หน้าที่ของ พระวินยาธิการ คือ ตรวจตรา แนะนำ ตักเตือน และชี้แจงระเบียบปฏิบัติแก่พระภิกษุสามเณรในจังหวัดหรือที่เข้ามาในจังหวัด บรรดาที่ประพฤติไม่เรียบร้อย และหากไม่ปฏิบัติตามหรือพบการกระทำความผิดก็มีอำนาจจับกุมตัวส่งเจ้าคณะผู้รับผิดชอบหรือเจ้าหน้าที่บ้านเมืองให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ แต่ไม่มีอำนาจในการให้สละสมณเพศ
ปัจจุบัน แม้ว่าพระวินยาธิการเป็นตำแหน่งที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ ทำให้การปฏิบัติหน้าเป็นไปอย่างติดๆ ขัดๆ แต่สำหรับ พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หรือ หลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม หัวหน้าพระวินยาธิการจังหวัดนครปฐม ท่านได้ทำหน้าที่อย่างแข็งขัน เช้าตรู่ของทุกๆ วัน หากไม่มีกิจนิมนต์นอกฉันเช้า หลวงพี่น้ำฝนจะตื่นตั้งแต่ตี ๕ เพื่อเตรียมตัวออกไปบิณฑบาต โดยท่านเดินบิณฑบาตในตลาดรอบองค์พระปฐมเจดีย์ทั้ง ๔ แห่ง เป็นระยะทางเกือบ ๕ กิโลเมตร ใช้เวลาเกือบ ๒ ชั่วโมง
หลวงพี่น้ำฝน บอกว่า การบิณฑบาต เป็นกิจวัตรของพระภิกษุสงฆ์ และสามเณรในพระพุทธศาสนา ในการออกเดินถือบาตรรับการถวายภัตตาหารหรือสิ่งของจากชาวบ้านในเวลาเช้า เรียกว่าการออกบิณฑบาต การออกบิณฑบาตของพระภิกษุเป็นกิจวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่า การบิณฑบาตเป็นกิจอันประเสริฐ หรือในสามัญเรียกว่าการโปรดสัตว์ เพราะการออกบิณฑบาตนั้นนับว่าเป็นการเผยแผ่พระศาสนาทางหนึ่งด้วย ดังในสมัยพุทธกาลที่พระภิกษุสงฆ์จะเทศนาโปรดแก่บรรดาชาวบ้านซึ่งมาร่วมทำบุญ อันเป็นต้นเหตุแห่งการสวดให้พรหลังภัตตกิจในปัจจุบันนี้
ขณะเดินไปบิณฑบาต นิยมมีสมณสารูปสำรวมกิริยาเรียบร้อย สำรวมกาย สำรวมตา สำรวมปาก ไม่เดินเร็ว หรือเชื่องช้าเกินไป ไม่เหลียวซ้ายแลขวาลอกแลก ไม่เที่ยวทักคนนี้คนนั้นอันแสดงถึงความไม่สำรวม หรือไม่นิยมเดินพูดคุยกันระหว่างพระภิกษุสามเณรด้วยกัน
สำหรับคำพูดที่ว่า "บิณฑบาตโปรดโยมปราบเปรต" หลวงพี่น้ำฝน บอกว่า ในสังคมละเลยการประพฤติในศีลธรรม ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา กล่าวคือ บางคน บางกลุ่ม เมื่อบวชแล้วไม่สนใจศึกษา และปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัย กฎ ระเบียบ คำสั่งมหาเถรสมาคม อาศัยช่องทางจากความเชื่อ ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยของชาวพุทธ ที่ยังไม่ค่อยเข้าใจหลักพระพุทธศาสนา แสวงหาผลประโยชน์โดยวิธีการต่างๆ เช่น บางคนเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาแล้วออกแสวงหาลาภสักการะ โดยการออกบิณฑบาตบ้าง บอกบุญ เรี่ยไรเงินทอง เพื่อประโยชน์ตนเองบ้าง ปักกลด ทำทีเป็นผู้ปฏิบัติเคร่งครัด บางพวกตั้งตนเป็นหมอดูทำนายทายทัก บอกใบให้หวย เป็นหมอยา หมอเสน่ห์ ยิ่งกว่านั้นบางพวกถึงขนาดปลอมบวช โดยใช้อุบายที่แยบยลยากที่จะแก้ไข
