ตามประวัติ หลวงพ่อตุ้ย อดีตเจ้าอาวาส องค์ที่ ๓ ของวัดปราโมทย์เป็นผู้สร้างหลวงพ่อโต โดยมีพุทธศาสนิกชนคนไทยเชื้อสายจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานให้ความเคารพนับถือ ซึ่งมีพุทธลักษณะแตกต่างกับวัดอื่นๆ คือจะไม่มีพระเกียรติยศหรือเศียรองค์หลวงพ่อโต ซึ่งเป็นองค์พระศรีอารย์ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ ทั้งนี้ทุกๆ ปีในช่วงขึ้น ๑๕ ค่ำและแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ จะมีงานสักการะองค์หลวง พ่อโต เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะกราบไหว้ ทุกวันนี้พุทธศาสนิกชนทั่วไปยังคงให้ความศรัทธา มีการขอพร ขอโชคขอลาภ เมื่อสมความปรารถนาก็จะนำประทัดมาเซ่นไหว้ โดยเชื่อว่าหลวงพ่อโตชอบยิ่งนัก
สำหรับอักขระยันต์ที่อยู่ด้านซ้ายขวาขององค์พระ คือ ยันต์เฑาะว์รันโต ในการเขียนเรียกสูตรจะบริกรรม ๔ บทที่ว่า "เฑาะว์รันโตศีละสมาธิ เฑาะว์รันโตตันตินะมะถุโน เฑาะว์รันโตนะกัมมัตถานัง เฑาะวฺรันโตพุทธานะมามิหัง"
ต้นตำหรับ "ยันต์เฑาะว์รันโต" คือ หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม โดยท่านจะลงยันต์บนกระหม่อมให้กับลูกศิษย์ หลวงพ่อจะภาวนา โดยเริ่มจากการตั้งนะโม ๓ จบก่อน จากนั้นก็จะบริกรรมว่า "ท้อรันโต ศีละสมาธิ ท้อรันโตตันติ นะมัตถุโน ท้อรันโต นะกัมมัถฐานัง ท้อพุทธ นะมามิหังฯ"
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเขียนเส้นล้อมรอบหลายชั้น และมีการใช้ยันต์ตัวอื่นๆ มาเขียนประกอบด้วย ทำให้มีการเรียกชื่อตามตัวยันต์อื่นๆ ที่เป็นยันต์ประกอบ เช่น ยันต์เฑาะว์ พุทธคุณ ยันต์เฑาะว์พระนิพพาน ยันต์เฑาะว์พระรัตนไตร ยันต์เฑาะว์อะระหัง เป็นต้น
ส่วนยันมีอยู่หลังเหรียญ ประกอบด้วย
๓.ยันต์ที่อยู่รอบขอบของเหรียญ คือ คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า ที่ว่า "อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ" อุปเท่ห์ของคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า เป็นคาถาครอบจักรวาล คือ ใช้ในการกระทำอะไรทั้งหลายทั้งปวง ที่จะเป็นมงคลหรือป้องกันสรรพภัยได้ร้อยแปด ให้สวดคาถามงกุฎพระพุทธเจ้าทุกคืน คืนละ ๙ จบ อานุภาพของพระคาถา ศัตรูจะพินาศเองเมื่อคิดประทุษร้าย จะเกิดผลในด้านมงคลทุกประการ
โดยมีประวัติ ของการใช้คาถานี้มายาวนาน คาถาเสกหญ้าให้ม้ากิน ที่หลวงปู่เอี่ยมถวายพระครูปลัดเอี่ยม ได้ถวายคาถาบทนี้ให้ ล้นเกล้าเหนือหัวจุฬาลงกรณ์ (ร.๕) เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป คือ "คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย" หรือ "มงกุฎพระพุทธเจ้า"
