"เสงี่ยม แขวงอินทร์" เป็นชื่อและสกุลเดิมของหลวงพ่อเสงี่ยม เกิดวันอาทิตย์ที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๗ ปี ชวด บิดาชื่อพุ่ม มารดาชื่อทอง ที่บ้านเลขที่ ๑ หมู่ ๓ ต.กลอนโด อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ก่อนบวชเป็นตำรวจขบวนการเสรีไทย
บรรพชา-อุปสมบท เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ณ วัดหนองสองห้อง ต.หนองสองห้อง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร โดยมี พระครูธรรมสาพิศ (หลวงพ่อแม้น) วัดใหญ่โพธิหัก เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์แม้น วัดใหญ่โพธิหัก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วได้เรียนตำราอาคมตำรับตำราอักษรเลขยันต์กับหลวงพ่อสาย อยู่ ๒ ปี จากนั้นย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดพระงาม ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม เพื่อศึกษาต่อภาษาบาลี ซึ่งหลวงพ่อเป็นนักเรียนบาลีรุ่นแรกของโรงเรียนสหศึกษาบาลี เป็นโรงเรียนบาลีของคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม หลวงพ่อได้ศึกษาพระบาลีจนสอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค จากนั้นเป็นครูสอนภาษาบาลี ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๙๙-๒๕๒๗ รวม ๒๘ ปี และพ.ศ.๒๕๒๗ ก็ได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้ ซึ่ง หลวงปู่ล้ง เป็นเจ้าอาวาสกิตติมศักดิ์
หลวงพ่อเสงี่ยมได้ศึกษาพระบาลีจนสอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค จากนั้นเป็นครูสอนภาษาบาลีตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๙ -๒๕๒๗ รวม ๒๘ ปี และเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗ ก็ได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้ ซึ่งมีหลวงปู่ล้ง เป็นเจ้าอาวาสกิตติมศักดิ์
เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูรักษาองค์พระปฐมเจดีย์ ในราชทินนามพระครูทักษิณานุกิจ พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นพระธรรมทูตประจำอำเภอเมือง นครปฐม พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นรองเจ้าคณะอำเภอเมืองนคร ปฐม พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.๒๕๒๗ เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้ พ.ศ.๒๕๒๘-ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการโครงการบรรพชาสามเณรหมู่ภาคฤดูร้อน มีเด็กเข้ามาบวชปีละประมาณ ๑๕๐ คน
พ.ศ.๒๕๓๖ เป็นประธานศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัดนครปฐม พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นผู้อำนวยการศูนย์สงเคราะห์พุทธมามกะ วัดห้วยจระเข้ พ.ศ.๒๕๔๐ เป็นพระวินยาธิการประจำอำเภอเมืองนครปฐม พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสานาวันอาทิตย์ พ.ศ.๒๕๔๒ เป็นประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำ ตำบลพระปฐมเจดีย์ พ.ศ.๒๕๔๔ เป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครปฐม แห่งที่ ๒ วัดห้วยจระเข้ พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองนครปฐม พ.ศ.๒๕๔๙ เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองนครปฐม
