ส่วนชื่อเรียก ปลัดขิก ไม่ปรากฏชัดว่าเหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น ส่วนคำว่า ปลัด หมายถึง ตำแหน่งรองจากตำแหน่งที่เหนือกว่า หรือสันนิษฐานว่าพ้องเสียงมาจากคำว่า ปราศวะ ในภาษาสันสกฤต แปลว่าเคียงข้าง เนื่องจากผู้บูชาปลัดขิกนิยมแขวนไว้ที่เอว หรือหากเป็นเด็กจะแขวนที่คอ
ในประเทศไทยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเริ่มมีการแพร่หลายตั้งแต่สมัยใด แต่ ปลัดขิก ในความเชื่อของคนไทยนั้น มีความแแตกต่างจาก ศิวลึงค์ ของชาวฮินดู เนื่องจากปลัดขิกที่คนไทยนำมาบูชานั้นสร้างขึ้นจากผู้มีวิชาความรู้ด้านไสยศาสตร์และทำการปลุกเสกเพื่อให้เป็นเครื่องรางของขลัง โดยในสมัยโบราณคนไทยนิยมห้อยปลัดขิกไว้กับเอว หรือห้อยคอสำหรับเด็กผู้ชาย ซึ่งการทำเช่นนี้เพราะมีความเชื่อว่า หากมีปลัดขิกติดตัวจะช่วยป้องกันอันตรายต่างๆได้ หรือบางคนนำมาบูชาไว้กับสถานประกอบการค้าขายเพราะเชื่อว่าจะทำให้ค้าขายมีกำไรมีคนอุดหนุนกิจการมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ปลัดขิก ยังถูกมองว่าเป็นงานศิลปะชนิดหนึ่ง เพราะมีการแกะสลักเป็นรูปลิง หรือรูปร่างหญิงเปลือยกาย ซึ่งล้วนแต่มีความเชื่อเจือปนอยู่ด้วยเสมอ เช่น ลิงอาจหมายถึงความคล่องแคล่ว , หญิง อาจหมายถึงเสน่ห์
พระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมแห่งสยามหลายรูป นิยมสร้างเครื่องรางชนิดนี้กันอย่างแพร่หลาย บ้างก็ลงอักขระเลขยันต์ เช่น อะ อุ มะ หรือ โอม อันเป็นการสรรเสริญ พระพรหม พระวิษณุ และ พระศิวะ ในศาสนาฮินดู บ้างก็จารจารึกอักขระศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ โดยพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงทางด้านการสร้างปลัดขิกก็คือ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี และ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก เป็นต้น
*************************
เรื่องโดย : ทีมข่าวมงคลพระ
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น