วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประกวดประติมากรรม เพชรยอดมงกุฎ-มูลนิธิร่มฉัตร

เมื่อเร็วๆ นี้ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มรภ.สส.) 
พระเทพภาวนาวิกรม (เจ้าคุณธงชัย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม 
ในฐานะดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิร่มฉัตร พร้อมด้วย 
รศ.ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 
นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ศิลปินแห่งชาติด้านประติมากรรม, 
รศ.จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
และ นายวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ (อุ๊ กรุงสยาม) ประธานมูลนิธิเทวราชพระโพธิสัตว์ ร่วมเป็นคณะทำงานการจัดการแข่งขันประติมากรรมเพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 1 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา


พระเทพภาวนาวิกรม กล่าวว่า มูลนิธิร่มฉัตรได้มีการจัดแข่งขันเพชรยอดมงกุฎ ทั้งหมด 9 วิชา ถ้ารวมประติมากรรมเพชรยอดมงกุฎอีก 1 วิชาจะเป็น 10 วิชาเพชรยอดมงกุฎ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากมูลนิธิเทวราชพระโพธิสัตว์ กรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่ร่วมงานกันมาตลอดตั้งแต่การแข่งขันภาษาจีนเพชรยอดมงกุฎที่ได้ให้การสนับสนุนการแข่งขันครั้งนี้



รศ.ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช กล่าวว่า งานประติมากรรมหมายถึง รูปภาพที่เป็นรูปร่างปรากฏแก่สายตา สามารถสัมผัสได้โดยตรงด้วยการจับต้อง ซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยวิธีการปั้น หล่อ แกะสลัก เป็นต้น เพื่อตอบสนองความเชื่อ ความพึงพอใจ ความภาคภูมิใจ ร่วมไปกับการดำรงชีวิต ทั้งส่วนบุคคลและในสังคมไทย เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ประสบการณ์ ค่านิยมที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อม และได้แสดงออกมาเป็นงานประติมากรรมอันเป็นสัญลักษณ์ประจำชนชาตินั้นๆ ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ "ผู้ทำงานประติมากรรม" มักถูกเรียกขานว่า "ประติมากร"

สำหรับวัตถุประสงค์ของการแข่งขันประติมากรรมเพชรยอดมงกุฎ เพื่ออนุรักษ์งานช่างประติมากรรมให้คู่กับสังคมไทย เป็นการเปิดเวทีการแข่งขันให้เกิดการพัฒนาฝีมือของศิลปิน สร้างคุณค่าในแง่การตลาดด้านประติมากรรม ให้ประชาชนทั่วไปได้เกิดความตื่นตัวทางด้านศิลปะ และสร้างบุคลากรเพื่อสืบทอดงานด้านประติมากรรม



นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน กล่าวว่า ประเภทของผลงานในการประกวดมี 2 ประเภท คือ 

1.ประติมากรรมพระพุทธรูปปางลีลา แบ่งเป็น 2 ขนาด 
1.1 ขนาดความสูงไม่เกิน 12 นิ้ว 
1.2 ขนาดความสูงไม่เกิน 24 นิ้ว
2.รูปเหมือนหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ขอให้แก้จากความสูงเป็นขนาดหน้าตัก คือ 
2.1 ขนาดหน้าตักไม่เกิน 3 นิ้ว 
2.2 ขนาดหน้าตักไม่เกิน 5 นิ้ว 
2.3 ขนาดหน้าตักไม่เกิน 9 นิ้ว

รศ.จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง แจ้งเรื่องของรางวัลการประกวด ดังนี้ 

รางวัลที่ 1 ได้รับเงินสด 50,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร 
รางวัลที่ 2 ได้รับเงินสด 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร 
รางวัลที่ 3 ได้รับเงินสด 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร รางวัลชมเชยได้รับเกียรติบัตร

นายวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ กล่าวเรื่องกติกาการส่งผลงานเข้าประกวดและเกณฑ์การตัดสิน 
- ใช้วัสดุประเภทขี้ผึ้งหรือปูนปั้นประเภทปูนปลาสเตอร์, 
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวด และได้รับรางวัลเป็นลิขสิทธิ์ของผู้จัดงาน 
- ผลงานทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดคณะกรรมการจะนำจัดพิมพ์รวมเล่มในหนังสือเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ และผลงานที่ส่งเข้าประกวดทุกชิ้นจะเปิดให้ประชาชนเข้าชมอย่างทั่วถึง

ส่วนเกณฑ์การตัดสิน คณะกรรมการร่วมระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิด้านงานประติมากรรมจากสถาบันการศึกษา กรมศิลปากร และ นายชัยนฤทธิ์ เพชรพันธุ์ทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านพระเครื่องพระบูชา ลงมติแต่ละชิ้นงานโดยใช้เสียงส่วนใหญ่เป็นข้อยุติในการให้รางวัลแต่ละประเภท

สำหรับผลการประกวดงานประติมากรรมเพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 1 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 

พระพุทธรูปปางลีลา ขนาดความสูงจากพระเกศถึงพระบาท 24 นิ้ว 
รางวัลที่ 1 ไม่มีผู้ชนะ 
รางวัลที่ 2 นายสมเจตน์ แซ่ล้อ 
รางวัลที่ 3 นายกิตติชัย ตรีรัตน์วิชชา 
รางวัลชมเชย นายสายันห์ แก้วมโนรมย์
พระพุทธรูปปางลีลา ขนาดความสูงจากพระเกศถึงพระบาท 12 นิ้ว 
รางวัลที่ 1 และ 2 ไม่มีผู้ชนะ 
รางวัลที่ 3 นายอาทิตย์ วงศ์ขัน

หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ขนาดความสูง 9 นิ้ว 
รางวัลชมเชย นายอาทิตย์ วงศ์ขัน

หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ขนาดความสูง 5 นิ้ว 
รางวัลชมเชย นายอนุวัตร ไมตรีจิตร

อนึ่งการตัดสินในครั้งนี้คณะกรรมการใช้วิธีการโหวตลงคะแนน 
บางรายการจึงไม่มีผู้ชนะรางวัลที่ 1 เนื่องจากความเห็นของคณะกรรมการระบุว่าศิลปะ และความงดงามของชิ้นงานยังไม่ถึงขั้นได้รับรางวัลที่ 1 ด้วยการตัดสินเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น