ทุกวันนี้แม้วัยจะล่วงเลยมาถึง ๙๐ ปี แต่หลวงพ่อเสงี่ยมยังคงดำเนินชีวิตดุจเดิมด้วยความมักน้อย สันโดษ ไม่ยินดียินร้ายในลาภสักการะทั้งหลายทั้งปวง เคร่งครัดในศีลาจารวัตร ทำให้เป็นที่เคารพนับถือของศิษยานุศิษย์ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วไป
หลวงพ่อเสงี่ยม เป็นพระนักปกครอง นักเผยแผ่พระพุทธศาสนา หลังจากจำพรรษาครองวัดห้วยจระเข้ ได้พัฒนาวัดห้วยจระเข้ ทั้งในด้านศาสนวัตถุ กุฏิสงฆ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ถนนพื้นภายในวัดให้เจริญเรียบร้อยดูสวยงามร่มรื่นสะอาดตา ท่านพัฒนาวัดจนวัดห้วยจระเข้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ และเป็นวัดพัฒนาที่มีผลงานดีเด่น เมื่อพ.ศ.๒๕๔๓
ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านเป็นประธานศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัดนครปฐม เป็นนักเทศน์ที่มีฝีปากกล้าสำนวนโวหารเป็นที่ไพเราะจับหูผู้ฟัง ตอนเช้ามืดเวลาประมาณ ๐๕.๐๐ น. ท่านจะบรรยายธรรมตามสายเครื่องกระจายเสียงของวัดทุกวัน ถ้าวันใดท่านไม่ได้พูดธรรมะ โยมที่ฟังประจำจะมาถามว่าท่านป่วยหรือเปล่า ทำไมเมื่อเช้ามืดไม่พูดธรรมะ
นอกจากนี้แล้วหลวงพ่อเสงี่ยมท่านเคร่งครัดกฎระเบียบและพระธรรมวินัยมาก ท่านจะสอนให้พระเณรฟังเสมอเรื่องข้อวัตรปฏิบัติของพระภิกษุ-สามเณร เรื่องกฎระเบียบพระธรรมวินัยแล้ว ยังสอนพระภิกษุ-สามเณรเป็นประจำ ว่ารู้จักหน้าที่ทำตามหน้าที่จะเกิดศักดิ์ศรีทั้งทางโลกและทางธรรม อีกทั้งยังได้สนับสนุนการศึกษาของคณะสงฆ์ทุกระดับ ทำให้วัดห้วยจระเข้มีพระมหาเปรียญธรรม ๙ ประโยค และประโยคอื่นๆ หลายรูป ที่ผ่านมาท่านได้ส่งพระสงฆ์ไปเรียนระดับปริญญาตรี-โท-เอกจำนวนมาก
การปฏิบัติธรรมหลวงพ่อเสงี่ยมจะให้การสนับสนุนมาโดยตลอด นำผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมเองทุกครั้ง แต่ละปีมีนักเรียนและประชาชนทั่วไปเข้าปฏิบัติปีละประมาณ ๑,๕๐๐ คน ถือได้ว่าท่านได้ทำงานของพระศาสนาครบถ้วนสมบูรณ์แบบ แม้ปัจจุบันตัวท่านจะมีพรรษายุกาลมากแล้วก็ตาม ท่านก็ไม่เคยละทิ้งหน้าที่ของความเป็นพระลงทำวัตรสวดมนต์ตอนตีสี่ และเช้า-เย็นทุกวัน เทศน์สอนประชาชนทุกวันพระ
หลวงพ่อเสงี่ยม ได้เรียนตำราต่างๆ ทั้งคาถาอาคมอักษรขอมมาจาก หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง บ้านแพ้ว ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน จากนั้นได้เรียนคาถาอาคมพร้อมทั้งการสร้าง พระปิดตาเนื้อเมฆพัด กับพระครูอุตตรการบดี หรือ หลวงปู่ล้ง เลมิกุล อดีตเจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้ ซึ่งหลวงปู่ล้งก็ได้เรียนการดำน้ำจารอักขระบนองค์พระปิดตาเนื้อเมฆพัดรุ่นแรกของท่านเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ พระรุ่นนี้ก็เป็นที่นิยมของนักสะสมทั่วไป