ทีมงานออกเรี่ยไร แบ่งกันเป็นสาย มุ่งไปตามจังหวัดต่างๆ เช่น อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม โดยค่าเช่ารถตู้วันละ ๑,๕๐๐ บาท ค่าคนขับรถวันละ ๔๐๐ บาท ค่าน้ำมันวันละ ๕๐๐ บาท พระที่สำนักสงฆ์มีทั้งหมด ๙ รูป สามเณร ๑๙ รูป มีเจ้าสำนักชื่อ พระอาจารย์สะอาด สุจิณโณ อายุ ๘๐ ปี มีแม่ชี ๒ คน มีฆราวาสอีก ๓ คน แต่ละสายที่ออกไปเรี่ยไร จะได้ปัจจัยประมาณสายละ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ บาทต่อวัน พระอาจารย์สะอาดจะแบ่งให้องค์ละ ๑๐๐ บาท เท่ากันทั้งพระเณร
"มีพระภิกษุ-สามเณรบางส่วนที่หวังอาศัยพระพุทธศาสนาบังหน้าในการแสดงหาลาภ ยศ สรรเสริญ สุข โดยไม่ยึดหลักพระธรรมวินัย บางครั้งก็เป็นคนจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ เพื่อเรี่ยไรเงินจากชาวบ้านซึ่งปัญหาดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรง เพราะหากินบนความศรัทธาของประชาชน ทั้งนี้ หากพบทางสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดจะดำเนินการขอดูใบอนุญาตการเรี่ยไรเงิน ใบสุทธิ ว่าเป็นของจริงหรือไม่ หากพบว่าไม่ถูกต้องจะดำเนินการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีทางกฎหมาย แต่ถ้าพระภิกษุสงฆ์จริงก็จะให้เจ้าคณะผู้ปกครองตักเตือนไม่ให้มีกระทำการดังกล่าวอีก" หลวงพี่น้ำฝน พูดทิ้งท้าย
ในฐานะที่เป็นหัวหน้าพระวินยาธิการจังหวัดนครปฐม หลวงพี่น้ำฝน ได้มีคำแนะนำไม่ให้ญาติโยมใส่บาตรพระกับพระที่ไม่น่าเลื่อมใสไว้ ๗ ประการ คือ
๑.ย่ามใหญ่ ซึ่งภายในย่ามอาจมีผ้าขนหนู เสื้อผ้า สบู่ ยาสีฟัน อย่างครบคันรวมอยู่ในย่าม
๒.จีวรไม่สะอาด เพราะต้องนอนตามสถานีรถไฟ
๓.มีบาตรและกลดพระติดตัวในย่านชุมชนเมือง ซึ่งกิจของพระธุดงค์ต้องเดินห่างจากชุมชนเมือง ๒๕ กม.เป็นการเดินในป่าไม่ใช่ในเมือง
๔.นอนมั่วทุกแห่ง
๕.แหล่งที่พักไม่แน่นอน สัญจรอยู่ตลอดเวลา
และ ๗.อธิษฐานพรรษาไม่ถูก ไม่มีใบสุทธิ
ปัญหาการเรี่ยไรเงินถือว่าเป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก โดยเฉพาะช่วงปลายเดือนมีนาคม-เมษายน เพราะจะเป็นช่วงที่ตามวัดต่างๆ จะมีพิธียกช่อฟ้า ฝังลูกนิมิต บางวัดจึงจำเป็นออกเรี่ยไรเงินจากพุทธศาสนิกชน ทั้งนี้สำหรับการเรี่ยไรเงินจะต้องมีการนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการระดับ จังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ในพื้นที่นั้น เพื่อออกใบอนุญาตการเรี่ยไรเงิน ซึ่งจะต้องออกในนามวัดเท่านั้น ไม่มีการออกให้เป็นรายบุคคล และสามารถจะออกเรี่ยไรได้ภายในจังหวัดเท่านั้น จากนั้นจะมีการทำหนังสือเวียนแจ้งไปยังสถานีตำรวจ และวัดในพื้นที่ได้รับทราบ
