ก พิมพ์ข้อความด้านหน้า "ฉลอง 100 พรรษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก" อีกทั้งนังมีภาพสมเด็จพระสังฆราชใส่ในกรอบพลาสติกทรงรีขนาดเล็กให้กับประชาชนด้วยเช่นกัน

สำหรับกำหนดการเคลื่อนพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปยัง พระตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร จะเริ่มในเวลา 12.00 น. โดยใช้เส้นทางถนนราชดำริ ถนนพระราม 4 ขึ้นด่วนพระราม 4 ลงด่วนอุรุพงษ์ เข้าถนนเพชรบุรี ถนนหลานหลวง แยกผ่านฟ้า เลี้ยวขวาแยกป้อมมหากาฬ เลี้ยวขวาถนนพระสุเมรุ ผ่านแยกวันชาติ เข้าวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ก่อนจะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพสมเด็จพระสังฆราชฯ ในเวลา 13.00 น. จากนั้นจะเปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะหน้าพระรูปสมเด็จพระสังฆราช ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป

ทั้งนี้ สมเด็จพระสังฆราช ประชวรด้วยพระโรคชราภาพ ตามพระอายุขัย ซึ่งแทรกซ้อนตามมาด้วยเบาหวาน ไต เป็นต้น และได้ประทับรักษาพระอาการประชวรอยู่ที่ชั้น 6 ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ปี 2543


*************************

เรื่องโดย : คมชัดลึกออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ




วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

"พญานาค" ตำนานแห่งความศรัทธา

พญานาค เป็นความเชื่อที่ปรากฏในภูมิภาคเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเรียกชื่อต่างกัน แต่มีลักษณะคล้ายกัน คือ เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่ง ความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของ บันไดสู่จักรวาล อีกด้วย

ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือ เมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษาโดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่

ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือ พญานาค นั้นมีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี เหมือนสีของรุ้ง และที่สำคัญ คือ นาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษนาคราช (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียรสมุทร อนันตนาคราชนั้นเล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศีรษะ พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในนำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม

ชาวฮินดู มีความเชื่อว่า นาคเป็นผู้ใกล้ชิดกับเทพองค์ต่างๆ เป็น เทพเจ้าแห่งน้ำ เช่น อนันตนาคราช ที่เป็นบัลลังก์ของ พระนารายณ์ ตรงกับความเชื่อของ ลัทธิพราหมณ์ ที่เชื่อว่า นาค เป็นเทพแห่งน้ำ เช่นเดียวกัน

พญานาคกับตำนานในพระพุทธศาสนา

เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว ได้เสด็จไปตามเมืองต่างๆ เพื่อแสดงธรรมเทศนา มีครั้งหนึ่งได้เสด็จออกจากร่มไม้อธุปปาลนิโครธ ไปยังร่มไม้จิกชื่อ "มุจลินท์" ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุข อยู่ 7 วัน คราวเดียวกันนั้นมีฝนตกพรำๆ ประกอบไปด้วยลมหนาวตลอด 7 วัน ได้มีพญานาคชื่อ มุจลินทร์ เข้ามาวงด้วยขด 7 รอบพร้อมกับแผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะป้องกันฝนตกและลมมิให้ถูกพระวรกาย หลังจากฝนหายแล้ว คลายขนดออก แปลงเพศเป็นชายหนุ่มยืนเฝ้าที่เบื้องพระพักตร์ ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า


ความเชื่อดังกล่าวทำให้เป็นที่มาของการสร้าง พระพุทธรูปปางนาคปรก แต่มักจะสร้างแบบพระนั่งบนตัวพญานาค ซึ่งดูเหมือนว่าเอาพญานาคเป็นบัลลังก์ เพื่อให้เกิดความสง่างาม และทำให้เกิดความเชื่อว่า พญานาค คือ ผู้คุ้มครองพระศาสดา

ในสมัยพระพุทธเจ้า มีพญานาคตนหนึ่งนั่งฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วได้เกิดศรัทธา จึงได้แปลงกายเป็นมนุษย์ขอบวชเป็นพระภิกษุ แต่อยู่มาวันหนึ่งเข้านอนในตอนกลางวัน หลังจากหลับแล้วมนต์ได้เสื่อมกลายเป็นงูใหญ่ จนพระภิกษุรูปอื่นไปเห็นเข้า ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงให้พระภิกษุนาคนั้นสึกออกไป นาคตนนั้นผิดหวังมาก จึงขอถวายคำว่า นาค ไว้ใช้เรียกผู้ที่เข้ามาขอบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในความศรัทธาของตน

ต่อจากนั้นมาพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติไม่ให้ นาค ครุฑ หรือสัตว์อื่นๆ บวชอีกเป็นอันขาด และก่อนที่อุปัชฌาย์จะอุปสมบทให้แก่ผู้ขอบวชจะต้องถาม อันตรายิกธรรม หรือข้อขัดข้องที่จะทำให้ผู้นั้นบวชเป็นพระภิกษุไม่ได้ รวม 8 ข้อเสียก่อน ในจำนวน 8 ข้อนั้น มีข้อหนึ่งถามว่า "ท่านเป็นมนุษย์หรือเปล่า" และจึงเรียกการบวชนี้ว่า "บวชนาค"


*************************

เรื่องโดย : ทีมข่าวมงคลพระ
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ



พระถ้ำเสือหน้าฤาษี พุทธคุณเลิศ คงกระพันชาตรีมหาอุด


พระถ้ำเสือ เป็นวัตถุมงคลที่ได้รับการโจษจันมาแต่ครั้งโบราณว่า เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์เป็นเลิศทางด้านคงกระพันชาตรี มหาอุด แคล้วคลาดนิรันตราย ไม่แพ้พระเครื่องใดๆ

พุทธศิลปะของพระถ้ำเสือ แบบอู่ทองล้อทวารวดี เป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านเกสรวิเศษต่างๆ สันนิษฐานว่า "พระฤๅษี" เป็นผู้สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๒๒๐ รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

จากคำบอกเล่าถูกค้นพบครั้งแรก คือ เมื่อชาวไร่ผู้หนึ่งเดินทางขึ้นเขาเสือ เพื่อไปหามูลค้างคาวตามถ้ำ แล้วพบพระจำนวนมากจนเป็นที่มาของชื่อ "พระถ้ำเสือ" จากนั้นได้นำพระที่พบมาจำหน่ายจ่ายแจกกันไปจนหมด

นับเป็นการแตกกรุครั้งแรกของพระถ้ำเสือเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ หลังจากนั้นได้มีผู้พบพระที่มีพุทธลักษณะพิมพ์ทรงเช่นเดียวกับพระถ้ำเสือ ตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในถ้ำ เนินเขา วัด และเจดีย์ อาทิ พระถ้ำเสือที่พบในถ้ำเขานกจอด เขาวงพาทย์ เจดีย์เขาพระ วัดหลวงเขาดีสลัก และตามถ้ำต่างๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี

อย่างไรก็ตามภายหลังมีการขุดพบพระถ้ำเสืออีก ๒ ครั้งใหญ่ คือ พ.ศ.๒๕๓๕ และ พ.ศ.๒๕๔๒ จึงเกิด เรื่องราวข้อพิพาท “พระถ้ำเสือ กรุวัดเขาดีสลัก” แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ "เซียนบางกลุ่มยอมรับว่าแท้ แต่อีกหนึ่งกลุ่มบอกว่าเก๊" เลยกลายเป็นพระมีปัญหา ถกเถียงกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุดจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งคณะกรรมการค้นหาความจริงพระถ้ำเสือกรุวัดเขาดีสลัก และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี เคยเปิดให้บูชาหาเงินสร้างกุศลมาแล้ว องค์ละ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ บาท เมื่อเกือบสิบปีที่ผ่านมา แต่เซียนพระยังไม่ยอมรับอยู่ดี