หลวงพ่อเสงี่ยม กล่าวปรารภว่า "ตำราคาถาของวัดและสำนักต่างๆ ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่สืบทอดมาจากของเดิมที่ครูบาอาจารย์ในอดีตถ่ายทอด แต่เหนือสิ่งอื่นใดจิตต้องนิ่งเป็นสมาธิคาถาจึงมีความเข้มขลัง ไม่ว่าจะเป็นพระหรือฆราวาส ถ้าจิตนิ่งเป็นสมาธิ บริกรรมคาถาบทใดก็เข้มขลัง ที่ขาดไม่ได้คือ ต้องตั้งอยู่ในศีลมั่นอยู่ในธรรม"
ปัจจุบัน พระปิดตา ๒๗ สนนราคาเล่นหากันองค์ละเป็นหมื่น พระปิดตาเนื้อเมฆพัดแต่ละรุ่นที่ท่านได้สร้างตามตำรับของ หลวงปู่นาค อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อดีตเจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้ทุกอย่าง แม้กระทั่งเนื้อพิมพ์ และ การลงอักขระเลขยันต์ หลวงพ่อเสงี่ยมจะพิถีพิถันในการจัดสร้าง ทำให้พระปิดตาของท่านแต่ละรุ่นมีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก
ในโอกาสที่หลวงพ่อมีอายุครบ ๙๐ ปี หลวงพ่อได้จัดสร้าง พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ รุ่นอาริโย ๙๐ จัดสร้างตามแบบพระกริ่งของวัดสุทัศน์ให้แก่ท่านที่สนใจมีไว้บูชา กำหนดเททองหล่อพระกริ่งพระชัยวัฒน์ ใน วันจันทร์ที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๙ น. โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังราช ประธานเททอง ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่าน คณะศิษย์ได้จัดงานทำบุญถวายมุทิตาสักการะให้หลวงพ่อ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์สามเณร จำนวน ๒๐๐ รูป มอบทุนการศึกษาให้เด็กนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในวันดังกล่าวด้วย เพื่อที่หลวงพ่อจะได้นำปัจจัยไปบูรณะซ่อมแซมเมรุเผาศพต่อไป และในวันนั้นหลวงพ่อได้มีเมตตาแจกพระชัยวัฒน์ เนื้อเงินยวง จำนวน ๙๙๙ องค์เท่านั้น ให้ผู้ที่มาร่วมงาน สนใจติดต่อสอบถามที่ โทร.๐๘-๕๐๗๖-๐๙๗๔
ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านเป็นประธานศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัดนครปฐม เป็นนักเทศน์ที่มีฝีปากกล้าสำนวนโวหารเป็นที่ไพเราะจับหูผู้ฟัง ตอนเช้ามืดเวลาประมาณ ๐๕.๐๐ น. ท่านจะบรรยายธรรมตามสายเครื่องกระจายเสียงของวัดทุกวัน ถ้าวันใดท่านไม่ได้พูดธรรมะ โยมที่ฟังประจำจะมาถามว่าท่านป่วยหรือเปล่า ทำไมเมื่อเช้ามืดไม่พูดธรรมะ
นอกจากนี้แล้วหลวงพ่อเสงี่ยมท่านเคร่งครัดกฎระเบียบและพระธรรมวินัยมาก ท่านจะสอนให้พระเณรฟังเสมอเรื่องข้อวัตรปฏิบัติของพระภิกษุ-สามเณร เรื่องกฎระเบียบพระธรรมวินัยแล้ว ยังสอนพระภิกษุ-สามเณรเป็นประจำ ว่ารู้จักหน้าที่ทำตามหน้าที่จะเกิดศักดิ์ศรีทั้งทางโลกและทางธรรม อีกทั้งยังได้สนับสนุนการศึกษาของคณะสงฆ์ทุกระดับ ทำให้วัดห้วยจระเข้มีพระมหาเปรียญธรรม ๙ ประโยค และประโยคอื่นๆ หลายรูป ที่ผ่านมาท่านได้ส่งพระสงฆ์ไปเรียนระดับปริญญาตรี-โท-เอกจำนวนมาก
