นอกจากนี้ยังมีสิ่งของหาชมที่อื่นไม่ได้อย่างแน่นอน ไม่มีที่ใดมี นอกจากที่นี่เท่านั้น เช่น รถยนต์คันแรกที่เปิดทางขึ้นดอยสุเทพ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๗๘ เห็นโลโก้หน้ารถแล้วไม่รู้ว่าเป็นรถยี่ห้ออะไร รถคันนี้มีป้ายทะเบียนดำ ช.ม. 0175, อย่างของแปลกที่ผมเองได้เห็นก็ต้องเกิดสงสัย อย่างเครื่องซักผ้าของท่านครูบาศรีวิชัย และรถสามล้อ พาหนะส่งภัตตาหารของครูบา ในช่วงสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ เป็นต้น
ใน พิพิธภัณฑ์บริขารพระครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย ถึงจะไม่ใหญ่โต เหมือนพิพิธภัณฑ์ระดับประเทศ แต่ภายในได้บอกเรื่องราว และความมุ่งมั่นของพระสงฆ์แห่งล้านนารูปหนึ่งที่มีความตั้งใจที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และพัฒนาบ้านเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้า ถึงแม้ว่าท่านครูบาศรีวิชัยจะถูกกลั่นแกล้งสักเพียงใดท่านก็ไม่เคยที่จะลดละในการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานในแผ่นดินล้านนา
ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย ท่านเดินทางไปหนแห่งใดก็มีผู้ความศรัทธาสาธุชนให้เคารพ จากที่ได้ธุดงค์ไปทั่วแผ่นดินล้านนาได้พบเห็นโบราณสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแผ่นดินล้านนาเก่าแก่ทรุดโทรมลงเป็นอันมาก จึงได้ร่วมกับศรัทธาสาธุชนบูรณปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมวัดวาอารามโบราณสถานทั่วแผ่นดินล้านนาไม่อาจจะนับได้ อาทิ บริเวณหน้าวิหารหลวงและพระบรมธาตุ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จ.ลำพูน (พ.ศ.๒๔๖๓)
หลังจากกลับจากกรุงเทพฯ แล้วไปบูรณะพระเจดีย์ พระธาตุดอยเกิ้ง อ.ฮอด (พ.ศ.๒๔๖๔) สร้างวิหารวัดศรีโคมคำ พระเจ้าตนหลวง จ.พะเยา (พ.ศ.๒๔๖๕) บูรณะพระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย บูรณะพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่ (พ.ศ.๒๔๖๖) วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๔๖๗) สร้างธาตุและบันไดนาค วัดบ้านปางพระธาตุเกตุสร้อยแก่งน้ำปิง (พ.ศ.๒๔๖๘) รวบรวมพระไตรปิฎก ฉบับอักษรล้านนาจำนวน ๕,๔๐๘ ผูก (พ.ศ.๒๔๖๙-๒๔๗๑) บูรณะวัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ (พ.ศ.๒๔๗๔) ส่วนผลงานชิ้นสุดท้าย คือ สะพานศรีวิชัย เชื่อมระหว่างลำพูน (ริมปิง) - (หนองตอง) เชียงใหม่ (พ.ศ.๒๔๘๑) ที่มาสร้างเสร็จภายหลังจากที่ครูบาศรีวิชัยมรณภาพ (รวมวัดต่างๆ ที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยไปบูรณปฏิสังขรณ์รวมไม่น้อยกว่า ๑๐๘ วัด และโบราณสถานอีกมากมาย) ต่อมามีผู้เรียกท่านว่า พระศรีวิชัย ชาวบ้านจึงเรียกท่านว่า ครูบาศรีวิชัยบ้าง ครูบาวัดบ้านปางบ้าง ครูบาศีลธรรมบ้าง ซึ่งเป็นนามที่ชาวบ้านตั้งให้ด้วยความนับถือ
ผลงานชิ้นอมตะคือ การสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ที่ศรัทธาสานุชนมาร่วมกันสร้างถนนวันละไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ คน แล้วเสร็จภายใน ๖ เดือน ตามสัจจะวาจา การสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ซึ่งครูบาศรีวิชัยได้รับคำเรียกร้องจากศรัทธาประชาชน ให้ช่วยดำริและจัดการเรื่องนี้ จึงเริ่มลงมือสร้างเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ เชิงดอยสุเทพด้านห้วยแก้ว โดยมี พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นผู้ขุดจอบเป็นปฐมฤกษ์ การสร้างถนนสายนี้ใช้แรงงานเป็นจำนวนมากวันหนึ่งๆ จะมีผู้คนช่วยทำงานประมาณวันละไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ คน ถ้าคิดมูลค่าแรงงานเป็นเงินก็คงมากมายมหาศาลทีเดียว การสร้างทางสายนี้ใช้เวลา ๕ เดือน กับ ๒๒ วัน จึงแล้วเสร็จ และเปิดให้รถขึ้นลงได้เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๘
พิพิธภัณฑ์บริขารพระครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย ตั้งอยู่ที่วัดบ้านปาง หมู่ ๑ ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ จ.ลำพูน ห่างจากตัว จ.ลำพูน ตามถนนพหลโยธินสายเก่า (ทางหลวงหมายเลข ๑๐๖ หรือถนนสายลำพูน-ลี้ ประมาณ ๗๐ กิโลเมตร เป็นสถานที่เก็บรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ของครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย จำนวนมาก หากท่านผู้อ่านมีต้องการสัมผัสของจริงได้ชมอย่างครบถ้วน ในพิพิธภัณฑ์บริขารพระครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน สามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ www.krubasrivichai.com หรือ www.watbanpang.com
ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย ท่านเดินทางไปหนแห่งใดก็มีผู้ความศรัทธาสาธุชนให้เคารพ จากที่ได้ธุดงค์ไปทั่วแผ่นดินล้านนาได้พบเห็นโบราณสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแผ่นดินล้านนาเก่าแก่ทรุดโทรมลงเป็นอันมาก จึงได้ร่วมกับศรัทธาสาธุชนบูรณปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมวัดวาอารามโบราณสถานทั่วแผ่นดินล้านนาไม่อาจจะนับได้ อาทิ บริเวณหน้าวิหารหลวงและพระบรมธาตุ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จ.ลำพูน (พ.ศ.๒๔๖๓)
หลังจากกลับจากกรุงเทพฯ แล้วไปบูรณะพระเจดีย์ พระธาตุดอยเกิ้ง อ.ฮอด (พ.ศ.๒๔๖๔) สร้างวิหารวัดศรีโคมคำ พระเจ้าตนหลวง จ.พะเยา (พ.ศ.๒๔๖๕) บูรณะพระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย บูรณะพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่ (พ.ศ.๒๔๖๖) วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๔๖๗) สร้างธาตุและบันไดนาค วัดบ้านปางพระธาตุเกตุสร้อยแก่งน้ำปิง (พ.ศ.๒๔๖๘) รวบรวมพระไตรปิฎก ฉบับอักษรล้านนาจำนวน ๕,๔๐๘ ผูก (พ.ศ.๒๔๖๙-๒๔๗๑) บูรณะวัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ (พ.ศ.๒๔๗๔) ส่วนผลงานชิ้นสุดท้าย คือ สะพานศรีวิชัย เชื่อมระหว่างลำพูน (ริมปิง) - (หนองตอง) เชียงใหม่ (พ.ศ.๒๔๘๑) ที่มาสร้างเสร็จภายหลังจากที่ครูบาศรีวิชัยมรณภาพ (รวมวัดต่างๆ ที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยไปบูรณปฏิสังขรณ์รวมไม่น้อยกว่า ๑๐๘ วัด และโบราณสถานอีกมากมาย) ต่อมามีผู้เรียกท่านว่า พระศรีวิชัย ชาวบ้านจึงเรียกท่านว่า ครูบาศรีวิชัยบ้าง ครูบาวัดบ้านปางบ้าง ครูบาศีลธรรมบ้าง ซึ่งเป็นนามที่ชาวบ้านตั้งให้ด้วยความนับถือ
ผลงานชิ้นอมตะคือ การสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ที่ศรัทธาสานุชนมาร่วมกันสร้างถนนวันละไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ คน แล้วเสร็จภายใน ๖ เดือน ตามสัจจะวาจา การสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ซึ่งครูบาศรีวิชัยได้รับคำเรียกร้องจากศรัทธาประชาชน ให้ช่วยดำริและจัดการเรื่องนี้ จึงเริ่มลงมือสร้างเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ เชิงดอยสุเทพด้านห้วยแก้ว โดยมี พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นผู้ขุดจอบเป็นปฐมฤกษ์ การสร้างถนนสายนี้ใช้แรงงานเป็นจำนวนมากวันหนึ่งๆ จะมีผู้คนช่วยทำงานประมาณวันละไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ คน ถ้าคิดมูลค่าแรงงานเป็นเงินก็คงมากมายมหาศาลทีเดียว การสร้างทางสายนี้ใช้เวลา ๕ เดือน กับ ๒๒ วัน จึงแล้วเสร็จ และเปิดให้รถขึ้นลงได้เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๘
พิพิธภัณฑ์บริขารพระครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย ตั้งอยู่ที่วัดบ้านปาง หมู่ ๑ ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ จ.ลำพูน ห่างจากตัว จ.ลำพูน ตามถนนพหลโยธินสายเก่า (ทางหลวงหมายเลข ๑๐๖ หรือถนนสายลำพูน-ลี้ ประมาณ ๗๐ กิโลเมตร เป็นสถานที่เก็บรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ของครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย จำนวนมาก หากท่านผู้อ่านมีต้องการสัมผัสของจริงได้ชมอย่างครบถ้วน ในพิพิธภัณฑ์บริขารพระครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน สามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ www.krubasrivichai.com หรือ www.watbanpang.com
ถึงแม้ว่าองค์ท่านจะไม่มีฐานันดรสมณศักดิ์ แต่ท่านก็เป็นพระมหาเถระสมบูรณ์พร้อมด้วยคุณธรรมและวัตรปฏิบัติอันประเสริฐยิ่ง มีบารมีสูงสุด เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนามของ "ตนบุญ" หรือ "นักบุญ" อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่ได้เป็นนักพัฒนา ผู้สร้างความเจริญของเมืองเหนือในยุคอดีต และมีคุณสมบัติพิเศษที่ทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาของผู้ที่ได้พบเห็น
ผลงานที่ท่านได้ทำไว้เท่าที่รวมแล้วพบว่างานบูรณปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามของครูบาศรีวิชัย มีอย่างน้อยก็ประมาณกว่า ๒๐๐ แห่ง โดยผลงานที่ทำให้ท่านเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงมาจนถึงทุกวันนี้ก็คือการสร้างถนนขึ้นไปกราบนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ ท่านได้เริ่มสร้างทางเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ และเปิดให้รถยนต์แล่นได้ในวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๘ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณของหลวงเลย ครั้นเสร็จงานสร้างถนนแล้ว และงานชิ้นสุดท้ายของท่านที่ไม่เสร็จในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็คือ สะพานศรีวิชัยอนุสรณ์ทอดข้ามน้ำแม่ปิงเชื่อม อ.หางดง จ.เชียงใหม่ กับ อ.เมือง จ.ลำพูน ทั้งนี้ ท่านได้ละสังขารเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปาง ขณะมีอายุได้ ๖๐ ปี ๙ เดือน ๑๑ วัน และตั้งศพ
อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ.๒๕๕๖ นี้ ครูบาศรีวิชัยมีอายุครบ ๑๓๕ ปี พระครูบาเอนก อาสโภ เจ้าอาวาสวัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน จึงได้ดำริที่จะจัดสร้างวัตถุมงคลของครูบาศรีวิชัย “รุ่น ๑๓๕ ปี สิริวิชโย” ประกอบด้วย พระกริ่ง รูปหล่อขนาดบูชา ล็อกเกต และเหรียญ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑.เพื่อสมทบทุนบูรณะศาสนสถานภายในวัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ๒.เพื่อสมทบทุนก่อสร้างเมรุเผาศพ ประจำบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ๓.จัดซื้อคอมพิวเตอร์ให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน และ ๔.มอบทุนเรียนดีแต่อยากจนให้นักเรียนในเขตตำบลหนองแก๋ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่
ทั้งนี้ ได้ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกโดยคณาจารย์ดังภาคเหนือถึง ๓ ครั้ง คือ
ผลงานที่ท่านได้ทำไว้เท่าที่รวมแล้วพบว่างานบูรณปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามของครูบาศรีวิชัย มีอย่างน้อยก็ประมาณกว่า ๒๐๐ แห่ง โดยผลงานที่ทำให้ท่านเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงมาจนถึงทุกวันนี้ก็คือการสร้างถนนขึ้นไปกราบนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ ท่านได้เริ่มสร้างทางเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ และเปิดให้รถยนต์แล่นได้ในวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๘ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณของหลวงเลย ครั้นเสร็จงานสร้างถนนแล้ว และงานชิ้นสุดท้ายของท่านที่ไม่เสร็จในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็คือ สะพานศรีวิชัยอนุสรณ์ทอดข้ามน้ำแม่ปิงเชื่อม อ.หางดง จ.เชียงใหม่ กับ อ.เมือง จ.ลำพูน ทั้งนี้ ท่านได้ละสังขารเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปาง ขณะมีอายุได้ ๖๐ ปี ๙ เดือน ๑๑ วัน และตั้งศพ
ทั้งนี้ ได้ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกโดยคณาจารย์ดังภาคเหนือถึง ๓ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑ โดย ครูบาดวงดี ยติโก ณ พระวิหารวัดบ้านฟ่อน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๖ เวลา ๑๕.๓๙ น.
ครั้งที่ ๒ โดย ครูบาเอนก อาสโภ ณ พระวิหารวัดบ้านปาง ในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๖ เวลา ๑๕.๓๙ น.
และ ครั้งที่ ๓ โดย คณาจารย์ดังภาคเหนือ ๑๙ รูป ร่วมพิธีในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๖ เวลา ๑๔.๕๙ น. ณ พระวิหารวัดบ้านปาง
*************************
เรื่องโดย : คมชัดลึกออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น