อ.ราม วัชรประดิษฐ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์พุทธศิลป์ และเจ้าของ "www.aj-ram.com" อธิบายให้ฟังว่า ปัญหาเรื่องพระกรุใหม่พระกรุเก่านั้นไม่ใช่เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น การพบพระชนิดเดียวกันในหลายกรุ ถือเป็นภูมิปัญญาของคนโบราณที่นิยมสร้างพระแล้วนำไปบรรจุกรุต่างๆ เผื่อพระกรุใดกรุหนึ่งถูกทำลายไปก่อนก็ยังเหลือพระกรุอื่นๆ ไว้เป็นสมบัติของอนุชนรุ่นหลัง แต่ปรากฏว่ากรุต่างๆ แตกหรือพังออกมาไม่พร้อมกัน ซึ่งแน่นอนที่สุดว่าพระที่ค้นพบก่อนย่อมเป็นที่รู้จักมากกว่าพระที่ค้นพบหรือแตกกรุทีหลัง

"ปัญหาหนึ่งที่ทำให้พระกรุใหม่ไม่เป็นที่ยอมรับของวงการพระคือ การทำพระใหม่และไปใส่กรุ หรือที่เรียกว่า "พระยัดกรุ" เพื่อให้คนเข้าใจว่าเป็นพระกรุของผู้แสวงหาผลประโยชน์จากพระกรุ ซึ่งมักปรากฏเป็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ กรุแตกจริงบ้างหรือทำให้แตกบ้าง ดังนั้นก่อนที่จะเช่าไม่ว่าจะเป็นพระกรุใดก็ตามต้องศึกษาให้ดีก่อน" อ.ราม กล่าว


*************************

เรื่องโดย : คมชัดลึกออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ





วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เจ้าคุณธงชัย ขึ้นรองสมเด็จว่าที่ "พระพรหมมังคลาจารย์"


เปิดโผสมณศักดิ์ปี 56 เจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตร ขึ้นรองสมเด็จว่าที่ พระพรหมมังคลาจารย์ เช่นเดียวกับ พระธรรมวราภรณ์ วัดเครือวัลย์ เป็นว่าที่ พระพรหมวิสุทธาจารย์

แหล่งข่าวรายงานว่า ตามที่ประชุม มหาเถรสมาคม (มส.) ได้รับรองมติเรื่องขอพระราชทานสถาปนา เลื่อน และตั้งสมณศักดิ์ พระราชาคณะ ประจำปี 2556 ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาสมณศักดิ์ของคณะธรรมยุตและมหานิกายเสนอ จำนวน 71 รูป ดังนี้

 พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ หรือ รองสมเด็จพระราชาคณะ พร้อมราชทินนามและนามสร้อย จำนวน 2 รูป แบ่งเป็น ธรรมยุต 1 รูป และ มหานิกาย 1 รูป 

พระราชาคณะชั้นธรรม จำนวน 4 รูป แบ่งเป็น ธรรมยุต 1 รูป มหานิกาย 3 รูป 

พระราชาคณะชั้นเทพ จำนวน 6 รูป แบ่งเป็น ธรรมยุต 2 รูป มหานิกาย 4 รูป

ล่าสุดเฟซบุ๊ก "พัดยศ ในพระราชพิธี" ได้เปิดเผยรายชื่อสมณศักดิ์ที่ผ่านมาเห็นชอบบางส่วนดังนี้ พระธรรมวราภรณ์ (มนตรี คณิสฺสโร ป.ธ.5) เจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์วรวิหาร แขวงศิริราชเขตบางกอกน้อย เป็นรองสมเด็จว่าที่ พระพรหมวิสุทธาจารย์ ขณะที่ พระธรรมภาวนาวิกรม (ธงชัย ธมฺมธโช ป.ธ.6) วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นรองสมเด็จว่าที่ พระพรมมังคลาจารย์

ขณะ พระเทพวงศาจารย์ วัดหนองแวง จ.ขอนแก่น เป็น พระธรรมวิสุทธาจารย์ 
พระเทพเมธาภรณ์ วัดสนามพราหมณ์ จ.เพชรบุรี เป็น พระธรรมเมธากร
พระเทพปริยัติวิธาร วัดคลองโพธิ์ จ.อุตรดิตถ์ เป็น พระธรรมมหาวีรนุวัตร 
พระเทพสุธี วัดไตรธรรมาราม จ.สุราษฎร์ธานี เป็น พระธรรมวิมลโมลี 
และ พระราชวิริยาภรณ์ วัดศรีอุโมงค์คำ จ.พะเยา เป็น พระเทพญาณเวที


*************************

เรื่องโดย : บก.ไก่ วีรพล
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ




วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

26 ตุลา หลวงพี่น้ำฝน นำคณะศิษย์ ขอขมากรรม ณ พระธาตุแช่แห้ง

วันเสาร์ที่ ๒๖ ต.ค. ๒๕๕๖ นี้ พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ (หลวงพี่น้ำฝน) ทายาทศิษย์เอก หลวงพ่อพูล อัตตะรักโข พระอมตะเถราจารย์ วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม จะจัดพิธีบวงสรวงเทพยดา บูชาองค์พระธาตุแช่แห้ง ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งสัจจะอธิษฐาน ลด ละ เลิก สิ่งไม่ดีทั้งปวง ล้างสนิมในใจ ร่วมพิธี ขอขมากรรม ถอนคำสาบาน ถอนคำสาปแช่ง และสำหรับคนปีเถาะ เพื่อเป็นปลดเคราะห์ เสริมบุญบารมี ชีวิตมีแต่ความสุข ไร้ทุกข์ ไร้โศก ไร้โรคภัย มีโชคลาภ ค้าขายดีมีกำไร

พิธีจัดขึ้น ณ ลานหน้า องค์พระมหาเจดีย์ พระธาตุแช่แห้ง วัดพระธาตุแช่แห้ง บ้านหนองเต่า ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน ใน วันเสาร์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๘.๐๙ น. เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการดำเนินชีวิตสืบต่อไป โดยบัณฑิตศิษย์มีครู อาจารย์เชน พงษ์พรหม ณภัทรไพบูลย์ และ อาจารย์กบ สักกเทพ วานิช อ่านโองการ บวงสรวงเทพยดา เบื้องหน้า พระธาตุแช่แห้ง บูชาเทพยดา พร้อมบูชาถวายเครื่องสังเวย ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์

หลวงพี่น้ำฝน นำกล่าว ขอขมากรรม ถอนคำสาบาน ถอนคำสาบาน ถอนคำสาปแช่ จากนั้น หลวงพ่อน้ำฝน พร้อมคณะสงฆ์ วัดพระธาตุแช่แห้ง สวดถอนกรรม ถอนคำสาบาน ถอนคำสาปแช่ง เสร็จพิธีหลวงพ่อน้ำฝน ประพรหมน้ำพระพุทธมนต์ เพื่อความบริสุทธิ์ทั้งทางกาย วาจา ใจ เป็นเสร็จพิธี ผู้เข้าร่วมพิธีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น 

พระมหาเจดีย์พระธาตุแช่แห้ง วัดพระธาตุแช่แห้ง บ้านหนองเต่า ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน มีอายุประมาณ ๖๐๐ ปีเศษ เป็นปูชนียสถานที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์เคารพนับถือของชาวจังหวัดน่าน และจังหวัดใกล้เคียง มีลักษณะของศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุเจดีย์แสดงให้เห็นถึงแบบอย่างที่ผสมผสานคติความเชื่อทางพุทธปรัชญาไว้อย่างกลมกลืน องค์พระธาตุมีความสูง ๕๕.๕ เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ ๒๒.๕ เมตร มีสีเหลืองอร่ามเนื่องจากบุด้วยทองจังโก (ทองดอกบวบ ทองเหลือง ผสมทองแดง) มีลักษณะเจดีย์ทรงระฆัง ภายในพระเจดีย์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุส่วนกระดูกข้อมือซ้าย บรรจุรวมกับพระเกศา
ตำนานการสร้างพระมหาเจดีย์พระธาตุแช่แห้ง มีอยู่ว่า เมื่อครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์มาถึงภูเพียงแช่แห้ง และพบกับพระอมละราชและพระมเหสีที่มาสรงน้ำที่เดียวกับพระองค์สรงน้ำอยู่ พระอมละราชได้ถวายผ้าขาวให้พระพุทธเจ้าใช้สรงน้ำ แต่ผ้านั้นกลายเป็นทองคำ พระอานนท์จึงขอพระเกศาธาตุบรรจุในกระบอกไม้ซาง มอบให้พระอินทร์นำไปเก็บในอุโมงค์พร้อมผ้าทอง โดยพระอินทร์ได้ก่อพระเจดีย์สูง ๗ ศอกไว้ด้านบน


