พระพรหมโมลี บรรยายพิเศษ เรื่อง ความสำคัญของพระอุปัชฌาย์
วาทะเด็ดเตือนใจให้คิด “ไม่สุกเอาเผากิน”
“ไม่มักได้และไม่มักง่าย”
ล่าสุด.... ในโอกาสอบรมพระอุปัชฌาย์
ณ วัดสามพระยา
พระเดชพระคุณ
พระพรหมโมลี เจ้าคณะภาค 5 วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กทม. ท่านได้เมตตา
เดินทางมาบรรยายพิเศษอบรมพระอุปัชฌาย์ ณ วัดสามพระยา ในฐานะพระมหาเถระนักปกครอง ที่ผ่านประสบการณ์มาแล้ว อย่างโชกโชน จุดนี้ย่อมเกิดประโยชน์อย่างมหาศาล
ต่อพระอุปัชฌาย์ที่เข้าอบรมในครั้งนี้ โดยใจความทั้งหมดมีดังนี้....
......ขอถวายความเคารพผู้เข้ารับการฝึกซ้อมอบรม
หรือสอบความรู้พระอุปัชฌาย์ทุกรูป
ชั่วโมงนี้เป็นการบรรยายพิเศษก่อนที่จะเข้าเวลาอบรมภาคปกติ เพื่อเตรียมกาย เตรียมใจ เตรียมความรู้ในส่วนที่ได้รับมอบหมายและแต่งตั้งนี้อย่างสมบูรณ์
เมื่อว่าโดยภาระหน้าที่แล้ว พระอุปัชฌาย์นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ในความสำคัญที่กล่าวถึงนี้ ท่านทั้งหลายต้องพิจารณาถึงตนเองก่อนว่าความสำคัญที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากตัวท่านเอง หรือเกิดจากการที่บุคคลอื่นมองเห็นความสำคัญในตัวของท่านแล้ว จึงมอบหมายภาระธุระอันสำคัญนี้ให้ท่านทั้งหลายรับผิดชอบ
ตามธรรมดาว่าความสำคัญของบุคคลนั้นมีอยู่ บางครั้งทราบบ้างไม่ทราบบ้าง ในความเป็นสำคัญที่มีอยู่นั้น บุคคลอื่นเขาสามารถที่จะมองเห็นความสำคัญของเรามากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในตำแหน่งของการคณะสงฆ์ ท่านทั้งหลายพิจารณาก็จะเห็นได้ว่า ผู้ที่ได้รับการพิจารณาแต่งตั้งในตำแหน่งนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งเจ้าอาวาสก็ดี เจ้าคณะต่างๆ ก็ดี ทุกรูปในเบื้องต้นไม่มีความประสงค์จะเป็นในตำแหน่งต่างๆ แต่พระเถระผู้บังคับบัญชาเหนือตน ได้พิจารณาเห็นแล้วเห็นว่าเป็นผู้มีความรู้ มีความสามารถ ในการที่จะยกย่องเชิดชู รับภารธุระการพระศาสนาในส่วนต่าง ๆ
ได้ ดังนั้น
จึงได้มอบหมายภารธุระการพระศาสนาให้ท่านทั้งหลายให้ดำเนินและรับผิดชอบ
การที่ท่านทั้งหลายมาพร้อมกัน ณ สถานที่แห่งนี้ นับว่ามีความสำคัญอยู่ในตัว ความสำคัญในส่วนนี้ผู้อื่นก็มองเห็น โดยเฉพาะผู้บังคับบัญชา
ในตำแหน่งหน้าที่ของท่านทั้งหลาย ต้องถือว่าเป็นหน้าที่อันยิ่งใหญ่ ลองคิดดูเราท่านทั้งหลายก็ปกติธรรมดา ต่อแต่นี้ไปจะต้องรับภาระ รับหน้าที่เสกคนปกติธรรมดาให้เป็นพระ หน้าที่เสกคนให้เป็นพระ และทุกรูปที่ได้รับภารธุระในส่วนนี้ ก็ได้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งถือว่าไม่ปกติธรรมดา หน้าที่เสกคนธรรมดาให้เป็นพระ แสดงว่าผู้เสกนั้นต้องศักดิ์สิทธิ์ ผู้รับรองก็ศักดิ์สิทธิ์ หากผู้เสกไม่ศักดิ์สิทธิ์ คงไม่มีใครเขายอมรับ เมื่อท่านทั้งหลายทำหน้าที่เสกแล้ว ไม่ว่าจะเสกวันนี้ วันพรุ่งนี้ หรือเสกมาแล้ว ก็มีความขลัง เหมือนกับพระเถรานุเถระ ครู อาจารย์ ได้เสกมาแล้ว เราเพิ่งจะขลัง หรือขลังมาก่อนแล้วก็ตาม ต่อแต่นี้ไปนั้น ได้ชื่อว่าเป็นผู้เสกคนธรรมดาให้เป็นพระได้ และความขลังนั้นก็มีความศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับพระมหาเถระ
ท่านได้ทำหน้าที่ตรงนี้มาแล้ว
ฉะนั้น
เมื่อได้รับหน้าที่เสกคนให้เป็นพระอย่างนี้ ต้องทำให้ขลังเหมือนกับโบราณกมหาเถระได้ทำมาแล้ว ความเป็นไปในขณะนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงวางรูปแบบ ลักษณะเอาไว้ น่าเคารพ น่านับถือ น่าเลื่อมใส จะเสกก่อนหรือเสกหลัง หลวงพ่อ หลวงปู่ ได้เสกมาก่อนหน้านี้แล้ว ก็ถือว่าเป็นพระโดยสมบูรณ์แบบ อย่างพวกเรา พอพ้นจากภารธุระตรงนี้ไปแล้ว โดยไม่มีความบกพร่องใดๆ เกิดขึ้น ก็ต้องรับภารธุระเสกเช่นเดียวกันกับหลวงพ่อ หลวงปู่ฯ พระที่เราเสกแล้วก็มีสิทธิในการเข้าร่วมสังฆกรรมเหมือนกับพระที่พระมหาเถระเหล่านั้นเสก ท่านทั้งหลายเมื่อได้รับการแต่งตั้ง รับตราตั้งแล้ว สังฆกรรมทั้งหลายที่มีอยู่ พระที่เราเสกแล้ว ก็เข้าร่วมสังฆกรรมนั้นได้ ต้องถือว่าเป็นความอัศจรรย์อย่างหนึ่งของการคณะสงฆ์เหมือนกัน
พอเสกแล้วผู้ที่เป็นสัทธิวิหาริกของท่านทั้งหลาย ก็คงเป็นสัทธิวิหาริกตลอดไปจนสิ้นชีวิต นอกเสียจากจะลาสิกออกไป ไม่มีการถอดถอนกันในระหว่าง มีข้อสงสัยว่าผู้ที่เราเสกให้เป็นพระแล้ว จะขอเปลี่ยนพระอุปัชฌาย์ใหม่ได้หรือไม่ ? ไม่ได้ คงเป็นพระอุปัชฌาย์รูปเดิม เพียงแต่ผู้เซ็นชื่อ ผู้ลงนามนั้น อาจจะเปลี่ยนแปลงบ้าง (กรณีพระอุปัชฌาย์มรณภาพแล้ว) แสดงว่าความเป็นพระอุปัชฌาย์คงอยู่ตลอดไป แม้จะมรณภาพไปแล้วก็ตาม มีความศักดิ์สิทธิ์ มีความขลังในการเสกของท่านทั้งหลาย
คำว่า “พระอุปัชฌาย์”
“พระอุปัชฌาย์”
หมายความว่า พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้ง
ให้มีหน้าที่เป็นประธานและรับผิดชอบในการให้บรรพชาอุปสมบท มีความหมายสำคัญอย่างยิ่งในส่วนตรงนี้ ต้องรับผิดชอบในการบรรพชาอุปสมบท ไม่มีใครใหญ่ไปกว่าพระอุปัชฌาย์ ในการบรรพชาอุปสมบท เมื่อมีอำนาจสมบูรณ์เช่นนี้ ก็ต้องทำให้สมบูรณ์แบบ ต้องรับผิดด้วย รับชอบด้วย
ไม่ใช่เป็นพระอุปัชฌาย์
ใครต้องการจะอะไรก็ทำได้ ไม่ได้ เป็นหน้าที่โดยตรง
ในการกล่าวคำบรรพชาอุปสมบทนั้น มีสิ่งหนึ่งที่จะเรียนถวายท่านทั้งหลาย คือ “นิสัย”
และ “
นิสัยมุตตกะ”
ซึ่งมาพร้อม ๆ กัน
อหํ
ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ
ทุติยมฺปิ
อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ
ตติยมฺปิ
อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ
ไม่ได้ขอแค่เพียงครั้งเดียว เกรงว่าจะไม่ได้ยิน ครั้งที่
1 ว่าไปแล้ว หลวงพ่อได้ยินหรือไม่
?
