วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พระคาถาพระพรหม "เม กะ มุ อุ" สุดยอดพุทธคุณ "เมตตา-มหานิยม"

ในคติพุทธศาสนา พระพรหม เป็นชาวสวรรค์ชั้นสูงขั้นหนึ่งที่สูงกว่าเทวดาทั่วไป เรียกว่า "พรหม" พระพรหมยังอยู่ในกามาวจรภพ มีการวนเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในสวรรค์ที่เรียกว่าชั้นพรหม (พรหมภูมิ)

พระพรหมแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ พรหมที่มีรูป เรียกว่า "รูปพรหม" มีทั้งหมด ๑๖ ชั้น และพรหมที่ไม่มีรูป เรียกว่า "อรูปพรหม" มีทั้งหมด ๔ ชั้น ทั้งนี้ อรูปพรหมจะสูงกว่ารูปพรหมพระพรหม เกิดจากท่านผู้มีความเพียรกล้า ทรงไว้ซึ่งปัญญาเกินสามัญชน ปรารถนาจะพ้นจากกิเลสานุสัย เพราะเห็นว่ามีโทษพาให้ ยุ่งนัก ใคร่จักห้ามจิตมิให้ตกอยู่ในอำนาจกิเลส จึงสู้อุตสาหะพยายามบำเพ็ญสมถภาวนา ตามที่ท่านบุรพาจารย์สั่งสอนกันสืบๆ มา บางพวกเป็นชีป่าดาบส บางพวก ทรงพรตเป็นโยคี ฤๅษีในสมัยที่มีพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ในโลก บางพวกก็เป็นพระภิกษุสามเณร ต่างบำเพ็ญสมถภาวนา จนได้สำเร็จฌาน

ครั้นถึงกาลกิริยาตายจากมนุษย์โลก จึงตรงไปอุบัติเกิดในพรหมวิมาน ณ พรหมโลก อันเป็นแดนซึ่งมีแต่สุขไม่มีเรื่องกามเข้าไปเกี่ยวข้อง ตามอำนาจฌานที่ได้บรรลุเป็นพระพรหมผู้วิเศษ มหาเทพผู้สร้างโลกและลิขิตชีวิตมนุษย์ คือ พระเจ้าผู้สร้าง ผู้ลิขิตความเป็นไปของทุกสรรพสิ่ง เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ทุกคน เป็นผู้รู้ความเคลื่อนไหวของสรรพชีวิต เหตุการณ์สำคัญของโลกล้วนอยู่ในสายตาของพระพรหม ทรงรับฟังคำอธิษฐานของผู้ศรัทธาเสมอ ผู้บูชาพระพรหมและทำความดี จะได้รับการบันดาลพรให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ พระมงคลสิทธิกร หรือ หลวงพ่อพูล อัตตรักโข อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม ละสังขาร พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หรือ หลวงพี่น้ำฝน ทายาทศิษย์เอกหลวงพ่อพูล เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ประธานมูลนิธิหลวงพ่อพูล จัดงานสานต่อประเพณีพิธี ไหว้ครู บูรพาจารย์ จัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ประกาศคุณงามความดี ถวายความกตัญญูกตเวที แด่ครูบาอาจารย์ที่ทรงคุณอันประเสริฐ โดยในปีนี้จัดให้มีพิธีครอบเศียร พระพรหมประกาศิต เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา

เพื่อเป็นที่ระลึกในงานไหว้ครู และหาปัจจัยสมทบทุนสร้างวิหารประดิษฐานหลวงพ่อพูล หลวงพี่น้ำฝนได้จัดสร้างพุทธพรหมประกาศิต ที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ ประกอบด้วย ๑.ขนาดบูชา ๒.รูปหล่อลอยองค์ ขนาดห้อยคอ และ ๓.แบบเหรียญ ขนาดห้อยคอ ทั้งนี้หลวงพี่น้ำฝนอัญเชิญดวงวิญญาณหลวงพ่อพูล รวมพลังปลุกเสกแผ่เมตตา พร้อมด้วยพระเถราจารย์ทรงคุณวิเศษ นั่งปรกอธิษฐานจิต ในวันอังคารที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา


เหรียญพุทธพรหมประกาศิต
รูปหล่อลอยองค์ ขนาดห้อยคอ เนื้อโลหะชุบเงินไมครอน ชุบทองไมครอน พุทธศิลป์ พระพรหม ถือศาสตราวุธ มีความหมายดังนี้