ประมาณ พ.ศ.๑๘๙๖ สมัยพระยากานเมือง ได้ส่งช่างไปร่วมสร้างวัดหลวงที่สุโขทัย พระยาลือไทยจึงมอบพระธาตุ ๗ พระองค์ และพระพิมพ์คำ พระพิมพ์เงินอย่างละ ๒๐ องค์ ให้พระยากานเมือง ซึ่งได้นำไปบรรจุไว้ที่ภูเพียง และพบพระเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุและพระธาตุข้อมือข้างซ้ายของพระพุทธเจ้า พระองค์จึงให้ทำอุโมงค์ประดิษฐานพระบรมธาตุใหม่ และก่อพระเจดีย์เป็น “พระธาตุแช่แห้ง” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองน่านมาจนทุกวันนี้

คำว่า “แช่แห้ง” เป็นคำที่นักปราชญ์ยกย่องให้เป็นมงคลนามยิ่ง เป็นประหนึ่งกุญแจที่จะไขปริศนาธรรมทั้งมวลจนดิ่งลึกเข้าสู่แดนสุญญตา คือความว่างจากตัวตน อันเป็นสุดยอดของอมฤตธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า “แช่แห้ง” จึงมีความหมายโดยนัยว่า ยอดคนหรือมหาบุรุษเท่านั้นที่จะทำตัวให้แห้งอยู่ในสภาวะแห่งความเปียกปอนของอวิชชา ความมืดบอด แห่งสรรพกิเลศตัณหาต่างๆ ที่มากมายยิ่งกว่าสายน้ำและมหาสมุทรทั้งหลายในโลกรวมกัน มนุษย์จะสามารถมีความสุขท่ามกลางทะเลแห่งความทุกข์ยากอันหมายถึงมหาวัฏฏสงสารได้อย่างไร

ด้วยปริศนาธรรมแห่งคำว่า “แช่แห้ง” จึงยุติอยู่ที่ “อริยสัจ ๔ ประการ” เพราะคำว่า แช่ หมายถึง การเปียกปอน การดิ่งจมลงในทะเลแห่ง วัฏสงสาร หมายถึงต้นเหตุแห่งทุกข์ มี ๒ ประการคือ ทุกข์ และสมุหทัย คำว่า แห้ง หมายถึงการหยุดนิ่งและสิ้นสุดแห่งอาสวกิเลศทั้งปวง มี ๒ ประการ คือ นิโรธหรือนิพพาน และ อริยมรรค อันมีองค์ ๘ ประการ คือ เส้นทางที่พระตถาคต ชี้นำให้พุทธศาสนิกทั้งมวล เดินตามรอยแห่งพุทธองค์ จึงสรุปได้ในที่สุดว่า คำว่า “แช่แห้ง” จึงหมายถึง “การดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง”

ส่วนเหตุผลที่พระธาตุแช่แห้งเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนที่เกิดปีเถาะ ก็คือเป็นการกำหนดขึ้นมาของพระภิกษุล้านนา เพื่อเป็นกุศโลบาย ให้คนเกิดศรัทธามุ่งมั่นทำความดีและสอนให้มีความพยายาม มีความตั้งใจเด็ดเดี่ยว ว่าในชีวิตหนึ่งขอได้ไปนมัสการพระธาตุประจำปีเกิด จะได้บุญ ตายไปก็ไม่ไปตกในอบายภูมิทั้งสี่

“วัดพระธาตุแช่แห้ง” ตั้งอยู่ที่บ้านหนองเต่า ต.ม่วงตึ๊ด กิ่งอ.ภูเพียง จ.น่าน สอบถามรายละเอียด โทร.๐๘-๑๕๕๙-๘๓๖๙ และ ๐๘-๗๖๙๘-๔๗๗


*************************

เรื่องโดย : ทีมข่าวมงคลพระ
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ



วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หลวงพ่อโสธร ตำนานศักดิ์สิทธิ์ แห่งเมืองแปดริ้ว

หลวงพ่อโสธร หรือ หลวงพ่อพระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปสำคัญของ จังหวัดฉะเชิงเทรา ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ วัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอกเศษ ปางขัดสมาธิเพชร แต่ได้เสริมแต่งขึ้นจากเดิมโดยพอกปูน ลงรักปิดทองให้เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 3 ศอก 5 นิ้ว พระเนตรเนื้อเลียนแบบพระสมัยล้านช้าง หรือที่เรียกว่า "พระลาว" ได้บูรณะหรือสร้างขึ้นในปลายกรุงศรีอยุธยา หรือ ต้นสมัยรัตนโกสินทร์

หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ คือมีพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิเพชร พระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายวางซ้อนกันอยู่บนพระเพลา มีส่วนสูง 6 ฟุต 7 นิ้ว พระเพลากว้าง 5 ฟุต 6 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐาน อยู่ในพระอุโบสถหลวงวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ตามตำนานไม่ได้กล่าวไว้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือสร้างเมื่อใด ทราบตามที่เล่าต่อๆ กันมาแต่เพียงว่า ในจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของไทย มีพระภิกษุสามองค์พี่น้อง เรียนพระธรรมวินัยแตกฉานแล้วจึง จำแลงกายเป็นพระพุทธรูปลอยน้ำลงมาตามลำแม่น้ำ

เมื่อมาถึงบริเวณหนึ่งก็ปรากฏองค์ขึ้น ชาวบ้านบริเวณนั้นพบเข้าก็พากันเอาเชือกมนิลามาฉุดขึ้น แต่ก็เอาขึ้นมาไม่ได้เพราะเชือกขาด ก่อนที่พระทั้งสามองค์จะจมหายไปบริเวณที่พระทั้งสามองค์ลอยทวนน้ำหนีนั้นเรียกว่า สามพระทวน ต่อมาได้เพี้ยนและเรียกว่า สัมปทวน อำเภอเมืองฉะเชิงเทราจนทุกวันนี้

ต่อมาได้มาผุดขึ้นที่คลองคุ้งให้ชาวบ้านแถวนั้นเห็นอีก ชาวบ้านก็พยายามชุดขึ้นฝั่งแต่ไม่สำเร็จอีก สถานที่นั้นเรียกว่า บางพระ มาจนทุกวันนี้ แต่นั้นมาพระพุทธรูปทั้งสามองค์ก็ได้สำแดงอภินิหารในครองเล็กๆ ตรงข้ามกองพันทหารช่างที่ 2 ฉะเชิงเทรา บริเวณนั้นเรียกว่า แหลมลอยวน คลองนั้นได้นามว่า คลองสองพี่น้อง ภายหลังก็เงียบไป

จวบจนองค์หนึ่งได้ลอยไปจนถึงแม่น้ำแม่กลอง และไปปรากฏขึ้นที่สมุทรสงคราม ชาวประมงได้พร้อมใจกันอาราธนาขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่ วัดบ้านแหลม หรือ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชนชาวสมุทรสงคราม เรียกกันว่า หลวงพ่อบ้านแหลม มาจนทุกวันนี้

องค์ที่สองได้ลอยวนไปวนมาและมาผุดขึ้นหน้า วัดหงษ์ เล่ากันว่า ที่วัดนี้เดิมมีเสาใหญ่มีหงษ์ทำด้วยทองเหลืองอยู่บนยอดเสานั้น จึงได้ชื่อว่าวัดหงษ์ ต่อมาหงษ์ที่ยอดเสาหักตกลงมาเสียชำรุด ทางวัดจึงเอาธงไปติดไว้ที่ยอดเสาแทนรูปหงษ์ จึงได้ชื่อว่า วัดเสาธง แล้วต่อมาก็เกิดมีพายุพัดเสานี้หักลงส่วนหนึ่ง จึงได้ชื่อว่า วัดเสาทอน และต่อมาชื่อนี้ได้กลายไปเป็น วัดโสธร

