ผลแห่งงานอันโดดเด่น พระพรหมสุธี พลีขานรับ ขับเคลื่อนสนองรับผิดชอบในตำแหน่งเลขานุการ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศ และอดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช จวบจนวาระสุดท้ายแห่งการละสังขาร ท่านได้ทำหน้าที่สำคัญ จัดงานสวดพระอภิธรรมอย่างสมเกียรติหลวงพ่อสมเด็จฯ ตลอดระยะเวลา ๑๐๐๐ วัน โดยไม่ขาดตกบกพร่อง พรั่งพร้อมเจ้าภาพและศิษยานุศิษย์แห่แหนแน่นขนัดทุกคืน ยืนยันถึงบุญญาบารมีทั้งที่มีต่อหลวงพ่อสมเด็จฯ
ระหว่างที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ยังมีชีวิตอยู่นั้น พระพรหมสุธี คือ หนึ่งกำลังสำคัญที่ให้การสนับสนุนผลักดันการงานและกิจกรรมต่างๆ ในทางพระพุทธศาสนาให้ก้าวหน้าถาวรสำเร็จเป็นรูปธรรมจำนวนมากมายหลากหลายผลงานเป็นที่ประจักษ์ชัด โดยได้ใช้ประสบการณ์ทำหน้าที่ต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบในฐานะเลขานุการสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ถือเป็นภาระอันใหญ่หลวงที่ต้องละเอียดถี่ถ้วน แม่นยำในทุกภาคส่วน บกพร่องไม่ได้เลยแม้เพียงเล็กน้อย
คณะกองงานที่นำโดยพระพรหมสุธี ได้ปฏิบัติงานแบ่งเบาภาระอันสำคัญต่างๆ มาโดยตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนี้ ทุกงานที่ได้รับมอบหมาย เป็นที่วางใจท่านเจ้าประคุณหลวงพ่อสมเด็จฯ เป็นกำลังสำคัญอันดับหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ รวมถึงตำแหน่งภายในวัด ฐานะผู้ช่วยเจ้าอาวาส เป็นหูเป็นตาพัฒนาถาวรวัตถุและพระลูกวัดให้อยู่ในพระธรรมวินัยที่เคร่งครัด จัดการทุกเรื่องที่เป็นปมปัญหาให้คลายกลายเป็นสุขได้ในทุกเรื่อง
รวมถึงภาระหน้าที่นอกวัด ในฐานะพระนักปกครอง หลักสำคัญที่พระพรหมสุธีทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างเต็มที่เสมอมานั่น คือการดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะภาค ๑๒ ที่ต้องดูแลพระสงฆ์ในปกครองทั้ง ๔ จังหวัดด้วยกันคือ ปราจีนบุรี, นครนายก, ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว นอกจากนี้ยังได้รับความไว้วางใจจาก สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มอบให้รับตำแหน่ง ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
พระพรหมสุธี เน้นเรื่องความกตัญญูกตเวทีเป็นสำคัญ โดยเฉพาะความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ เฉกเช่น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ผู้เปรียบเสมือนพ่อผู้ให้ความเมตตากรุณาปราณีทั้งชีวิต รวมถึงวิถีปฏิบัติในทุกปีที่พระพรหมสุธี ท่านจะกลับบ้านเกิดไปที่วัดสามเรือน เพื่อทำบุญครบรอบวันมรณภาพของ พระอาจารย์ชุบ พระผู้มีคุณทำให้มีวันนี้
“เสนาะ ฝังมุข” เป็นชื่อและสกุลเดิมของเจ้าคุณเสนาะ เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๐ พื้นเพเป็นคน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากทางบ้านยากจน หลังเรียนจบชั้น ป.๔ จากโรงเรียนวัดสามเรือน โยมพ่อจึงได้นำไปฝากกับ พระอาจารย์ชุบ เจ้าอาวาสวัดสามเรือน เพื่อจะได้บวชเรียน จากนั้นได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านสร้าง อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อ ๑๐ มีนาคม ๒๕๑๒
สามเณรเสนาะได้คอยปรนนิบัติรับใช้อาจารย์ชุบและเรียนหนังสือ ศึกษาพระธรรมวินัยควบคู่กันไปด้วยดีโดยตลอด และได้เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๑๒ ณ วัดสระเกศ โดยมี สมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมคุณาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ปญฺญาวชิโร” มีความหมายว่า ผู้มีปัญญาอันเฉียบแหลม
รวมถึงภาระหน้าที่นอกวัด ในฐานะพระนักปกครอง หลักสำคัญที่พระพรหมสุธีทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างเต็มที่เสมอมานั่น คือการดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะภาค ๑๒ ที่ต้องดูแลพระสงฆ์ในปกครองทั้ง ๔ จังหวัดด้วยกันคือ ปราจีนบุรี, นครนายก, ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว นอกจากนี้ยังได้รับความไว้วางใจจาก สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มอบให้รับตำแหน่ง ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