ครั้งที่
2 ได้ยินมั๊ย
ยังไม่แน่ใจ ? ครั้งที่
3 ตติยมฺปิ อหํ
ภนฺเต นิสฺสยํ
ยาจามิ ขออาศัย ตรงนี้มีความสำคัญ ไม่ใช่ว่ากล่าวแล้วกล่าวเลย อุปชฺฌาโย เม ภนฺเต
โหหิ,
อุปชฺฌาโย เม
ภนฺเต โหหิ,
อุปชฺฌาโย เม
ภนฺเต โหหิ,
บอกชัดเจนว่า ขอท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ จะรับหรือไม่รับ ถ้าไม่รับก็นั่งเฉย ๆ แต่นี่รับ ปฏิรูปํ โอปายิกํ ปาสาทิเกน สมฺปาเทหิ,
ปฏิรูป แปลว่า สมควร ปฏิรูป
ที่ใช้ศัพท์ว่าปฏิรูป แปลเป็นภาษาไทยว่า ปฏิรูปํ สมควร,
ได้ หรือจะบอกว่าได้เหมือนกัน แต่เธอต้องปฏิรูปตัวเองนะ เธอมาขออยู่อาศัยกับฉัน มาขออาศัยฉัน และขอให้ฉันเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ ปฏิรูปํ เหมาะสม
ใช้ได้ หรือมีความหมายว่า ต้องปฏิรูปตัวเองนะ โอปายิกํ ชอบด้วยอุบาย การบวชถือว่าเป็นอุบายวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งที่เธอจะบวช การบวชถือว่าเป็นอุบายวิธีอย่างหนึ่ง ในการที่เธอจะมาขออยู่อาศัยฉัน หรือการที่ฉันจะอาศัยเธอ แต่ตรงนี้เธอมาขออาศัยฉัน โอปายิกํ สิ่งที่ทำนี้ชอบด้วยอุบาย ชอบด้วยวิธีการ
คำต่อมา
ปาสาทิเกน สมฺปาเทหิ เธอจงยังกิริยาให้ถึงพร้อม ด้วยอาการอันน่าเลื่อมใส ในเบื้องต้นนั้นบอกไว้เลยว่าการบวชนี้ต้องรักษาศรัทธาปสาทะของประชาชนได้
เราท่านทั้งหลายอยู่กันได้เพราะอะไร ? เพราะศรัทธาปสาทะของประชาชน หากประชาชน ไม่เคารพ ไม่เลื่อมใส ทุกอย่างไม่มีอะไรเหลือ
จะว่าหนักแน่นก็หนักแน่น จะว่าอ่อนไหว ก็อ่อนไหว
เฉพาะฉะนั้น ในการบวชจึงมีคำนี้ ปาสาทิเกน สมฺปาเทหิ จงกิริยาให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่าเลื่อมใส ทุกสิ่งทุกอย่าง หากมีความเลื่อม ก็ได้ทุกอย่าง ถ้าไม่มีความเลื่อมใส ข้าวทัพพีหนึ่งก็ไม่ให้
และ
2500 กว่าปีมาแล้วที่พระศาสนาอยู่ได้ เพราะพระเถรานุเถระทั้งปฏิบัติเองด้วย ทั้งอบรมสั่งสอนด้วย ให้ ปาสาทิเกน สมฺปาเทหิ พระพุทธองค์ ไม่ได้ฝากพระสงฆ์ไว้กับพระราชามหากษัตริย์ ไม่ได้ฝากไว้กับอำมาตย์ ข้าราชบริพาร ไม่ได้ฝากไว้กับผู้มีอำนาจอื่นใดที่เคารพเลื่อมใสในพระองค์ แต่ฝากไว้กับประชาชน
มีความเป็นอยู่วันต่อวัน ฝากพระไว้กับประชาชน เมื่อฝากพระไว้กับพระชาชน พระต้องทำตัวให้ประชาชนเลื่อมใส ถ้าประชาชนเขาไม่เลื่อมใส ไม่ใช่บาตรให้ฉัน จะอยู่ได้อย่างไร เฉพาะฉะนั้น คำว่า ปาสาทิเกน สมฺปาเทหิ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะมีความสำคัญดังกล่าวมาแล้ว พระอุปัชฌาย์จึงต้องถามในเบื้องต้นก่อนว่า มีความมั่นใจที่จะประคองศรัทธาปสาทะของประชาชนได้ ในส่วนตรงนี้จึงมาคู่กับคำว่า นิสัย นิสัยมีกำหนดกี่ปี อย่างการเป็นเจ้าอาวาส อย่างน้อยต้อง 5 พรรษาขึ้นไปจึงพ้นนิสัย เรียกว่า นิสัยมุตตกะ และการถือนิสัย ถ้าอยู่กับพระอุปัชฌาย์ พรรษายังไม่พ้น 5 ถ้าไปอยู่ที่อื่น