ประชาชนพลเมืองจำนวนมากได้พากันหลั่งไหลมาอาราธนาฉุดขึ้นฝั่งแต่ก็ไม่สำเร็จ ขณะนั้นมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษผู้รู้คนหนึ่ง สำเร็จไสยศาสตร์หรือเทพไสยรู้หลักและวิธีอาราธนา จึงได้ทำพิธีปลูกศาลเพียงตาบวงสรวง กล่าวคำอัญเชิญชุมนุมเทวดาอาราธนา และได้ใช้สายสิญจน์คล้องที่พระหัตถ์ของพระพุทธรูปก่อนจะค่อยฉุดลากขึ้นมาบนฝั่ง พระพุทธรูปจึงเสด็จขึ้นมาบนฝั่งเป็นที่ปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งของชาวเมือง จึงได้พร้อมใจกันอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่ในพระวิหารวัดโสธร และเรียกนามว่า พระพุทธโสธร หรือ หลวงพ่อโสธร ตั้งแต่นั้นมา

ส่วนองค์สุดท้ายได้ลอยไปอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ประชาชนละแวกนั้นก็หลั่งไหลมาอาราธนาขึ้นฝั่งฉุดขึ้นเป็นการใหญ่แต่ก็ฉุดขึ้นไม่ได้ เล่ากันว่ามีประชาชนพากันมาฉุดนับได้ถึงสามแสนคน จึงเรียกสถานที่นั้นว่า สามแสน ภายหลังจึงเพี้ยนมาเป็น สามเสน และเรียกกันอยู่ทุกวันนี้ จากนั้นพระพุทธรูปองค์นี้ก็ลอยไปผุดขึ้นที่คลองสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ประชาชนจึงได้ได้อาราธนาขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่ วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม หรือ วัดบางพลีใหญ่ใน ตราบจนทุกวันนี้ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มากอีกรูปหนึ่งของเมืองไทย คือ หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน

เล่ากันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เกิดขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี ตรงกับประมาณปี พ.ศ. 2313 นับเป็นประวัติพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ลอยน้ำมาที่น่าสนใจอย่างยิ่ง


*************************

เรื่องโดย : ทีมข่าวมงคลพระ
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ


พระพรหมสุธี นำคณะสงฆ์ภาค 12 ช่วยผู้ประสบอุทกภัย !!


ในห้วงนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สถานการณ์น้ำท่วมได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และไม่มีทีท่าว่าจะจบลงในเร็ววันนี้ จากฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี พายุที่โหมกระหน่ำเข้ามาติดต่อกันหลายต่อหลายลูก ทำให้หลายจังหวัดต้องประสบปัญหาอุทกภัยฉับพลัน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นเกินกว่าจะกักเก็บได้ จึงจำเป็นที่จะต้องปล่อยมวลน้ำก้อนใหญ่มหาศาล ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ในหลายพื้นที่ หลายจังหวัด

จากเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนต่าง ไม่เว้นแม้ พระภิกษุ สามเณร วัดวาอารามต้องเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ทั้งขาดที่พักอาศัย ขาดอาหาร หรือแม้กระทั่งเครื่องนุ่งห่ม ส่วนบางคนถึงกับต้องสิ้นเนื้อประดาตัว เพราะพื้นที่ไร่นา และที่อยู่อาศัยต้องจมอยู่ใต้บาดาล

แต่ทั้งนี้ในความเดือดร้อนดังกล่าว ก็ยังมีสิ่งดี ๆ ซ่อนอยู่นั่นก็คือ ความห่วงใย และความมีน้ำใจแก่เพื่อนพี่น้อง รวมถึงญาติโยมพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งหลาย ทั้งแรงใจ แรงกาย ที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย

โดยเฉพาะในขณะนี้ รายงานข่าวล่าสุด คณะสงฆ์จาก วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา นำโดย พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพรหมสุธี เจ้าคณะภาค 12 กรรมการมหาเถรสมาคม รักษาการเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. และพระเดชพระคุณ พระราชมงคลรังษี วิ. เจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร ได้มอบหมายให้พระเดชพระคุณ พระราชภาวนาพิธาน วิ. รองเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร เป็นผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม วัดโสธรวรารามวรวิหาร โดยตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จะได้ทำการบอกบุญ ประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวขอเชิญพุทธศาสนิกชน และผู้ใจบุญทั้งหลาย ร่วมบริจาคสิ่งของ ข้าวสารอาหารแห้ง น้ำดื่ม ถวายพระภิกษุ สามเณร และประชาชนผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ตามกำลังศรัทธาโดยพร้อมเพรียงกัน จากนั้นคณะทำงานจะได้ทยอยนำสิ่งของทั้งหมดไปถวายพระสงฆ์ตามวัดต่างๆที่ประสบภัย รวมถึงญาติโยมพุทธศาสนิกชนที่กำลังมีความทุกข์และเดือดร้อนอยู่ในขณะนี้ เพื่อบรรเทาเหตุการณ์เบื้องต้น เป็นการเยียวยาสร้างขวัญกำลังใจสืบไป

ผู้ประสงค์ร่วมบุญใหญ่ในครั้งนี้ เดินทางนำสิ่งของมาร่วมบริจาคได้ ณ ศูนย์อำนวยที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.081-9337714, 087-1463944 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง


*************************

เรื่องโดย : ทีมข่าวมงคลพระ
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ



ครม.คลอดแล้ว "เงินเดือนครูพระ" 1.5 หมื่น


นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมัติตามที่ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ขอให้ครม.พิจารณาอนุมัติหลักการให้ พศ. ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 งบกลางฯ จำนวนทั้งสิ้น 82,019,600 บาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับเพิ่มเงินเดือนครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เป็นเดือนละ 11,680 บาท

และอุดหนุนเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวแก่ครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาที่เป็นคฤหัสถ์ และมีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีที่มีเงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 15,000 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนอีกจนถึงเดือนละ 15,000 บาท


*************************

เรื่องโดย : คมชัดลึกออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ


วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

22 ปี ปิดคดีสังหารโหด 6 พระธรรมทูตมะกัน


เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๔ หรือ ค.ศ. ๑๙๙๑ ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ทำให้พี่น้องชาวพุทธและชาวไทยตกตะลึง เศร้าโศกเสียใจอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนซึ่งเหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้น เมื่อพระธรรมทูต ๖ รูป สามเณร ๑ รูป เด็กวัด ๑ คนแม่ชี ๑ คน วัดพรหมคุณาราม รัฐอริโซน่า สหรัฐอเมริกา ถูกฆาตกรรมด้วยการสังหารโหดพระ

จำเลยคดีฆาตกรรมพระสงฆ์และฆราวาส ไทย ๙ ศพ คือ นายโจนาธาน ดูดี้ หรือ นายวีระพล คำแก้ว ซึ่งถูกศาลชั้นต้นตัดสินจำคุก ๒๘๑ ปี กำลังจะกลายเป็นผู้บริสุทธิ์และจะได้รับอิสรภาพ หลังจากถูกจองจำมานานตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ ทั้งนี้ทนายความของโจนาธานได้อุทธรณ์ ๑๗ ปีต่อมา ศาลอุทธรณ์ที่ ๙ กลับคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าเขาไม่มีความผิด เพราะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวไปสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คดีนี้ถือเป็นคดีประวัติศาสตร์คดีหนึ่งของรัฐอริโซน่าและของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นคดีที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก มีความลึกลับซ้อน และเป็นคดีที่ศาลอุทธรณ์พิจารณากลับคำพิพากษาเพียงร้อยละ ๒ ของคดีในชั้นอุทธรณ์ทั่วสหรัฐ สำหรับชาวไทยคดีนี้เกี่ยวข้องกับคนไทยและประเทศไทยโดยตรง จึงเป็นคดีที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อ ๒๒ ปีก่อน

ในการต่อสู้เพื่อพลิกคดีนี้ นพ.ดร.มโน เลาหวณิช ที่ปรึกษาพิเศษในเลขาธิการใหญ่องค์การสมัชชาศาสนาเพื่อสันติแห่งโลก (ดับเบิลยูซีพีอาร์) หรือ อดีต พระ ดร.มโน เมตตานันโท โดยได้ทำคดีนี้มาตั้งแต่ขณะยังบวชเป็น ประธานสงฆ์ วัดพระธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย และกำลังทำปริญญาโททางด้านจริยศาสตร์การแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และได้ติดตามคดีสะเทือนขวัญนี้มาอย่างต่อเนื่อง

