วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

สำเร็จแล้ว!! คัมภีร์อรรถกถา อักษรธรรมล้านนา


ในพระพุทธศาสนามีคัมภีร์ที่สำคัญ คือ พระไตรปิฎก และมีคัมภีร์ที่สำคัญรองลงมา คือ อรรถกถา เพราะเป็นคัมภีร์ที่ อธิบายความอันเป็นเนื้อหาสาระในพระไตรปิฎก โดยเรียกท่านผู้แต่งคัมภีร์เหล่านี้ว่าพระอรรถกถาจารย์ เป็นคัมภีร์ที่มีมาแต่โบราณ มีทั้งอรรถกถาพระวินัย อรรถกถาพระสูตร และอรรถกถาพระอภิธรรม ซึ่งท่านผู้แต่งต้องการอธิบายความในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยการอธิบายของท่านนั้นจะยกเอาบางเรื่อง บางตอน มาอธิบายขยายความให้ชัดเจนมากขึ้น แล้วยังแสดงทัศนะ และข้อวินิจฉัยไว้ให้ด้วย ทำให้ผู้ศึกษาไม่ต้องไปตีความเอง บางเรื่องมีในพระไตรปิฎก แต่ในอรรถกถาไม่อธิบายขยายความไว้ เพราะท่านเห็นว่าเนื้อหาส่วนนั้นผู้ศึกษาเข้าใจได้ง่ายอยู่แล้ว คณะสงฆ์ไทยใช้อรรถกถาหลายเล่มมาเป็นหลักสูตรการศึกษาภาษาบาลีของคณะสงฆ์จนถึงปัจจุบันนี้ ดังนั้น อรรถกถาจึงเป็นคัมภีร์ที่น่าศึกษาค้นคว้า และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการศึกษาพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดีเพราะเป็นคัมภีร์ที่อยู่คู่กับพระพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน เบื้องต้นอรรถกถามีการบันทึกไว้เป็นภาษาบาลีต่อมามีการแปลเป็นหลายภาษารวมทั้งภาษาไทย แต่ยังไม่มีการแปลเป็นอักษรธรรมล้านนาถึงจะมีบ้างที่โบราณจารย์ทำไว้บางคัมภีร์ บางผูก แต่ที่ยังคงเหลือก็ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์

ล้านนาในอดีตเป็นอาณาจักรซึ่งตั้งอยู่ตอนบนของประเทศไทยโดยมีเมือง เชียงใหม่ เป็นราชธานีมีภาษา ตัวหนังสือ วัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเอง กล่าวโดยเฉพาะด้านศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก มีพระมหาเถระที่มีความชำนาญภาษาบาลีและมีการแต่งคัมภีร์เป็นภาษาบาลีไว้อย่างมากมาย คือ พระสิริมังคลาจารย์ แต่ง มังคลัตถทีปนีเวสสันตรทีปนี จักรวาลทีปนี พระรัตนปัญญาเถระ แต่ง ชินกาลมาลีปกรณ์ พระโพธิรังษี แต่ง จามเทวีวงส์ สิหิงคนิทาน พระอุตตราม แต่ง วิสุทธิมรรคทีปนี พระญาณกิตติ แต่ง สมันตปาสาทิกาอัตถโยชนา ภิกขุปาฏิโมกขคัณฐิทีปนี และสีมาสังกรวินิจฉัย คำอธิบายอรรถกถา เป็นต้น ไม่มีพระสงฆ์ไทยยุคไหนจะมีความชำนาญ และแต่งคัมภีร์เป็นภาษาบาลีเท่ากับล้านนาได้ บางคัมภีร์ยังใช้เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน

ในสมัยของ พระเจ้าติโลกราช มหากษัตริย์องค์ที่ ๙ แห่งราชวงศ์มังราย พ.ศ.๒๐๒๐ ได้มีการประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๘ ของโลก ณ วัดมหาโพธารามหรือวัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง ในปัจจุบัน โดยมี พระธรรมทินเถร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระเจ้าติโลกราช เป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ เป็นที่สันนิฐานกันว่าน่าจะใช้ภาษาล้านนาในการจารึกพระไตรปิฎกในครั้งนั้นเพราะทำกันในดินแดนล้านนา เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงยุคปัจจุบันพระไตรปิฎกฉบับล้านนาที่ทำขึ้นในการทำสังคายนาครั้งที่ ๘ นั้นไม่หลงเหลือให้คนรุ่นหลังได้เห็นว่ามีเนื้อหาลักษณะและรูปร่างครบปิฎกทั้ง ๓ เป็นเช่นไร ต่อมา คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ วัดร่ำเปิง นำโดย พระเดชพระคุณ พระสุพรหมยานเถร (หลวงพ่อทอง) เจ้าคณะอำเภอฮอด และเจ้าอาวาสวัดร่ำเปิงได้ทำการชำระพระไตรปิฎกภาษาล้านนาที่มีอยู่ในคัมภีร์ของล้านนาและปริวรรตพระไตรปิฎกภาษาไทยบางส่วนที่ไม่มีในคัมภีร์ของล้านนาเป็นสำนวนภาษาล้านนาทำให้พระไตรปิฎกมีฉบับสำนวนภาษาล้านนาเกิดขึ้นและต่อมา พ.ศ.๒๕๓๙ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ โดยความอุปถัมภ์และอำนวยการของ พระเดชพระคุณ พระสุพรหมยานเถร (หลวงพ่อทอง) ได้ทำการปริวรรตพระไตรปิฎกจากภาษาไทยเป็นภาษาล้านนาอีกฉบับหนึ่งแต่คัมภีร์อรรถกถายังไม่มีการปริวรรตเป็นภาษาล้านนา

ปีพ.ศ.๒๕๕๕ เป็นวาระที่พุทธชยันตี คือ การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าครบ ๒๖๐๐ ปีคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่นำโดย พระเดชพระคุณ พระเทพโกศล เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดศรีโสดา พระอารามหลวง และ พระเดชพระคุณ พระธรรมมังคลาจารย์ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เห็นว่าเป็นวาระพิเศษที่จะทำการปริวรรตคัมภีร์อรรถกถา และร่วมเฉลิมพระเกียรติในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร มีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา โดยใช้ อรรถกถา ฉบับสยามรัฐ ของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๔๘ เล่ม ปริวรรตเป็นอักษรธรรมล้านนา และบันทึกลงแผ่น CD เพื่อความสมบูรณ์ทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถาที่เป็นภาษาล้านนา โดยมอบหมายให้ พระมหาดวงรัตน์ ตรตโนป.ธ.๙ พธ.ม. รองเจ้าอาวาสวัดบุพพาราม อ.เมืองเชียงใหม่ เป็นประธานดำเนินงาน ใช้เวลาในการปริวรรต ๑ ปี เศษ โดยโครงการนี้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการปริวรรต และให้ผู้เชี่ยวชาญภาษาล้านนาช่วยตรวจสอบทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการพิมพ์อักษรธรรมล้านนาโดยมีคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ร่วมทำงานดังต่อไปนี้

คณะกรรมการที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

- เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ

- พระเดชพระคุณ พระวิสุทธิวงศาจารย์เจ้าคณะภาค ๗

- พระเดชพระคุณ พระธรรมคุณาภรณ์ รองเจ้าคณะภาค ๗

- พระเดชพระคุณ พระเทพวรสิทธาจารย์ รองเจ้าคณะภาค ๗

คณะกรรมการที่ปรึกษา

พระเทพวิสุทธิคุณ
พระเทพโกศล 
พระเทพปริยัติ 
พระเทพมังคลาจารย์พระราชสุตาภรณ์พระราชกิตติสุนทร 
พระราชสิงหวรมุนี
พระโพธิรังษีพระปิฎกโกศล 
พระวิมลญาณมุนี 
พระประชานาถมุนี 
พระวิมลมุนี 
พระครูสุนทรพรหมคุณ 
พระครูวรญาณมงคล
พระครูอินทญาณรังษี
พระครูประภัศร์ธรรมรังษี
พระครูอดุลสีลกิตติ์
พระครูวิบูลกิตติรักษ์ 
พระครูภาวนาวิรัช
พระครูสิริเจติยานุกูล

คณะกรรมการอำนวยการ

พระธรรมมังคลาจารย์ ประธาน
พระสุวรรณเมธี รองประธาน
พระอมรเวที รองประธาน
พระครูปลัดสุวัฒนวิสุทธิคุณ กรรมการ
พระครูวรปัญญาคุณ กรรมการ
ผศ.พระมหาบุญเลิศอินฺทปญฺโ กรรมการ