พระพรหมสุธี เน้นเรื่องความกตัญญูกตเวทีเป็นสำคัญ โดยเฉพาะความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ เฉกเช่น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ผู้เปรียบเสมือนพ่อผู้ให้ความเมตตากรุณาปราณีทั้งชีวิต รวมถึงวิถีปฏิบัติในทุกปีที่พระพรหมสุธี ท่านจะกลับบ้านเกิดไปที่วัดสามเรือน เพื่อทำบุญครบรอบวันมรณภาพของ พระอาจารย์ชุบ พระผู้มีคุณทำให้มีวันนี้
“เสนาะ ฝังมุข” เป็นชื่อและสกุลเดิมของเจ้าคุณเสนาะ เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๐ พื้นเพเป็นคน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากทางบ้านยากจน หลังเรียนจบชั้น ป.๔ จากโรงเรียนวัดสามเรือน โยมพ่อจึงได้นำไปฝากกับ พระอาจารย์ชุบ เจ้าอาวาสวัดสามเรือน เพื่อจะได้บวชเรียน จากนั้นได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านสร้าง อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อ ๑๐ มีนาคม ๒๕๑๒
สามเณรเสนาะได้คอยปรนนิบัติรับใช้อาจารย์ชุบและเรียนหนังสือ ศึกษาพระธรรมวินัยควบคู่กันไปด้วยดีโดยตลอด และได้เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๑๒ ณ วัดสระเกศ โดยมี สมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมคุณาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ปญฺญาวชิโร” มีความหมายว่า ผู้มีปัญญาอันเฉียบแหลม
หลังจากอุปสมบทก็ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ดูแลงานปกครองดูแลด้านการเงิน ในขณะเดียวกันยังเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดสระเกศ เป็นกรรมการตรวจนักธรรมสนามหลวง และกรรมการตรวจบาลีสนามหลวง
ในด้านการศึกษานั้น พ.ศ.๒๕๒๕ สอบได้พุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งในปีเดียวกันนี้ได้รับมอบหมายให้เป็นแม่งานควบคุมการบูรณปฏิสังขรณ์บรมบรรพต (ภูเขาทอง) ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐๒ ปี จากนั้น พ.ศ.๒๕๒๗ ได้เดินทางไปประเทศอินเดีย เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโท คณะสังคมวิทยา
ส่วนลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นพระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ ฐานานุกรมในพระพรหมคุณาภรณ์ (สมเด็จพระพุฒจารย์ ในปัจจุบัน) หลังจากนั้นก็ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระปัญญาวชิราภรณ์” พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นพระราชา คณะชั้นราชที่พระราชสิทธิมงคล
พ.ศ.๒๕๔๐ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ "พระเทพโสภณ" พ.ศ.๒๕๔๓ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ "พระธรรมสิทธิเวที" และเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นรองสมเด็จในราชทินนาม พระพรหมสุธี
ในด้านการศึกษานั้น พ.ศ.๒๕๒๕ สอบได้พุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งในปีเดียวกันนี้ได้รับมอบหมายให้เป็นแม่งานควบคุมการบูรณปฏิสังขรณ์บรมบรรพต (ภูเขาทอง) ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐๒ ปี จากนั้น พ.ศ.๒๕๒๗ ได้เดินทางไปประเทศอินเดีย เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโท คณะสังคมวิทยา
ส่วนลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นพระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ ฐานานุกรมในพระพรหมคุณาภรณ์ (สมเด็จพระพุฒจารย์ ในปัจจุบัน) หลังจากนั้นก็ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระปัญญาวชิราภรณ์” พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นพระราชา คณะชั้นราชที่พระราชสิทธิมงคล
พ.ศ.๒๕๔๐ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ "พระเทพโสภณ" พ.ศ.๒๕๔๓ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ "พระธรรมสิทธิเวที" และเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นรองสมเด็จในราชทินนาม พระพรหมสุธี
*************************
เรื่องโดย : คมชัดลึกออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น