เช้าวันจันทร์ที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๐.๓๐ น.ที่ ศาลสูงแห่งมาริโคปา เคาน์ตี นครฟีนิกซ์ มลรัฐอาริโซนา สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการแถลงปิดคดี โจนาธาน ดูดี้ ในคดีที่รัฐอาริโซนาฟ้องนายโจนาธาน ดูดี้ว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสังหารโหดพระไทย วัดพรหมคุณาราม โดยตลอดการพิจารณาคดีศาลไม่อนุญาตให้มีการถายภาพหรือบันทึกเสียงใด ๆ เลยนอกจากได้รับอนุญาตจากศาลเท่านั้น ทั้งนี้ นพ.ดร.มโน ได้เดินทางไปฟังการแถลงปิดคดีนี้ด้วย

นพ.ดร.มโน เล่าให้ฟังว่า ผู้พิพากษา โจเซฟ เกรมเมอร์เปิดการปิดคดีโดยการอ่านแถลงคำแนะนำให้แก่องค์คณะลูกขุนโดยผู้พิพากษาอ่านคำเตือน แนวทางปฏิบัติและข้อควรคำนึงต่าง ๆ ในฐานะลูกขุน การแถลงปิดสำนวนครั้งนี้เป็นการต่อสู้กันในเชิงของวาทะและเหตุผล ระหว่างอัยการผู้เป็นตัวแทนของรัฐ กับทนายฝ่ายจำเลย ซึ่งผู้พิพากษาได้กล่าวในตอนสุดท้ายของการแถลงว่าทั้งอัยการและฝ่ายจำเลยได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีมาก เดิมพันของฝ่ายรัฐนั้นค่อนข้างสูงเพราะหากนายโจนาธาน ดูดี้หลุดจากคดีนี้ ก็สามารถที่จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อศาลได้เป็นจำนวนมากได้ และเนื่องจากตำแหน่งอัยการของรัฐนั้นเป็นตำแหน่งที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมา การพ่ายแพ้ก็หมายถึงอนาคตทางการเมืองของอัยการผู้นั้น

สิ่งที่แตกต่างอย่างมากจากการพิจารณาคดีเมื่อ ๒๒ ปี ที่แล้วคือ ตลอดการพิจารณาคดีครั้งนี้ อัยการไม่เคยกล่าวหาว่านายโจนาธาน ดูดี้ เป็นผู้สังหารพระไทยเหมือนครั้งที่แล้ว แต่ประเด็นที่เขานำเสนอคือการปัญหาที่ว่านายโจนาธาน อยู่ในที่เกิดเหตุร่วมกับ นายอเล็กซ์ การ์เซีย หรือไม่ โดยเหตุผลที่ยกอ้างต่าง ๆ ไม่มีคำให้การของนายโจนาธานอยู่ด้วยเลยแม้แต่น้อย หลักฐานที่อัยการยกอ้างคือคำให้การของนายอเล็กซ์ การ์เซียที่ยืนยันว่านายโจนาธาน อยู่ด้วยตลอด โดยที่ตัวเขาเองเป็นผู้ลั่นไก ตัดสายโทรศัพท์ และเข้ารื้อค้นทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ในวัด ในขณะที่พระเณรและเหยื่อทุกคนที่ถูกฆ่าไม่มีการต่อสู้แม้แต่น้อยเพราะเป็นคณะบุคคลทีฝักใฝ่ในสันติอย่างมาก

ในช่วงบ่ายทนายฝ่ายจำเลย คือ นางมาเรีย เชฟเฟอร์ กล่าวแถลงปิดคดี ทนายมาเรียเรียกการ์เซียว่า “มารร้าย” (The Devil) ซึ่งเจ้าพนักงานของรัฐได้ทำสัญญาต่อรองกับเขาไว้ก่อนว่าจะพ้นจากโทษานุโทษทั้งปวง จากทุกคดีที่เขาเคยกระทำมาหากให้การปรักปรำโจนาธาน ดูดี้ ในคดีสยองขวัญที่ขณะนั้นเป็นที่โจทก์ขานกันทั้งเมือง เพราะเป็นคดีที่โหดร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของรัฐอาริโซน่า และเป็นความผิดพลาดของเจ้าพนักงานสอบสวนที่ทำสัญญานี้ เธอได้ฉายเอกสารที่เจ้าพนักงานสอบสวนทำกับนายการ์เซีย ระหว่างการสอบสวน จนให้รัฐต้องปกป้องความผิดพลาดของตนเอง

ทนายมาเรียยกตัวอย่างมากมายให้องค์คณะลูกขุนฟังถึง การใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยของการ์เซียซึ่งไม่มีงานทำในขณะที่โจนาธานมีงานทำ และเชื่อมโยงนายการ์เซียเข้ากับการสังหารโหดพระไทย ตามที่มีหลักฐานคือรอยเท้าจากรองเท้าบูทของเขา และถุงมือที่ปรากฏอยู่ท้ายรถของนายโรแลนโด คาราตาเชีย แม้ว่าทางเจ้าพนักงานสืบสวนและนิติเวชศาสตร์ได้ทำการเก็บหลักฐาน พร้อมรูปถ่ายนับหมื่นภาพจากวัดพรหมคุณาราม มาเรียนได้ยืนยันว่าไม่มีหลักฐานทางนิติเวช ใดๆ ที่ยืนยันได้ว่าโจนาธาน ดูดี้อยู่ในที่เกิดเหตุคืนนั้น สิ่งเดียวที่ยังคงยึดโยงโจนาธาน ดูดี้เข้ากับคดีนี้คือคำให้การของนายอเล็กซ์ การ์เซียเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ถ้อยแถลงของทนายมาเรียยาวประมาณหนึ่งชั่วโมง และต่อด้วยการแถลงโต้ของอัยการซึ่งปฏิเสธเหตุผลของมาเรีย และยืนยันว่า โจนาธาน ดูดี้อยู่ในที่เกิดเหตุอย่างแน่นอน เพราะทั้งคู่เป็นเพื่อนสนิทกันมาก และได้นำภาพถ่ายเครื่องแบบชุดนักเรียนรักษาดินแดนที่ทั้งคู่ วางไว้ติดกันบนหิ้งในห้องพักของนายอเล็กซ์ การ์เซียเป็นหลักฐาน และไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่นาย อเล็กซ์ การ์เซียจะต้องให้การปรักปรำนายโจนาธาน ดูดี้อีกเพราะเขาไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น

ทนายมาเรียสรุปในที่สุดว่า นายอเล็กซ์ การ์เซียเป็นคนเลวที่ฉลาด และหลักแหลมพอที่จะหลอกใช้คนให้เชื่อเป็นต้นว่าได้หลอกใช้นายเดวิดน้องชายของโจนาธาน ให้เขียนแผนที่ของวัดให้เขา และยังได้หลอกเจ้าพนักงานสอบสวนให้ทำสัญญาไม่เอาโทษกับเขาเพื่อแลกกับการปรักปรำนายโจนาธาน ดูดี้ และตลอดการดำเนินคดีตลอดมาเจ้าพนักงานไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์แม้แต่เพียงชิ้นเดียวที่ยืนยันได้ว่า โจนาธาน ดูดี้อยู่ในที่เกิดเหตุหรือมีส่วนร่วมกับการสังหารพระไทยเมื่อยี่สิบสองปีที่ผ่านมา

นพ.ดร.มโน ยังเล่าด้วยว่า เมื่อออกจากหัองพิจารณาคดี ได้เข้าไปคุยกับมาเรีย ซึ่งเธอบอกว่าโจนาธานไม่ค่อยพอใจการแถลงปิดคดีของเธอเท่าใดนัก แต่เธอคิดว่าสิ่งที่เธอกล่าวไปนั้นเหมาะสมที่สุดแล้ว และเชื่อมั่นว่าลูกขุนจะไม่เชื่อเหตุผลของอัยการ และเมื่อถามต่อไปว่า "หากไม่ชนะคดีตามที่คาดไว้จะทำอย่างไร?" เธอตอบว่า จะสู้ต่อให้หนักยิ่งกว่านี้ และเธอเองได้ติดต่อประสานงานกับทีมงานของอลัน เดอร์โชวิชซ์อย่างใกล้ชิดมาดตลอด