การปฏิบัติธรรมหลวงพ่อเสงี่ยมจะให้การสนับสนุนมาโดยตลอด นำผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมเองทุกครั้ง แต่ละปีมีนักเรียนและประชาชนทั่วไปเข้าปฏิบัติปีละประมาณ ๑,๕๐๐ คน ถือได้ว่าท่านได้ทำงานของพระศาสนาครบถ้วนสมบูรณ์แบบ แม้ปัจจุบันตัวท่านจะมีพรรษายุกาลมากแล้วก็ตาม ท่านก็ไม่เคยละทิ้งหน้าที่ของความเป็นพระลงทำวัตรสวดมนต์ตอนตีสี่ และเช้า-เย็นทุกวัน เทศน์สอนประชาชนทุกวันพระ
หลวงพ่อเสงี่ยม ได้เรียนตำราต่างๆ ทั้งคาถาอาคมอักษรขอมมาจาก หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง บ้านแพ้ว ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน จากนั้นได้เรียนคาถาอาคมพร้อมทั้งการสร้าง พระปิดตาเนื้อเมฆพัด กับพระครูอุตตรการบดี หรือ หลวงปู่ล้ง เลมิกุล อดีตเจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้ ซึ่งหลวงปู่ล้งก็ได้เรียนการดำน้ำจารอักขระบนองค์พระปิดตาเนื้อเมฆพัดรุ่นแรกของท่านเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ พระรุ่นนี้ก็เป็นที่นิยมของนักสะสมทั่วไป
หลวงพ่อเสงี่ยม กล่าวปรารภว่า "ตำราคาถาของวัดและสำนักต่างๆ ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่สืบทอดมาจากของเดิมที่ครูบาอาจารย์ในอดีตถ่ายทอด แต่เหนือสิ่งอื่นใดจิตต้องนิ่งเป็นสมาธิคาถาจึงมีความเข้มขลัง ไม่ว่าจะเป็นพระหรือฆราวาส ถ้าจิตนิ่งเป็นสมาธิ บริกรรมคาถาบทใดก็เข้มขลัง ที่ขาดไม่ได้คือ ต้องตั้งอยู่ในศีลมั่นอยู่ในธรรม"
ปัจจุบัน พระปิดตา ๒๗ สนนราคาเล่นหากันองค์ละเป็นหมื่น พระปิดตาเนื้อเมฆพัดแต่ละรุ่นที่ท่านได้สร้างตามตำรับของ หลวงปู่นาค อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อดีตเจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้ทุกอย่าง แม้กระทั่งเนื้อพิมพ์ และ การลงอักขระเลขยันต์ หลวงพ่อเสงี่ยมจะพิถีพิถันในการจัดสร้าง ทำให้พระปิดตาของท่านแต่ละรุ่นมีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก
ในโอกาสที่หลวงพ่อมีอายุครบ ๙๐ ปี หลวงพ่อได้จัดสร้าง พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ รุ่นอาริโย ๙๐ จัดสร้างตามแบบพระกริ่งของวัดสุทัศน์ให้แก่ท่านที่สนใจมีไว้บูชา กำหนดเททองหล่อพระกริ่งพระชัยวัฒน์ ใน วันจันทร์ที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๙ น. โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังราช ประธานเททอง ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่าน คณะศิษย์ได้จัดงานทำบุญถวายมุทิตาสักการะให้หลวงพ่อ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์สามเณร จำนวน ๒๐๐ รูป มอบทุนการศึกษาให้เด็กนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในวันดังกล่าวด้วย เพื่อที่หลวงพ่อจะได้นำปัจจัยไปบูรณะซ่อมแซมเมรุเผาศพต่อไป และในวันนั้นหลวงพ่อได้มีเมตตาแจกพระชัยวัฒน์ เนื้อเงินยวง จำนวน ๙๙๙ องค์เท่านั้น ให้ผู้ที่มาร่วมงาน สนใจติดต่อสอบถามที่ โทร.๐๘-๕๐๗๖-๐๙๗๔
*************************
เรื่องโดย : คมชัดลึกออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น