ไม่ใช่สำนักของพระอุปัชฌาย์ ต้องถือนิสัย
ความจำเป็นในการถือนิสัย การถือนิสัยเปรียบเหมือนมารดากับบุตร คือเมื่อบวชเข้ามาแล้ว ยังไม่รู้อะไรเลย เมื่อไม่มีความรู้อะไรเลย เป็นหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ต้องอบรมสั่งสอน แนะนำ ฝึกหัด ปฏิบัติทุกสิ่งทุกประการ แก่สัทธิวิหาริก
การพระศาสนาที่มีความมั่นดำรงมาจนถึงปัจจุบันนี้ได้ ก็เพราะพระอุปัชฌาย์ได้ทำหน้าที่อันสำคัญ โดยให้ศิษย์ถือนิสัย ปัจจุบันนี้ พระสงฆ์เราขาดการฝึกหัด ไม่ได้กล่าวเกินเลย หน่วยงานต่างๆ ส่วนงานต่างๆ เขามีการฝึกอบรมเข้ม ในส่วนของพระสงฆ์ พระอุปัชฌาย์ได้ฝึกหัด อบรมสั่งสอนกันมากน้อยเพียงใด ให้การบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรไปแล้ว ได้อบรม สั่งสอน ฝึกหัด กิริยามารยาทมากน้อยเพียงใด สิ่งเหล่านี้ทรงไว้ในคำว่า “นิสัย”
เพื่อให้ฝึกหัด ฉะนั้น จึงให้อยู่ถือนิสัยอย่างน้อย 5 ปี
หากขาดการถือนิสัยแล้ว
ใครจะนำปฏิบัติ ใครจะฝึกหัด ใครจะอบรมแนะนำสั่งสอน ได้ดีเท่ากับพระอุปัชฌาย์ ตรงนี้ระเบียบปฏิบัติได้วางไว้อย่างถูกต้องเหมาะสม
อชฺชตคฺเคทานิ เถโร
มยฺหํ ภาโร,
อหมฺปิ เถรสฺส
ภาโร (ว่า 3 ครั้ง)
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผมเป็นภาระของท่าน,
ท่านเป็นภาระของผม หมายความว่า ต่างคนต่างเป็นภาระซึ่งกันและกัน คือ ดูแล ปกครอง เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน
ท่านทั้งหลาย
เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ไปแล้ว ขอให้ทำในส่วนนี้ให้สมบูรณ์ พ่อแม่ เขามีความประสงค์ที่จะบวชลูกของเขาให้เป็นพระ เฉพาะฉะนั้น พระอุปัชฌาย์ก็ต้องความปรารถนาของเขาให้สำเร็จ ให้เขาได้ชื่นชมอนุโมทนา เพราะมองเห็นว่าลูกของเขาเกิดเป็นชาย อายุครบ 20 ปี ไม่พิกลพิการอย่างหนึ่งอย่างใด มีโอกาสได้บวชในพระศาสนา ใช้ศัพท์ว่า “บวชแทนคุณ” ถือว่าเป็นบุญกุศลอันสูงส่งสำหรับพ่อแม่ ได้มีโอกาสบวชลูกชาย ได้เป็นญาติในพระศาสนา ต้องเสกลูกของเขาให้เป็นพระโดยสมบูรณ์แบบ ขอใช้ศัพท์ว่า “ไม่สุกเอาเผากิน”
ปัจจุบันใช้ศัพท์ “มักได้และมักง่าย”
ไม่มักได้และไม่มักง่าย.
ขอจบการบรรยายพิเศษเพียงนี้ฯ
..............................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น