นอกจากนี้แล้วเป็นที่น่าสังเกตว่าหลังจากการแถลงปิดคดีแล้ว สื่อต่าง ๆ ในรัฐอาริโซน่าซึ่งเคยประโคมข่าวทางลบต่อโจนาธาน ดูดี้ว่าเป็นฆาตกรโหด มาตลอดเริ่มให้ข่าวในทางที่เป็นบวกว่า ไม่มีหลักฐานที่เป็นรูปธรรมใด ๆ สามารถยืนยันได้ว่าโจนาธาน อยู่ในที่เกิดเหตุด้วยเลย

อย่างไรก็ตามการตัดสินชี้ถูกผิดนั้นต้องเป็นความเห็นเอกฉันท์ของลูกขุนทั้งองค์คณะ หลังจากที่พิจารณาไปได้สองสัปดาห์ ลูกขุนสองคนก็ขอถอนตัว ผู้พิพากษาจำต้องเรียกตัวลูกขุนที่ถูกจับฉลากออกทั้งสองคนเข้าทำหน้าที่แทน และยังอบรมลูกขุนทั้งองค์คณะว่าให้แต่ละคนใช้วิจารณญาณของตนเองเท่านั้น และห้ามมิให้ลูกขุนคนใดพยายามจูงใจผู้อื่นให้เชื่อแบบเดียวกันกับตน องค์คณะลูกขุนทั้งหมดมีเวลาถึงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ หากไม่อาจมีมติเป็นเอกฉันท์ได้ ก็ถือว่าเป็นไม่เป็นผล ศาลจำเป็นต้องเริ่มกระบวนการคัดเลือกองค์คณะลูกขุนเพื่อพิจารณาคดีครั้งนี้ใหม่เป็นอีก

พระเมตตา"ฆาตกร!"

นพ.ดร.มโน บอกว่า ทำคดีนี้เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓ ครั้งยังเป็นประธานสงฆ์ วัดพุทธเมย์วู้ด เมือเมย์วู้ด แคลิฟอร์เนียร์ ครั้งนั้นถูกต้องข้อครหาว่า ไปยุ่งในเรื่องที่ไม่ใช่กิจของสงฆ์ บางคนกล่าวหาไปช่วยฆาตรกร แต่ด้วยเหตุที่ติดตามคดีนี้มาตั้งต่นเห็นความผิดปกติในหลายๆ มิติ มีคำถามที่ตอบไม่ได้หลายข้อ ในการตัดสินใจของอัยการ เมื่อคดีนี้เกิดขึ้นใหม่ๆ และมีข่าวลือแพร่สะพัดไปว่า เป็นมูลเหตุมาจากการค้ายาเสพติด ในที่ประชุสมัชชาสงฆ์ไทยที่นิวยอร์ค ครั้งที่ ๑๗ ได้มีการพูดในที่ประชุมว่า "เป็นคดีจับแพะ" ในครั้งนั้น พระธรรมราชานุวัตร หรือ หลวงเตี่ย ประธานสงฆ์วัดไทยแอล เอ ได้พูดในที่ประชุมสงฆ์ว่า "ให้ไปคุยกับโจนาทานดูดี้ก่อน ถ้ามันไม่ได้ทำ ให้ช่วยมันออกมาจากคุก"

ในการต่อสู้คดีครั้งนี้นอกจากต่อสู้กับกระบวนการยุติธรรมของสหรัฐฯ แล้ว ยังต้องต่อสู้คนไทยด้วยกันเอง เพราะคนไทยที่แอลเอ และอริสโซ่น่า กลัวว่าจะมีภัยกับตัวเอง คนไทยคิดว่าธุระไม่ ไม่ใช่เรื่อง ไม่ใช่ญาติ เข้าไปช่วยเป็นการเปลืองตัวโดยใช่เหตุ ทำแล้วอาจจะมีภัยเข้าตัว เพราะไปยุ่งกับระบบตุลาการของประเทศมหาอำนาจ ที่สำคัญ คือ ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม กรรเก่า ทำให้ไม่มีใครยากช่วย ยอมรับการกระทำที่เกิดง่ายกว่าไปแสวงหาสิงที่ถูกต้องการปิดคดีเท่ากับว่ายุติปัญหาทุกอย่างที่อาจเกิดขึ้น การเข้าไปช่วยถึงกับมีหนังสือพิมพ์ไทยในแอลเอ ตั้งชื่อใหม่ว่า พระเมตาตา (ฆาตกร) ขณะเดียวกันก็มีคนไทยกลุ่มใหญ่ที่ไม่เชื่อว่า โจนาทาน ดูดี้ เป็นฆาตกรและจำเลย

"วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ เป็นวันสุดท้ายขององค์คณะลูกขุน ๑๒ คน ที่จะมีมติออกมาว่าผิดหรือไม่ โดยส่วนตัวมีความเชื่อว่า คณะลูกขุนจะมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า "จำเลยไม่ผิด" นี่คือชัยชนะที่เกิดขึ้น ภายหลังจากการต่อสู้อันยาวนานกว่า ๒๐ ปี การต่อสู้ที่ถูกหลายคนสบประมาทว่า ไม่มีทางชนะ ถูกทนายหลอกบ้าง เสียเงินเปล่าๆ บ้าง โดยเฉพาะกับตนเองนั้น การต่อสู้คดีนี้ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผมเองไปอย่างไม่มีวันกลับ จากการเป็นผู้บริหารอาวุโสของมูลนิธิธรรมกาย ประธานสงฆ์วัดพระธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย พระเถระผู้ที่เคยมีอำนาจมากที่สุดรูปหนึ่งในวัด ต้องใช้ชีวิตเงียบๆ ในวัดเล็กๆ แห่งหนึ่ง ถูกขึ้นบัญชีดำของมหาเถรสมาคม และถูกประณามว่า ไม่มีความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ จากสหธรรมิก และญาติโยมทั้งหลาย การต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมครั้งนี้ ต้องแลกมาด้วยทุกอย่างในชีวิตของตน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คนบริสุทธิ์ แก่คนไทยในสหรัฐ และแก่พระพุทธศาสนา" นพ.ดร.มโน กล่าวอย่างภาคภูมิใจ


*************************

เรื่องโดย : คมชัดลึกออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ



วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สมเด็จพระสังฆราช กับเหตุการณ์ 14 ตุลา

เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ฉลองพระชนมายุ 100 พรรษา 3 ตุลาคม 2556 และโอกาสครบรอบ 40 ปี 14 ตุลาคม 2516 จึงเป็นโอกาสที่จะได้นำเรื่องราวที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อครั้งทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระญาณสังวร และเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงเคยออกแถลงการณ์ในนามคณะสงฆ์ไทย ทำเป็นใบปลิวเรื่อง “สัมมาสติ” ให้ลูกศิษย์นำไปแจกในที่ชุมนุม เพื่อเตือนสติทุกฝ่ายให้มีสัมมาสติ ดังที่ปรากฏในหนังสือ “99 คำถามเกี่ยวกับสมเด็จพระสังฆราช” ซึ่งจัดพิมพ์น้อมถวายเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในงานบำเพ็ญพระกุศลคล้ายวันประสูติ เจริญพระชันษา 99 ปี วันที่ 3 ตุลาคม พุทธศักราช 2555, หน้า 89-91 ความว่า

