วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

หลวงลุงผูก พระเกจิผู้เปรื่องวิชา เปี่ยมด้วยเมตตาแต่คมในฝัก


พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ หรือ หลวงพ่อผูก หรือที่ชาวนครปฐมนิยมเรียกท่านว่า หลวงลุงผูก ท่านเป็นสุดยอดพระนักปฏิบัติที่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ท่านเกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2462 ตลอดชีวิตของท่านสร้างแต่คุณงามความดี ไม่เคยสร้างความเดือนร้อนให้แก่สังคม ในสมัยหนุ่มท่านได้สร้างคุณประโยชน์แก่ทางราชการไว้เป็นอย่างมาก โดยรับราชการเป็นทหารผ่านศึกในสมัยสงครามอินโดจีน และเมื่อบวชท่านก็ได้สร้างสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ไว้เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนา เช่น ก่อสร้างพระอุโบสถ 3 แห่ง ได้แก่ วัดน้อยเจริญสุข อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม , วัดสุขวราราม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม , วัดคีรีวงศ์ อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี สำหรับ วัดพระปฐมเจดีย์ ท่านได้ก่อสร้างเมรุวัดพระปฐมเจดีย์ สร้างศาลาบำเพ็ญกุศล และสร้างกุฏิเสนาสนะสงฆ์

หลังจากที่หลวงลุงพ้นจากราชการทหาร ด้วยจิตใจที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ท่านจึงได้อุปสมบทที่ วัดพระปฐมเจดีย์ เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2489 โดยตั้งใจอย่างแนวแน่ว่าจะขอตายในผ้าเหลือง หลวงลุงผูกท่านเป็นพระที่เปี่ยมด้วยเมตตา ท่านจึงเป็นที่นับถือ รักใคร่ ต่อผู้พบเห็นไม่ว่าท่านนั้นจะสูงวัยกว่าหรืออ่อนวัยกว่าก็ตาม ด้วยบุคลิกที่ท่านเป็นคนอารมดี ใจเย็น จึงเป็นที่รักใคร่ของครูบาอาจารย์ ท่านเป็นศิษย์เอกของ หลวงพ่อบุญธรรม ซึ่งเป็นพระอนุสาวนาจารย์ของท่าน หลวงพ่อบุญธรรมให้ความรักและเมตตาหลวงลุงผูกเป็นอันมาก ดังนั้นวิชาอาคมต่างๆ ของหลวงพ่อบุญธรรมที่สืบทอดมาจาก หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จึงได้ถ่ายทอดให้หลวงลุงผูก จนหมดสิ้น ไม่ว่าการเขียนผง การลงอักขระยันต์สำคัญต่างๆ เช่น ยันต์เกราะเพชร นอกจากนี้หลวงลุงผูกยังได้ไปศึกษาเพิ่มเติมกับ พลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา และ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม อีกด้วย
หลวงลุงผูก ท่านเป็นพระที่คมในฝัก นอบน้อมถ่อมตน ไม่โอ้อวดว่าท่านมีอะไรดี ท่านจะไม่แสดงออก แต่เพรชก็ย่อมเป็นเพชรอยู่วันยังค่ำ ดังนั้นในบรรดาศิษย์ของท่านย่อมทราบดีว่าพระเครื่องของท่านมักแสดงปาฏิหารย์ให้ปรากฎเสมอ โดยเฉพาะชาวตลาดบนและตลาดล่างให้ความเคารพนับถือหลวงลุงผูกและเชื่อมั่นในพระเครื่องของท่านว่าดีทางเมตตามหานิยม โชคลาภและดีทางค้าขาย พระเครื่องของหลวงลุงผูกท่านสร้างแต่ละรุ่นเป็นจำนวนน้อย (หลักร้อยไม่เกินหลักพัน) ดังนั้นพระเครื่องของท่านจึงอยู่ในมือศิษย์ของท่านเท่านั้น ไม่มีโอกาสจะตกมาอยู่ในมือของบุคคลภายนอก อย่างเช่น เหรียญรุ่นแรกปี พ.ศ.๒๕๑๒สร้างจำนวน ๒๕๑๒ เหรียญ เหรียญส่วนใหญ่จะตกอยู่ในมือศิษย์ของท่านเพียงไม่กี่คนเท่านั้น (บางคนบูชาเป็นร้อยเหรียญหรือหลายร้อยเหรียญ) 

หลวงลุงผูกท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่แก่กล้าวิชาอาคมรูปหนึ่ง แม้แต่ หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม ก็ยอมรับนับถือว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่แก่กล้าวิชาอาคม หลวงพ่อแช่มจะกำชับลูกศิษย์ของท่านว่าในพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องพระบูชาของวัดดอนยายหอม ต้องนิมนต์หลวงลุงผูกร่วมปลุกเสกทุกครั้ง นอกจากหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอมจะให้ความนับถือหลวงลุงผูกแล้ว หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ก็ยังให้ความนับถือหลวงลุงผูกเช่นกัน จะเห็นได้จากพิธีพุทธาภิเษกวัดบางพระจะต้องนิมนต์หลวงลุงผูกร่วมพิธีเสมอ 


ในสมัยที่หลวงลุงผูกมีชีวิตอยู่ท่านได้สร้างพระเครื่องพระบูชาหลายรุ่น พระเครื่องของท่านนอกจากท่านจะปลุกเสกเดี่ยวแล้ว ท่านยังได้นำพระเครื่องของท่านไปให้ หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม และ หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา ปลุกเสกเป็นการส่วนตัวอีกด้วย นอกจากนี้ท่านยังได้นำพระเครื่องของท่านเข้าพิธีพุทธาภิเษกสำคัญๆ ของวัดพระปฐมเจดีย์และวัดอื่นๆ ที่ท่านได้รับนิมนต์ให้ไปร่วมปลุกด้วย ซึ่งในพิธีดังกล่าวจะนิมนต์พระเกจิอาจารย์ดังๆ มาร่วมปลุกเสกเสมอ

หลวงลุงผูก ท่านเป็นพระที่มีใจเด็ดเดี่ยวตั้งใจจริง ทำอะไรก็ทำจริงจัง การสร้างพระเครื่องของท่านจะสร้างด้วยความตั้งใจ ท่านมักจะกล่าวกับศิษย์ใกล้ชิดเสมอว่า การสร้างพระต้องทำให้ขลัง ดีข้างนอกดีข้างใน จะได้เป็นศิริมงคลแก่ตัวเองเมื่อบูชาติดตัว พระเครื่องของท่านจึงปลุกเสกนานไม่น้อยกว่า ๒ พรรษา และนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกหลายครั้ง จนมั่นใจในพุทธานุภาพแล้ว จึงนำไปแจกจ่ายให้แก่ศิษย์เพื่อความเป็นศิริมงคล



*************************


เรื่องโดย : ทีมข่าวมงคลพระ
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น