การแก้ปัญหาการเรี่ยไรเงิน พระวินยาธิการไปดำเนินการลำบากมากขึ้น เนื่องจากพวกนี้จะมากันเป็นกลุ่ม หากจะเข้าไปตักเตือนก็จะมีกลุ่มนักเลงที่มากับผู้เรี่ยไรเข้ามาข่มขู่ ดังนั้น พระวินยาธิการต้องขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาอารักขาด้วย อย่างไรก็ตาม อาตมาขอเตือนว่าเมื่อพบกลุ่มที่มาเรี่ยไรเงิน หากไม่แน่ใจว่าจริงหรือหลอกลวง ให้ขอดูใบอนุญาตได้ทันที และสามารถโทรสอบถามไปยังสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดได้ด้วย และหากพบว่าเป็นพระแล้วมาขอเรี่ยไรโดยลำพัง ให้ตั้งสมมุติฐานได้เลยว่าไม่ได้รับอนุญาตให้มา
ทั้งนี้ หลวงพี่น้ำฝน พูดทิ้งท้ายไว้อย่างน่าคิดว่า “การทำบุญเป็นเรื่องของศรัทธาที่ต้องบวกด้วยปัญญา อย่ายึดการทำบุญในแบบโฆษณาชวนเชื่อว่าทำมากจะได้มาก เรื่องบุญจึงเป็นเรื่องเดียวกันที่ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่การทำบุญโดยยึดปริมาณมากกว่าแล้วจะได้ผลบุญมากตาม ถ้าทำอย่างนั้นน่าจะเรียกได้ว่าเอาบุญมากลบปัญญา การทำบุญยังต้องทำแบบสายกลาง คือ ต้องไม่ทำแบบทุ่มสุดตัว มีเท่าไรทำบุญหมดคงไม่ได้ เพราะชีวิตเราต้องกินต้องใช้ในเรื่องอื่นด้วย”
ปัญหาการเรี่ยไรเงินถือว่าเป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก โดยเฉพาะช่วงปลายเดือนมีนาคม-เมษายน เพราะจะเป็นช่วงที่ตามวัดต่างๆ จะมีพิธียกช่อฟ้า ฝังลูกนิมิต บางวัดจึงจำเป็นออกเรี่ยไรเงินจากพุทธศาสนิกชน ทั้งนี้สำหรับการเรี่ยไรเงินจะต้องมีการนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการระดับ จังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ในพื้นที่นั้น เพื่อออกใบอนุญาตการเรี่ยไรเงิน ซึ่งจะต้องออกในนามวัดเท่านั้น ไม่มีการออกให้เป็นรายบุคคล และสามารถจะออกเรี่ยไรได้ภายในจังหวัดเท่านั้น จากนั้นจะมีการทำหนังสือเวียนแจ้งไปยังสถานีตำรวจ และวัดในพื้นที่ได้รับทราบ
การแก้ปัญหาการเรี่ยไรเงิน พระวินยาธิการไปดำเนินการลำบากมากขึ้น เนื่องจากพวกนี้จะมากันเป็นกลุ่ม หากจะเข้าไปตักเตือนก็จะมีกลุ่มนักเลงที่มากับผู้เรี่ยไรเข้ามาข่มขู่ ดังนั้น พระวินยาธิการต้องขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาอารักขาด้วย อย่างไรก็ตาม อาตมาขอเตือนว่าเมื่อพบกลุ่มที่มาเรี่ยไรเงิน หากไม่แน่ใจว่าจริงหรือหลอกลวง ให้ขอดูใบอนุญาตได้ทันที และสามารถโทรสอบถามไปยังสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดได้ด้วย และหากพบว่าเป็นพระแล้วมาขอเรี่ยไรโดยลำพัง ให้ตั้งสมมุติฐานได้เลยว่าไม่ได้รับอนุญาตให้มา
ทั้งนี้ หลวงพี่น้ำฝน พูดทิ้งท้ายไว้อย่างน่าคิดว่า “การทำบุญเป็นเรื่องของศรัทธาที่ต้องบวกด้วยปัญญา อย่ายึดการทำบุญในแบบโฆษณาชวนเชื่อว่าทำมากจะได้มาก เรื่องบุญจึงเป็นเรื่องเดียวกันที่ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่การทำบุญโดยยึดปริมาณมากกว่าแล้วจะได้ผลบุญมากตาม ถ้าทำอย่างนั้นน่าจะเรียกได้ว่าเอาบุญมากลบปัญญา การทำบุญยังต้องทำแบบสายกลาง คือ ต้องไม่ทำแบบทุ่มสุดตัว มีเท่าไรทำบุญหมดคงไม่ได้ เพราะชีวิตเราต้องกินต้องใช้ในเรื่องอื่นด้วย”
*************************
เรื่องโดย : คมชัดลึกออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น