สัมมาสติ แปลว่า ความระลึกชอบ อันความระลึกนั้น มักพูดกันเช่นว่า ระลึกถึง คือนึกขึ้นมาได้ถึงบุคคล เหตุการณ์ หรือแม้วัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่ง บางทีความระลึกถึงเป็นไปในทางไม่สงบต่างๆ เพราะก่อให้เกิดภาวะเป็นต้นว่า ความโกรธแค้นขึ้งเคียดจนถึงใช้กำลังประหัตประหารกันให้ย่อยยับลงไป บางทีความระลึกถึงเป็นไปในทางสงบต่างๆ เพราะก่อให้เกิดภาวะ เป็นต้นว่า ความมีมิตรภาพไมตรีจิตความประนีประนอมผ่อนปรนกันและกัน ความช่วยเหลือกันและกันให้เกิดความสุขความเจริญ ความระลึกถึงอย่างแรกมิใช่เป็นสัมมาสติแต่เป็นมิจฉาสติ ส่วนความระลึกถึงอย่างหลังเป็นสัมมาสติ ความระลึกชอบ ในฐานที่เราทั้งหลาย ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ต่างก็เกิดมาเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นสัตว์โลกชนิดที่มีปัญญาสูงมาโดยกำเนิด ทั้งยังได้รับการศึกษาส่งเสริมปัญญาให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้นไปอีก ก็ควรที่จะมีความระลึกชอบ คือใช้ปัญญาระลึกโดยรอบคอบ ไม่ลุอำนาจหรือดึงดันไปด้วยอำนาจความโกรธ หลง ซึ่งจะเป็นเหตุให้พบเหตุผลเป็นเครื่องแก้ไขเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งที่เป็นส่วนตัวทั้งที่เป็นส่วนรวมได้ดียิ่ง ความพบเหตุผลที่ถูกต้องดังนี้และเป็นตัวปัญญา ซึ่งเป็นผลที่มุ่งหมายสำหรับแก้เหตุการณ์ทั้งหลายตามที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า สัมมาสติและปัญญา ต่างก็ต้องอาศัยกันและกัน ในที่นี้ยกสัมมาสติขึ้นเป็นประธาน เพราะมุ่งหมายว่าเป็นข้อสำคัญในหน้าที่เตือนใจให้ใช้ปัญญาแทนที่จะใช้อารมณ์และกิเลสแก่กันและกัน ทุกๆ คนต่างก็มีปัญญาอยู่ด้วยกันแล้ว แต่อาจยังเผลอปัญญาไปบ้างเพราะขาดสัมมาสติเท่านั้น จะควรระลึกอย่างไรจึงจะเป็นสัมมาสติ และจะระลึกอย่างนั้นได้หรือ

ขอแถลงข้อหลังก่อนว่า ทุกคนระลึกให้เป็นสัมมาสติได้ เพราะเป็นเรื่องของจิตใจที่อาจน้อมจิตใจให้คิดไปได้ จึงขอแต่เพียงว่า ขอให้น้อมจิตใจคิดไปในทางสงบเท่านั้น โดยพยายามระงับดับจิตใจเร่าร้อนไม่สงบลงเสีย ดังจะลงแนะแนวคิดดู ที่จะนำไปสู่สัมมาสติ

1.เราทั้งหลายเป็นอะไรกัน ถ้าคิดด้วยความโกรธ ก็จะได้คำตอบว่า เป็นศัตรูกัน โกรธเกลียดกัน ซึ่งจะต้องเอาชนะกันให้ได้แม้ด้วยการใช้กำลังประหัตประหารกัน ถ้าคิดด้วยจิตใจที่สงบก็จะได้คำตอบว่า เราเป็นพี่น้องกัน ร่วมชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เดียวกัน หรือแม้ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน บรรพบุรุษสตรีของเราได้เสียสละทุกอย่างรักษาสถาบันต่างๆ ของชาติไทยไว้ให้แก่เรา เราทั้งหลายจึงเหมือนอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ผู้ที่เป็นผู้ใหญ่ก็เป็นเหมือนเป็นพ่อเป็นแม่ เป็นตา เป็นยาย เป็นปู่ เป็นย่า เป็นน้า เป็นอา ผู้ที่เป็นเด็กกว่าก็เหมือนอย่างเป็นลูกเป็นหลาน ที่เป็นชั้นเดียวกันก็เป็นเหมือนอย่างเป็นพี่เป็นน้องกันทั้งนั้น ไม่ใช่ใครที่ไหน ความระลึกได้อย่างนี้จะทำให้จิตใจอ่อนโยนลง จะทำให้เกิดความคิดที่จะปรองดองกัน สมัครสมานกันขึ้น

2.เราทั้งหลายกำลังจะทำอะไรให้แก่กัน ถ้าตอบด้วยความโกรธก็จะได้คำตอบว่าเราจะต้องไม่ยอมกันเด็ดขาด จะต้องบังคับเอาสิ่งที่เราต้องการ หรือไม่ยอมให้ทุกอย่างตามที่ได้รับการเรียกร้อง แม้ด้วยการใช้กำลัง แต่ถ้าคิดด้วยใจที่สงบ ก็จะมองเห็นว่า เราทั้งหลายต่างก็เป็นญาติกันทั้งหมด มิใช่ใครอื่นที่ไหน ควรที่จะผ่อนปรนกัน สมมุติว่าผ่อนความต้องการของตนบ้าง เหมือนอย่างว่าคนละครึ่งหนึ่ง ทุกฝ่ายต่างได้ต่างเสียด้วยกัน เพราะการที่ดึงดันเอาแต่ใจของตนฝ่ายเดียวนั้นยากที่จะตกลงกันได้ หลักของความสามัคคีประการหนึ่งก็คือ ความที่รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา หรือเอาใจเราไปใส่ใจเขา แต่จะต้องทำใจให้สงบเสียก่อนจึงจะเกิดความคิดผ่อนปรนประนีประนอมดังกล่าวได้

3.เราทั้งหลายกำลังมุ่งอะไรเพื่ออะไร สิ่งที่มุ่งนั้น ถ้าไม่ขัดกันก็ไม่เกิดปัญหาขัดแย้ง แต่ถ้าขัดกันก็เกิดปัญหาขัดแย้ง แต่ก็จะต้องมีจุดที่มุ่งหมายว่าเพื่ออะไร เมื่อมีจุดที่มุ่งหมายเป็นอันเดียวกัน เช่นเพื่อชาติ ก็น่าที่ทุกฝ่ายจะพากันเสียประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อส่วนรวมคือชาติ อันหมายถึงประชาชนทั้งหมดพร้อมทั้งสถาบันทั้งหลายของชาติ ด้วยสันติวิธี พยายามหาทางปฏิบัติโดยสันติที่จะให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายทุกๆ คนย่อมรวมอยู่ในชาติ ต่างเป็นกำลังของชาติดังที่เรียกกันว่า “พลเมือง” จึงต้องรักษาตนเองไว้ให้ดีด้วยกัน การที่จะมาทำลายกันเองลงไป เท่ากับเป็นการทำลายกำลังของชาตินั้นเอง ทำให้ชาติอ่อนกำลังลง และเราทั้งหลายต่างก็มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นประมุขของชาติ ผู้ทรงดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรมเป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงสุด ปรากฏว่าพระองค์มีพระราชวิตกห่วงใยเป็นอันมาก มีพระมหากรุณาแผ่ไปอย่างยิ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงขึ้นเพียงใด ความทุกข์อย่างหนักก็ย่อมจะเกิดขึ้นในพระราชหฤทัยเพียงนั้น จึงน่าที่ทุกๆ ฝ่ายจะรำลึกถึงพระมหากรุณา และปฏิบัติอย่างผ่อนปรนแก้กันด้วยมุ่งประโยชน์แก่ประเทศชาติอันเป็นส่วนรวมเป็นที่ตั้ง และรำลึกถึงพระศาสนาซึ่งสอนให้ใช้สัมมาสติ กล่าวได้ว่า ทุกศาสนาย่อมสอนให้ใช้สัมมาสติทั้งนั้น

แนวคิดทั้ง 3 ประการนี้ เป็นแนวคิดที่ขอเสนอแนะแก่ทุกๆ คน ทุกๆ ฝ่าย ขอให้ทุกคนทุกฝ่ายพากันยังยั้ง คิดรำลึก ถึงจะต้องใช้เวลาสักหน่อย ก็ยังดีกว่าการทำอะไรลงไปด้วยความผลุนผลันพอให้อารมณ์ที่ตึงเครียดผ่อนคลาย พอให้จิตใจสงบและคิดรำลึกตามแนวที่เสนอแนะ หรือแม้แนวอื่นที่จะนำไปสู่ความพบเหตุผลที่ดีกว่าย่อมจะได้สัมมาสติและปัญญา ในอันที่จะแก้ไขผ่อนปรนนำไปสู่วัตถุประสงค์ที่ต้องการร่วมกัน โดยสวัสดี