ลูกประคำ หมายถึง การสวดมนต์ภาวนาเพื่อแผ่เมตตาไปยังสรรพชีวิต

ดอกบัว คือ ความสวยงามของธรรมะ ความดีงาม พระองค์ทรงสอนให้มนุษย์กระทำในสิ่งที่ดีงามและมีเมตตาต่อผู้อื่นเสมอ

คัมภีร์ คือ การตั้งตนอยู่ในความดีความชอบการศึกษาบทสวดและโยคะเพื่อมุ่งตรงสู่พระผู้เป็นเจ้า

หม้อน้ำ คือ กมัณฑลุ หรือ หม้อกลัศ ที่นักพรตตวงน้ำจากแม่น้ำคงคาไปใช้ในพิธีกรรมบูชาเทพต่างๆ (น้ำมนต์บริสุทธิ์) ประทับนั่งบนพาหนะพญา
ใต้ฐานดอกจันจารึกยันต์หัวใจพระพรหม ที่ว่า "เม กะ มุ อุ" คือ หัวใจพระพรหม มีความหมายในพรหมวิหาร ๔ คือ มีความหมาย ดังนี้

เม - เมตตา
กะ - กรุณา
มุ - มุทิตา รู้สึกยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุ - อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ยินดียินร้าย

ส่วนเหรียญพุทธพรหมประกาศิต เนื้อ ๓ กษัตริย์เพ้นท์สี พุทธศิลป์ ด้านหน้า เหรียญพุทธพรหมประกาศิต ตรงกลาง พระพรหม ถือศาสตราวุธ มีความหมายดังนี้

ลูกประคำ หมายถึง การสวดมนต์ภาวนาเพื่อแผ่เมตตาไปยังสรรพชีวิต

ดอกบัว คือ ความสวยงามของธรรมะ ความดีงาม พระองค์ทรงสอนให้มนุษย์กระทำในสิ่งที่ดีงามและมีเมตตาต่อผู้อื่นเสมอ

คัมภีร์ คือ การตั้งตนอยู่ในความดีความชอบการศึกษาบทสวดและโยคะเพื่อมุ่งตรงสู่พระผู้เป็นเจ้า

หม้อน้ำ คือ กมัณฑลุ หรือ หม้อกลัศ ที่นักพรตตวงน้ำจากแม่น้ำคงคาไปใช้ในพิธีกรรมบูชาเทพต่างๆ (น้ำมนต์บริสุทธิ์) ประทับนั่งบนพาหนะพญาหงส์
ด้านล่างจารึกคำว่า “พุทธพรหมประกาศิต”

พุทธศิลป์ภายในกรอบ ๕ เหลี่ยม ล้อมรอบด้วย ลายดอกบัวตูม บัวบาน ด้านบนสุด ประดิษฐาน พระพุทธเมตตา ประดิษฐานอยู่ ณ พุทธคยา พุทธอนุสรณ์สถาน แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ ประเทศอินเดีย

พุทธศิลป์ ด้านหลัง เหรียญพุทธพรหมประกาศิต ตรงกลาง ยันต์นะเมตตา ยันต์ครู ประจำองค์หลวงพ่อพูล ล้อมรอบด้วยยันต์พระคาถาหัวใจพระพรหม เม (เมตตา) กะ (กรุณา) มุ (มุทิตา) อุ (อุเบกขา) จารึกล้อมไว้ใน ๔ ทิศ

ส่วนพุทธศิลป์ภายในกรอบ ๕ เหลี่ยม จารึกยันต์พระคาถา พระเจ้า ๕ พระองค์ ที่ว่า นะ โม พุท ธา ยะ จารึกอักขระอักษรยันต์คำว่า พระพุทธเมตตา

ยันต์ในวงกลม คือ ตัวเฑาะว์ เป็นตำรับของ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม แต่ท่านจะเรียกเป็น ยันต์ นะ ซึ่งปรากฏใน ๑๐๘ นะ
ด้านล่าง ยันต์เรียกธาตุ ๔ ที่ว่า "นะ มะ พะ ธะ" หมายถึง "ดิน น้ำ ลม ไฟ" ด้านล่างจารึกอักษรภาษาไทย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม

พระพรหม-พรหมวิหาร ๔

ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร"

ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น

โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร" เป็นต้น

ส่วนความหมายของ พรหมวิหาร ๔ แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ ได้แก่

๑.เมตตา หมายถึง ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้ และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น

๒.กรุณา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน

๓.มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน

๔.อุเบกขา หมายถึง การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น

*************************

เรื่องโดย : คมชัดลึกออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น