ในสนามแข่งม้าชานกรุงปารีสนั่นเอง เมื่อพระองค์ได้รับคำทูลเชิญให้เสด็จทอดพระเนตรการแข่งม้านัดสำคัญนัดหนึ่งซึ่งมีขุนนาง ข้าราชการ พระบรมวงศานุวงศ์ฝรั่งเศสมาชมกันมาก พวกมันได้นำเอาม้าดุร้ายและพยศอย่างร้ายกาจมาถวายให้ทรงประทับ โดยถือโอกาสขณะที่อยู่ท่ามกลางมหาสมาคม แม้รู้ว่าม้านั้นดุร้าย พระปิยมหาราชเจ้าก็จะไม่ทรงหลีกหนี ด้วยขัตติยะมานะที่ทรงมีอยู่ในฐานะผู้นำประเทศ หากทรงพลาดพลั้งนั่นคือ "อุบัติเหตุ" ใครก็จะเอาผิดหรือต่อว่าเจ้าเศษฝรั่งไม่ได้
ม้าตัวนั้นเล่าลือกันว่า เคยโขกกัดผู้เลี้ยงดูและผู้หาญขึ้นไปขี่ตายมาแล้วหลายคน ในครั้งนั้นพระองค์ใช้พระหัตถ์ขวารวบยอดหญ้าแล้วดึงขึ้นมากำมือหนึ่ง ทรงตั้งจิตอธิษฐานถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราชและพระปลัดเอี่ยม เจริญภาวนาพระคาถาอิติปิโสเรือนเตี้ยที่พระปลัดเอี่ยมถวายสามจบ ทรงเป่าลมจากพระโอษฐ์ลงไปบนกำหญ้านั้น แล้วแผ่เมตตาซ้ำ ยื่นส่งไปที่ปากม้า
เจ้าสัตว์สี่เท้าผู้ดุร้ายสะบัดแผงคอส่งเสียงดังลั่นก่อนจะอ้าปากงับเอาหญ้าในพระหัตถ์ไปเคี้ยวกินแล้วก็กลืนลงไป ทรงเอื้อมพระหัตถ์ไปตบที่ขาหน้าของมันสามครั้ง เจ้าม้านั้นก็ก้มหัวลงมาดมที่พระกรไม่แสดงอาการตื่น หญ้าเสกสำริดผลตามประสงค์ เป็นปฐมเหตุแห่งพระบรมรูปทรงม้า หน้าพระราชวังดุสิต ที่เล่าขานกันต่อมาช้านาน และยังคงกึกก้องในโสตประสาทของปวงชนชาวไทยต่อไป ชั่วกัลปาวสาน
เมื่อรวมพุทธคุณแห่งยันต์เฑาะว์รันโต คาถาพระเจ้า ๕ พระองค์ คาถาหัวใจปาฏิโมกข์ และคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า เหรียญหลวงพ่อโต วัดปราโมทย์ จึงขึ้นชื่อว่า มีพุทธคุณดังคำกล่าวที่ว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" คือ "ไม่อาจพรรณนาได้หมด ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์"
ปัจจุบันวัดปราโมทย์มี พระครูปลัดปริยัตวรวัฒน์ หรือที่เราเรียกท่านจนติดปากว่า หลวงพ่อเลิศ แม้ว่าหลวงพ่อเลิศจะมีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอ แต่ท่านก็ยังปฏิบัติตนเหมือนเดิม คือ นอนดึกตื่นเช้าเพื่อปฏิบัติกิจของสงฆ์ ตรวจตราบริเวณวัด ปัดกวาดใบไม้เพื่อความสะอาดตาแก่ผู้พบเห็น ทำวัตรเช้า-เย็นเป็นกิจวัตร รวมทั้งจัดทำพิธี “ลอยเคราะห์ตัดกรรมรับโชค” ให้แก่ญาติโยมที่เดินทางไปถึงวัดจะกี่คนก็ตาม ถือว่าเป็นเจ้าคณะอำเภอต้นแบบของวงการปกครองคณะสงฆ์
คาถาบทหนึ่งที่หลวงพ่อเลิศ มักบอกให้ผู้มาร่วมพิธีลอยเคราะห์ตัดกรรมรับโชค คือ "คาถาคารวะพระพุทธเจ้า" หรือ "คำบูชาพระบรมศาสดา" ที่ว่า "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" โดยให้สวดก่อนนอน ๓ จบ จะมีพุทธคุณ คือ ๑.ทำให้หลับลึก หลับสนิท ๒.ผีไม่อำ และ ๓.หากมีเหตุร้ายเกิดขึ้นระหว่างหลับ เช่น ไฟไหม้ โจรปล้น จะมีคนมาปลุก
"นะโม" แปลว่า พระผู้มีพระภาคทรงเป็นใหญ่กว่ามนุษย์ เทพยดา พรหม มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง
"ตัสสะ" แปลว่า ขอบูชา ขอนอบน้อม ขอนมัสการ
"ภะคะวะโต" แปลว่า พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้จำแนกธรรมอันยิ่ง อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