คณะกรรมการดำเนินงาน

พระมหาดวงรัตน์ ตรตโน ประธาน
พระศุภชัย ชยสุโภ รองประธาน
นายพิชัย แสงบุญ รองประธาน
นางชวนพิศ นภตาศัย กรรมการ
นายสุวิทย์ ใจจุ้ม กรรมการ
คณะกรรมการที่ปรึกษาภาษาบาลี –ไทย
พระศรีสิทธิเมธี ป.ธ. ๙ ประธาน
พระมหาวิฑูรย์ ภูริเมธี ป.ธ. ๙ รองประธาน
พระมหารัชวัตร ตาโภป.ธ. ๙ กรรมการ
พระมหาวีรศักดิ์ สุรเมธี ป.ธ. ๙ กรรมการ
พระมหาประจักษ์ ภูริวฑฺฒโน ป.ธ. ๙ กรรมการ
พระมหาพิภพจนฺทสิริ ป.ธ. ๙ กรรมการ
พระมหาวิเชียร วชิรเมธี ป.ธ. ๙ กรรมการ
พระมหาสกล วิโรจนกิตฺติ ป.ธ. ๙ กรรมการ
อ. เทวัญ เอกจันทร์ ป.ธ. ๙ กรรมการ
อ. เดชะ ผลชูศรี ป.ธ. ๙ กรรมการ
อ. กฤติ กิตติธารยังกูรป.ธ. ๙ กรรมการ

คณะกรรมการตรวจสอบภาษาบาลี-อักษรธรรมล้านนา

ผศ.ดร.วิโรจน์ อินทนนท์ ประธาน
รศ.พิเศษ ถาวร เสาร์ศรีจันทร์ รองประธาน
อ.ดุสิต ชวชาติ รองประธาน
พระมหาอัศนัยปุณฺณาโน กรรมการ
พระมหาวรเชษฐ์ มหาวีริโย กรรมการ
พระจตุพล จิตฺตสํวโร กรรมการ
พระจรินทร์ธมฺมวโร กรรมการ
แม่ชีผ่องพรรณ ล่องทอง กรรมการ
อ. เกริก อัครชิโนเรศ กรรมการ
อ. จำพงษ์ ตั้งตระกูล กรรมการ
ร.ต. ดุลศักดิ์ บัณฑิต กรรมการ
อ. ชัปนะ ปิ่นเงิน กรรมการ
อ. สุเมธ สุกิน กรรมการ
อ. สิทธิชัย พันชน กรรมการ

คณะกรรมการจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์

รศ.ดร. ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ ประธาน
นางสาวบังอร กรวิรัตน์ รองประธาน
นายพิชัย แสงบุญ รองประธาน
นายณัฐพล บุญสม กรรมการ
นายเด่น ทัพซ้าย กรรมการ
นายอุปถัมภ์ ชมภู กรรมการ

คณะกรรมการกองงานเลขานุการ

พระมหายุวรัตน์ ยสิสฺสโร ประธาน
พระมหาสาทร ธมฺมาทโร รองประธาน
พระมหาประจักร ธมฺมวิภูโต รองประธาน
พระมหาสมบูรณ์ธมฺมทินฺโน กรรมการ
พระมหาสมพร ขนฺติธโร กรรมการ
พระเจริญ สุภทฺโท กรรมการ

ถึงแม้ว่า ภาษาล้านนา จะมีคนที่อ่านออกเขียนได้มีจำนวนน้อยลง และจำกัดอยู่ในเฉพาะกลุ่มแต่ก็เป็นภาษาที่ยังมีคนใช้อยู่ และยังเป็นภาษาของอาณาจักรแห่งนี้ในอดีตที่ผ่านมาซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของชาวล้านนาเป็นอย่างยิ่งที่เรามีภาษาเป็นของตนเองทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน จึงสมควรที่จะรักษาให้ภาษานี้อยู่คู่กับประวัติศาสตร์ของชาวล้านนาตลอดไป

วัตถุประสงค์ของการปริวรรตคัมภีร์อรรถกถา

- เพื่อให้คัมภีร์อรรถกถามีการจารึกเป็นอักษรธรรมล้านนา
- เพื่อให้อักษรธรรมล้านนาจารึกครบทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถา
- เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าของบุคคลผู้มีความสนใจในภาษาล้านนา

โดยใช้ระยะเวลาดำเนินโครงการ ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕ - สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖ และผลที่ได้รับจากการปริวรรต คือ

- คัมภีร์อรรถกถามีการจารึกเป็นอักษรธรรมล้านนา
- อักษรธรรมล้านนาจารึกครบทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถา
- เป็นแหล่งค้นคว้าของบุคคลผู้มีความสนใจในอักษรธรรมล้านนา


*************************

เรื่องโดย : คมชัดลึกออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ




1 ความคิดเห็น: