สัญลักษณ์รูป “สิงห์” หรือ “ราชสีห์” ถูกนำมาใช้เป็นตราประจำตำแหน่งสมุหนายก ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๕) ทรงพระราชทานให้เป็นตราประจำกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ปวงประชาราษฎร์”
หรือแม้แต่ ชาวต่างชาติต่างภาษาก็ยังยกย่อง “สิงห์” ว่า “เป็นที่สุดแห่งสัตว์มงคลทั้งปวง” และนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์สำคัญประจำชาติ เช่น อังกฤษ สิงคโปร์ และอินเดีย
ตั้งแต่โบราณกาลนั้น “สิงห์” หรือ “ราชสีห์” เป็นดั่งราชาแห่งสัตว์ทั้งปวง ด้วยลักษณะแห่งความเข้มแข็ง ทรงพลัง และสง่างามของสิงห์ พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงพุทธาคมจึงนิยมที่จะนำรูปลักษณ์ดังกล่าวมาจัดสร้างเป็นเครื่องรางวัตถุมงคล เช่น
- หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
- หลวงพ่อจ้อย วัดบางช้างเหนือ
- หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม นครปฐม ฯลฯ
โดยพุทธคุณแห่งการบูชาเครื่องรางวัตถุมงคลรูปสิงห์นั้น มีความเชื่อกันว่าจะทำให้ผู้ที่บูชานั้น
และแม้แต่ความเชื่อของพราหมณ์ หรือโหราศาสตร์นั้นก็เชื่อว่า พระอาทิตย์ เอกะเทพเจ้า ผู้บันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ สว่างไสว มั่งคั่ง เพียบพร้อมด้วยมหาอำนาจบารมี ก็กำเนิดเกิดจากราชสีห์เช่นกัน
"มั่งมีในทรัพย์สิน และหมดสิ้นศัตรู
อุปสรรคอันใดที่มีอยู่ จะสลายหายสิ้นไปโดยพลัน"
ผู้ที่ต้องเดินทางเข้าป่า มักจะนิยมพกพาเครื่องรางวัตถุมงคลรูปสิงห์ไว้เสมอ เพราะเชื่อว่า สัตว์ร้ายต่างๆ ในป่าจะยำเกรง ไม่กล้าทำอันตรายต่อผู้ที่บูชา เพราะ "สิงห์" คือ เจ้าแห่งป่า สัตว์น้อยหรือใหญ่ทั่วไพรพนา มิอาจหาญกล้าเข้ามากล้ำกราย
ผู้ที่ต้องเดินทางเข้าป่า มักจะนิยมพกพาเครื่องรางวัตถุมงคลรูปสิงห์ไว้เสมอ เพราะเชื่อว่า สัตว์ร้ายต่างๆ ในป่าจะยำเกรง ไม่กล้าทำอันตรายต่อผู้ที่บูชา เพราะ "สิงห์" คือ เจ้าแห่งป่า สัตว์น้อยหรือใหญ่ทั่วไพรพนา มิอาจหาญกล้าเข้ามากล้ำกราย
และแม้แต่ความเชื่อของพราหมณ์ หรือโหราศาสตร์นั้นก็เชื่อว่า พระอาทิตย์ เอกะเทพเจ้า ผู้บันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ สว่างไสว มั่งคั่ง เพียบพร้อมด้วยมหาอำนาจบารมี ก็กำเนิดเกิดจากราชสีห์เช่นกัน
*************************
เรียบเรียงโดย : ทีมงานมงคลพระ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น