"อะระหะโต" แปลว่า อรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ไกลจากเครื่องข้องทั้งปวง
"สัมมาสัมพุทธัสสะ" แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยพระองค์เอง ทรงรู้ดี รู้จริง รู้ยิ่งกว่าผู้รู้อื่นใด
"คาถาคารวะพระพุทธเจ้า" เป็นพระคาถามีปรากฏอยู่ในคาถามงคลร้อยแปด ที่พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายพิจารณาเห็นว่า อักษรทั้ง ๕ บทนี้ แต่ละบท ล้วนเป็นคำกล่าวนมัสการทั้งสิ้น จึงได้ประมวลเข้าไว้เป็นบทเดียวกัน รวมเป็นบทเดียวว่า "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" แปลโดยรวมว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ทั้งนี้ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล อดีตประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) เคยกล่าวไว้ว่า “คาถาบทนี้ภาวนาเพียงจบเดียวก็ขลังแล้ว แต่ที่ให้ภาวนา ๓ จบ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด”
ต้นตำหรับ "ยันต์เฑาะว์รันโต" คือ หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม โดยท่านจะลงยันต์บนกระหม่อมให้กับลูกศิษย์ หลวงพ่อจะภาวนา โดยเริ่มจากการตั้งนะโม ๓ จบก่อน จากนั้นก็จะบริกรรมว่า "ท้อรันโต ศีละสมาธิ ท้อรันโตตันติ นะมัตถุโน ท้อรันโต นะกัมมัถฐานัง ท้อพุทธ นะมามิหังฯ"
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเขียนเส้นล้อมรอบหลายชั้น และมีการใช้ยันต์ตัวอื่นๆ มาเขียนประกอบด้วย ทำให้มีการเรียกชื่อตามตัวยันต์อื่นๆ ที่เป็นยันต์ประกอบ เช่น ยันต์เฑาะว์ พุทธคุณ ยันต์เฑาะว์พระนิพพาน ยันต์เฑาะว์พระรัตนไตร ยันต์เฑาะว์อะระหัง เป็นต้น
ส่วนยันมีอยู่หลังเหรียญ ประกอบด้วย
๑.คาถาพระเจ้า ๕ พระองค์ ที่ว่า "นะ โม พทุ ธา ยะ" เขียนคล้ายกับยันต์พุดซ้อน แต่เป็นคนละตัวกัน ภาษายันต์เรียกวิธีการเขียนในลักษณะนี้ว่า "ยันต์ตลก" เพื่อความสวยงามและศิลปะในการเขียนยันต์ การเขียนยันต์ในลักษณะนี้นิยมใช้ เจิมบ้าน ร้านค้า รวมทั้งรถยนต์
นอกจากนี้แล้วในคาถาหัวใจ ๑๐๘ สามารถเขียนซ้อนกันให้เกิดความสวยงามได้เช่นกัน สำหรับคาถาที่พบว่ามีการใช้บ่อยๆ ที่นำมาเขียนซ้อนแบบนี้ เช่น คาถาหัวใจพระฉิม ที่ว่า "นะ ชะ ลิ ติ" ซึ่งทอดมาจาก คาถาข่ายเพชรพระพุทธเจ้า (พุทธโอวาทที่ประทานให้พระอานนท์) เกจิใช้ตัวนี้มากที่สุดในการเจิม คาถาหัวใจยอดศีล ที่ว่า "พุท ธะ สัง มิ" และ คาถาหัวใจวิรูปักเข ที่ว่า "เมะ สะ ระ ภู มู" เป็นต้น
๒.ด้านล้างของคาถาพระเจ้า ๕ พระองค์ คือ คาถาหัวใจปาฏิโมกข์ ที่ว่า "เม อะ มะ อุ" "เม อะ มะ อุ" แต่เขียนสลับกัน คือ "เม อุ มะ อะ" คาถา ย่อมาจากปาราชิก ๔
เม ย่อมาจาก เมถุนัง (เสพเมถุน)
อะ ย่อมาจาก อทินนา (ลักทรัพย์)
มะ ย่อมาจาก มนุสสะวิคคะหัง (ฆ่าคน)
อุ ย่อมาจาก อุตตะริมนุสสะธัมมัง (อุตริมนุสธรรมคือ อวดมีธรรมวิเศษ)
นอกจากนี้แล้วในคาถาหัวใจ ๑๐๘ สามารถเขียนซ้อนกันให้เกิดความสวยงามได้เช่นกัน สำหรับคาถาที่พบว่ามีการใช้บ่อยๆ ที่นำมาเขียนซ้อนแบบนี้ เช่น คาถาหัวใจพระฉิม ที่ว่า "นะ ชะ ลิ ติ" ซึ่งทอดมาจาก คาถาข่ายเพชรพระพุทธเจ้า (พุทธโอวาทที่ประทานให้พระอานนท์) เกจิใช้ตัวนี้มากที่สุดในการเจิม คาถาหัวใจยอดศีล ที่ว่า "พุท ธะ สัง มิ" และ คาถาหัวใจวิรูปักเข ที่ว่า "เมะ สะ ระ ภู มู" เป็นต้น
๒.ด้านล้างของคาถาพระเจ้า ๕ พระองค์ คือ คาถาหัวใจปาฏิโมกข์ ที่ว่า "เม อะ มะ อุ" "เม อะ มะ อุ" แต่เขียนสลับกัน คือ "เม อุ มะ อะ" คาถา ย่อมาจากปาราชิก ๔
เม ย่อมาจาก เมถุนัง (เสพเมถุน)
อะ ย่อมาจาก อทินนา (ลักทรัพย์)
มะ ย่อมาจาก มนุสสะวิคคะหัง (ฆ่าคน)
อุ ย่อมาจาก อุตตะริมนุสสะธัมมัง (อุตริมนุสธรรมคือ อวดมีธรรมวิเศษ)
๓.ยันต์ที่อยู่รอบขอบของเหรียญ คือ คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า ที่ว่า "อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ" อุปเท่ห์ของคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า เป็นคาถาครอบจักรวาล คือ ใช้ในการกระทำอะไรทั้งหลายทั้งปวง ที่จะเป็นมงคลหรือป้องกันสรรพภัยได้ร้อยแปด ให้สวดคาถามงกุฎพระพุทธเจ้าทุกคืน คืนละ ๙ จบ อานุภาพของพระคาถา ศัตรูจะพินาศเองเมื่อคิดประทุษร้าย จะเกิดผลในด้านมงคลทุกประการ
ในสนามแข่งม้าชานกรุงปารีสนั่นเอง เมื่อพระองค์ได้รับคำทูลเชิญให้เสด็จทอดพระเนตรการแข่งม้านัดสำคัญนัดหนึ่งซึ่งมีขุนนาง ข้าราชการ พระบรมวงศานุวงศ์ฝรั่งเศสมาชมกันมาก พวกมันได้นำเอาม้าดุร้ายและพยศอย่างร้ายกาจมาถวายให้ทรงประทับ โดยถือโอกาสขณะที่อยู่ท่ามกลางมหาสมาคม แม้รู้ว่าม้านั้นดุร้าย พระปิยมหาราชเจ้าก็จะไม่ทรงหลีกหนี ด้วยขัตติยะมานะที่ทรงมีอยู่ในฐานะผู้นำประเทศ หากทรงพลาดพลั้งนั่นคือ "อุบัติเหตุ" ใครก็จะเอาผิดหรือต่อว่าเจ้าเศษฝรั่งไม่ได้
ม้าตัวนั้นเล่าลือกันว่า เคยโขกกัดผู้เลี้ยงดูและผู้หาญขึ้นไปขี่ตายมาแล้วหลายคน ในครั้งนั้นพระองค์ใช้พระหัตถ์ขวารวบยอดหญ้าแล้วดึงขึ้นมากำมือหนึ่ง ทรงตั้งจิตอธิษฐานถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราชและพระปลัดเอี่ยม เจริญภาวนาพระคาถาอิติปิโสเรือนเตี้ยที่พระปลัดเอี่ยมถวายสามจบ ทรงเป่าลมจากพระโอษฐ์ลงไปบนกำหญ้านั้น แล้วแผ่เมตตาซ้ำ ยื่นส่งไปที่ปากม้า
เจ้าสัตว์สี่เท้าผู้ดุร้ายสะบัดแผงคอส่งเสียงดังลั่นก่อนจะอ้าปากงับเอาหญ้าในพระหัตถ์ไปเคี้ยวกินแล้วก็กลืนลงไป ทรงเอื้อมพระหัตถ์ไปตบที่ขาหน้าของมันสามครั้ง เจ้าม้านั้นก็ก้มหัวลงมาดมที่พระกรไม่แสดงอาการตื่น หญ้าเสกสำริดผลตามประสงค์ เป็นปฐมเหตุแห่งพระบรมรูปทรงม้า หน้าพระราชวังดุสิต ที่เล่าขานกันต่อมาช้านาน และยังคงกึกก้องในโสตประสาทของปวงชนชาวไทยต่อไป ชั่วกัลปาวสาน
