หลวงพ่อผ่อง มีนามเดิมว่า "ผ่อง" เป็นบุตรของนายสุด นางอ่ำ เกิดเมื่อปีพ.ศ.2414 ต้นรัชกาลที่ 5 ที่บ้านตำบลบางสีทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เมื่อปีพ.ศ.2435 อุปสมบทที่วัดรวก จ.นนทบุรี มี พระปรีชาเฉลิม (แก้ว สงขสุวณโณ) ป.ธ. 6 (ภายหลังเลื่อนเป็นพระเทพโมลี เจ้าอาวาสวัดมหรรณพาราม) วัดเฉลิมพระเกียรติ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแก้ว วัดไฟไหม้ (วัดอมฤต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการลบ วัดรวก เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายา "ธัมมโชติโก"
หลังจากบวชแล้วได้เรียนวิปัสสนาธุระในสำนักอาจารย์แก้ว วัดไฟไหม้อยู่ 3 พรรษา ในพรรษาที่ 4 ย้ายมาอยู่ที่วัดนางชี คลองด่าน ในสมัยพระครูศีลขันธ์สุนทร เป็นเจ้าอาวาส ในพรรษาที่ 11 ย้ายจากวัดนางชี มาอยู่วัดนาคปรก อีก 10 พรรษา จนถึงปีพ.ศ.2455
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2455 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระศากยปุตติยวงศ์) กับ พระพุทธพยากรณ์ วัดอัปสรสวรรค์ (ในขณะที่ดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูพุทธพยากรณ์) ได้อาราธนาให้เป็นเจ้าอาวาสวัดคูหาสวรรค์วรวิหาร ในขณะดำรงพระฐานานุกรม พระปลัด
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2458 ได้เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ "พระครูสังวรสมาธิวัตร" เนื่องในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ต้นรัชกาลที่ 6 ในขณะที่มีอายุได้ 44 ปี เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2464 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นเจ้าคณะหมวดคลองบางจาก อำเภอภาษีเจริญ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2464 ได้รับเลื่อนเป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระ วิสุทธิสารเถร" ถือพัดงาสาน
"หลวงพ่อผ่อง" เป็น 1 ใน 3 พระเกจิอาจารย์ของฝั่งธนบุรี ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ความเคารพนับถือ โดยเป็นพระเถระ 1 ใน 4 รูปที่ได้ "พัดงาสาน" สมัยรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วย
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2455 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระศากยปุตติยวงศ์) กับ พระพุทธพยากรณ์ วัดอัปสรสวรรค์ (ในขณะที่ดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูพุทธพยากรณ์) ได้อาราธนาให้เป็นเจ้าอาวาสวัดคูหาสวรรค์วรวิหาร ในขณะดำรงพระฐานานุกรม พระปลัด
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2458 ได้เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ "พระครูสังวรสมาธิวัตร" เนื่องในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ต้นรัชกาลที่ 6 ในขณะที่มีอายุได้ 44 ปี เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2464 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นเจ้าคณะหมวดคลองบางจาก อำเภอภาษีเจริญ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2464 ได้รับเลื่อนเป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระ วิสุทธิสารเถร" ถือพัดงาสาน
"หลวงพ่อผ่อง" เป็น 1 ใน 3 พระเกจิอาจารย์ของฝั่งธนบุรี ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ความเคารพนับถือ โดยเป็นพระเถระ 1 ใน 4 รูปที่ได้ "พัดงาสาน" สมัยรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วย
1.หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
2.พระสังวราชุ่ม วัดราชสิทธิฯ (วัดพลับ)
3.หลวงพ่อผ่อง วัดคูหาสวรรค์
4.หลวงปู่ปั้น วัดสะพานสูง
หลวงพ่อผ่องได้ชื่อว่าเป็นพระสมถะ สันโดษ ไม่สะสมทรัพย์สินใด สมัยยังมีชีวิตอยู่ ทุกๆ วันจะมีผู้คนมาท่านให้ช่วยรักษาโรคต่างๆ บางคนก็มาขอฝึกกรรมฐานและวิปัสสนา บางคนเป็นบ้าเสียสติมาให้ท่านอาบน้ำมนต์เพียงครั้งเดียวก็หาย ถึงขนาดร่ำลือกันว่า น้ำมนต์ของท่านศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก จะเป็นผีหรือเจ้าเข้าสิงก็ใช้ไล่ได้ดี หรือจะทางแคล้ว คลาด เมตตามหานิยม อยู่ยงคงกระพันชาตรีก็เป็นยอด
วัตถุมงคลประเภทพระเครื่องและเครื่อง รางของขลังที่ท่านสร้างแจกยุคแรก ส่วนใหญ่จะเป็นประเภท "ตะกรุดและผ้ายันต์" ซึ่งปัจจุบันหายากมาก
ส่วนวัตถุมงคลยอดนิยม คือ "พระสมเด็จเล็บมือ" มีอยู่ด้วยกัน 2 รุ่น คือ รุ่นแรกสร้างประมาณปี พ.ศ.2457 ด้านหลังนูนเรียบ ไม่ปรากฏลวดลายหรืออักขระเลขยันต์คดๆ ส่วนรุ่นสอง สร้างประมาณปี พ.ศ.2464 ด้านหลังจะปรากฏอุณาโลมประทับอยู่ จำนวนสร้างทั้งสองรุ่นประมาณกันว่าคงไม่เกิน 5,000 องค์
พุทธลักษณะมีกรอบพิมพ์เป็นรูปคล้ายครอบแก้วหรือปลายนิ้วมือ มีรูปพระพุทธปางขัดสมาธิเพชรเห็นสังฆาฏิประทับอยู่เหนือฐาน ซึ่งเป็นขีดหนา เนื้อพระเป็นผงสีขาวนวล ละเอียดแห้ง
พระสมเด็จเล็บมือ หลวงพ่อผ่อง มีพุทธคุณโดดเด่นทางด้านเมตตามหานิยม ค้าขายร่ำรวย แม้ปัจจุบันจะไม่โด่งดังเหมือนพระเครื่องของพระเกจิอาจารย์รูปอื่น อีกทั้งพระเครื่องของท่านมีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่จะอยู่ในครอบครองของชาวฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะชาวภาษีเจริญและใกล้เคียง
หลวงพ่อผ่อง ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคูหา สวรรค์ได้ 16 ปี แม้หลวงพ่อผ่องจะอายุไม่สูงวัย แต่มีอาการอาพาธบ่อยครั้ง สุดท้ายได้มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 30 พ.ย.2471 สิริอายุ 57 ปี พรรษา 35
แม้ท่านจะละสังขารไปแล้ว แต่คุณงามความดีของท่านยังจะคงปรากฏอยู่ในใจของพุทธศาสนิกไปตราบนานเท่านาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น