พระเมตตาคุณ พระกรุณาธิคุณของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นข้อเตือนใจ เป็นแนวคิดการดำรงอยู่ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองมีการแตกแยกความคิด ทางการเมือง จนอาจนำไปสู่ความขัดแย้งเช่นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ครั้งนี้ หากทุกฝ่ายน้อมนำคติธรรมดังกล่าว ไปพิจารณา ไตร่ตรอง และปฏิบัติตามแล้ว ย่อมจะนำมาสู่การพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยให้เจริญวัฒนาสถาพรสืบไป...ฑีฆายุโก โหตุ สังฆราชา

*************************

เรื่องโดย : คมชัดลึกออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ




วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หลวงพ่อพริ้ง ผู้มอบ "ปั้นเหน่งแม่นาค" ให้กรมหลวงชุมพรฯ


หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก หรือ “ท่านพระครูวิสุทธิศิลาจารย์” จัดเป็นอีกหนึ่งคณาจารย์ยุคเก่าที่มีลูกศิษย์ทุกระดับชนชั้นมากมาย รวมทั้ง พระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักด์ ก็ได้เสด็จไปฝากตัวเป็นศิษย์ของท่าน 

หลวงพ่อพริ้ง ท่านเป็นผู้มอบ กระดูกหน้าผากนางนาก ให้เสด็จในกรมฯ ซึ่งมีความเฮี้ยนมากจนเป็นที่กล่าวถึงของพระโอรสและธิดา ซึ่งเสด็จเตี่ยบอกว่า ไม่ต้องกลัว และความเฮี้ยนของนางนากก็ปรากฏถึง ๒ ครั้ง ในตำหนักนางเลิ้ง

ในเรื่องกระดูกหน้าผากของนางนากนี้ได้ปรากฏในงานเขียนประวัติของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) รวบรวมโดย ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา พ.ศ.2473 บรรยาย ไว้ว่าหลังจากที่นางนาคออกอาละวาดหนัก สมเด็จพระพุฒาจารย์ท่านรู้เรื่องจึงลงไปค้างที่วัดมหาบุศย์ และเรียกนางนาค ขึ้นมาคุยกัน ผลสุดท้ายท่านเจาะเอากระดูกหน้าผากของนางมาลงยันต์และทำเป็นปั้นเหน่งคาดเอว ผีนางนาคก็ไม่ออกมาอาละวาดอีกเลย

และในเรื่องนี้ สมบัติ พลายน้อย ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ค้นคว้าและเขียนเรื่องของแม่นาคสรุปเอาไว้ว่ากระดูกหน้าผากแม่นาคนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้ประทานให้กับ สมเด็จหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต) และประทานให้ หลวงพ่อพริ้ง (พระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์) อีกต่อ จนมาถึงกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ไม่นานนักแม่นาคก็มากราบลา จากนั้นก็ไม่มีใครพบกระดูกหน้าผากของแม่นาคอีก จึงนับได้ว่าในยุคนั้นท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้คณาจารย์ใด ๆ ในยุคเดียวกันเลย เนื่องจากหากหน่วยงานราชการในยุคนั้นมีพิธีพุทธาภิเษกที่สำคัญ ๆ แล้ว “หลวงพ่อพริ้ง” ก็จะต้องเป็นคณาจารย์อีกรูปหนึ่งที่ได้รับการนิมนต์ให้ไปร่วมพิธีทุกครั้ง ชื่อเสียงของท่านจึงขจรระบือไกล

โดยประวัติหลวงพ่อพริ้ง มีนามเดิมว่า “พริ้ง เอี่ยมเทศ” เกิดเมื่อ พ.ศ. 2412 เป็นชาวบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ เริ่มเรียนหนังสือด้วยการบวชเป็นสามเณรที่ “วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)” กระทั่งอายุครบ 20 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ “วัดทองนพคุณ” อ.คลองสาน แล้วจึงไปจำพรรษาที่ วัดบางปะกอก จวบกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสครองวัดบางปะกอกจนกระทั่งมรณภาพ

หลังจากเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้ว “หลวงพ่อพริ้ง” ก็ได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งภาษาไทยและบาลีจนแตกฉาน ประกอบกับเป็นผู้ที่มีความสนใจทางด้าน “วิปัสสนากรรมฐาน” จึงทำการฝึกฝนทางด้านนี้อย่างจริงจังรวมทั้งเรียนด้านวิทยาคมเพิ่มเติมอีก กับคณาจารย์ต่าง ๆ หลายสำนัก ทำให้ท่านมีชื่อ เสียงเด่นดังทั้งทางด้าน คงกระพันชาตรีและเมตตามหานิยม แถมด้วย วิชาแพทย์แผนโบราณ อีกด้วยเพื่อนำมาสงเคราะห์ต่อชาวบ้านในสมัยนั้น โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่ได้รับนิมนต์ให้ไปร่วมประกอบพิธีหล่อและพุทธาภิเษก พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ วัดสุทัศน์ ) ซึ่งมีพระคณาจารย์ชื่อดังหลายสิบรูปมาร่วมพิธีครั้งนี้ปรากฏว่า “แผ่นยันต์ ที่หลวงพ่อพริ้งทำการจารอักขระ” และได้นำไปใส่ในเบ้าหลอมรวมกับของคณาจารย์รูปอื่น ๆ ไม่ยอมหลอมละลาย เกิดเป็นปรากฏการณ์อันอัศจรรย์ให้เล่าขานมาถึงทุกวันนี้ โดยต้องนิมนต์ท่านมาทำการท่องมนต์กำกับแผ่นจารจึงละลายในเวลาต่อมา

หรือในสมัยที่ก่อเกิด “สงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่ 2” (ระหว่าง พ.ศ. 2480–85) วัดบางปะกอก ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่ประชาชนทั่วไปได้มาขอพึ่งพาเป็นที่หลบภัย ทั้ง ๆ ที่วัดอยู่ไม่ไกลจากอู่ต่อเรือของทหารญี่ปุ่นที่เข้ามาสร้างฐานทัพในประเทศ ไทยเท่าใดนัก โดยช่วงนั้นฝ่ายพันธมิตรได้นำเครื่องบินทิ้งระเบิดเพื่อทำลายฐานที่มั่นของ ทหารญี่ปุ่นมากมายหลายสิบลูก แต่ไม่มีระเบิดแม้แต่ลูกเดียวที่จะหลงหลุดลอยมาถึงวัดบางปะกอกได้เลย ทั้งนี้เป็นเพราะ “หลวงพ่อพริ้ง” ได้ทำพิธีขจัดปัดเป่าจึงทำให้บริเวณวัดบางปะกอกและใกล้เคียงรอดพ้นจากลูกหลง โดยสิ้นเชิง ทำให้ประชาชนชาวบางปะกอกสมัยนั้นต่างไม่มีใครลืมเหตุการณ์ในยุคนั้นได้เลย

ด้วยเหตุนี้ชื่อเสียงท่านจึงโด่งดังมากเป็นผลให้ประชาชนทั่วสารทิศทั้งใกล้ ไกล ต่างมุ่งไปขอวัตถุมงคลจากท่านรวมทั้งไปให้ท่านช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งท่านก็ไม่เคยปฏิเสธผู้ใดไม่ว่าจะเป็นเจ้าใหญ่นายโตหรือประชาชนธรรมดา สามัญ หากไปขอให้ท่านช่วยสงเคราะห์แล้วเป็นได้รับเมตตาช่วยเหลือเสมอเหมือนกันหมด หลวงพ่อพริ้ง ทำการสร้าง วัตถุมงคล ขึ้นมากมายหลายชนิดแจกจ่ายกันไปตามแต่ผู้มาขอต้องการ ส่วนที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมเสาะหาก็มีทั้ง ลูกอมเนื้อผง, ตะกรุด, ผ้ายันต์, เสื้อยันต์, และ พระพิมพ์ต่างๆ


*************************

เรื่องโดย : ทีมข่าวมงคลพระ
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