เมื่อรวมพุทธคุณแห่งยันต์เฑาะว์รันโต คาถาพระเจ้า ๕ พระองค์ คาถาหัวใจปาฏิโมกข์ และคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า เหรียญหลวงพ่อโต วัดปราโมทย์ จึงขึ้นชื่อว่า มีพุทธคุณดังคำกล่าวที่ว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" คือ "ไม่อาจพรรณนาได้หมด ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์"
ปัจจุบันวัดปราโมทย์มี พระครูปลัดปริยัตวรวัฒน์ หรือที่เราเรียกท่านจนติดปากว่า หลวงพ่อเลิศ แม้ว่าหลวงพ่อเลิศจะมีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอ แต่ท่านก็ยังปฏิบัติตนเหมือนเดิม คือ นอนดึกตื่นเช้าเพื่อปฏิบัติกิจของสงฆ์ ตรวจตราบริเวณวัด ปัดกวาดใบไม้เพื่อความสะอาดตาแก่ผู้พบเห็น ทำวัตรเช้า-เย็นเป็นกิจวัตร รวมทั้งจัดทำพิธี “ลอยเคราะห์ตัดกรรมรับโชค” ให้แก่ญาติโยมที่เดินทางไปถึงวัดจะกี่คนก็ตาม ถือว่าเป็นเจ้าคณะอำเภอต้นแบบของวงการปกครองคณะสงฆ์
คาถาบทหนึ่งที่หลวงพ่อเลิศ มักบอกให้ผู้มาร่วมพิธีลอยเคราะห์ตัดกรรมรับโชค คือ "คาถาคารวะพระพุทธเจ้า" หรือ "คำบูชาพระบรมศาสดา" ที่ว่า "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" โดยให้สวดก่อนนอน ๓ จบ จะมีพุทธคุณ คือ ๑.ทำให้หลับลึก หลับสนิท ๒.ผีไม่อำ และ ๓.หากมีเหตุร้ายเกิดขึ้นระหว่างหลับ เช่น ไฟไหม้ โจรปล้น จะมีคนมาปลุก
"นะโม" แปลว่า พระผู้มีพระภาคทรงเป็นใหญ่กว่ามนุษย์ เทพยดา พรหม มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง
"ตัสสะ" แปลว่า ขอบูชา ขอนอบน้อม ขอนมัสการ
"ภะคะวะโต" แปลว่า พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้จำแนกธรรมอันยิ่ง อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
"อะระหะโต" แปลว่า อรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ไกลจากเครื่องข้องทั้งปวง
"สัมมาสัมพุทธัสสะ" แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยพระองค์เอง ทรงรู้ดี รู้จริง รู้ยิ่งกว่าผู้รู้อื่นใด
"คาถาคารวะพระพุทธเจ้า" เป็นพระคาถามีปรากฏอยู่ในคาถามงคลร้อยแปด ที่พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายพิจารณาเห็นว่า อักษรทั้ง ๕ บทนี้ แต่ละบท ล้วนเป็นคำกล่าวนมัสการทั้งสิ้น จึงได้ประมวลเข้าไว้เป็นบทเดียวกัน รวมเป็นบทเดียวว่า "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" แปลโดยรวมว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ทั้งนี้ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล อดีตประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) เคยกล่าวไว้ว่า “คาถาบทนี้ภาวนาเพียงจบเดียวก็ขลังแล้ว แต่ที่ให้ภาวนา ๓ จบ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด”
*************************
เรื่องโดย : คมชัดลึกออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น