วัดเสมียนนารี กรุงเทพฯ,
วัดยาง กรุงเทพฯ,
วัดธาตุทอง กรุงเทพฯ,
วัดชัยมงคล จ.ชลบุรี,
วัดอาษาสงคราม จ.สมุทรปราการ,
วัดบางพลีใหญ่ใน จ.สมุทรปราการ เป็นต้น
วัดเป็นสิ่งที่มีมาคู่สังคมไทยเป็นเวลานาน มีบทบาททั้งในด้านการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งเป็นแหล่งศึกษาวิชาความรู้ เป็นโรงเรียนของชาวไทยมาแต่โบราณ
วัดในประเทศไทย แบ่งออกเป็น พระอารามหลวง (หรือวัดหลวง) วัดราษฎร์ และวัดร้างพระอารามหลวง คือ วัดที่พระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงสร้างหรือทรงบูรณปฏิสังขรณ์ หรือมีผู้สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นวัดหลวง และวัดที่ราษฎรสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ และขอพระราชทานให้ทรงรับไว้เป็นพระ
ปัจจุบัน วัดที่ได้ยกย่องขึ้นเป็นพระอารามหลวง ต้องมีลักษณะถูกต้องตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง พ.ศ.2518
การจัดลำดับชั้นของพระอารามหลวง เริ่มมีขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ.2485 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบแบ่งชั้นพระอารามหลวงออกเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี แต่ละชั้นยังแยกชนิดออกไปอีกหลายระดับ โดยมีสร้อยต่อท้ายชื่อวัดตามฐานะ ดังนี้
1.พระอารามหลวงชั้นเอก ได้แก่ วัดที่มีเจดียสถานบรรจุพระบรมอัฐิ หรือเป็นวัดที่มีเกียรติสูง มี 3 ระดับ คือ
ชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร- ชนิดราชวรวิหาร- ชนิดวรมหาวิหาร
2.พระอารามหลวงชั้นโท ได้แก่ วัดที่มีเจดียสถานสำคัญ มี 4 ระดับ คือ
ชนิดราชวรมหาวิหาร- ชนิดราชวรวิหาร- ชนิดวรมหาวิหาร- ชนิดวรวิหาร
ชนิดราชวรมหาวิหาร- ชนิดราชวรวิหาร- ชนิดวรมหาวิหาร- ชนิดวรวิหาร
3.พระอารามหลวงชั้นตรี ได้แก่ วัดประจำหัวเมือง หรือวัดที่มีความสำคัญชั้นรอง มี 3 ระดับ คือ
ชนิดราชวรวิหาร- ชนิดวรวิหาร- ชนิดสามัญ (ไม่มีสร้อยนามต่อท้าย)
ทั้งนี้ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ชี้แจงขั้นตอนการขอยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง
การขอยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง มีขั้นตอนและวิธีดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการขอยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง พ.ศ.2518 ดังนี้
ชนิดราชวรวิหาร- ชนิดวรวิหาร- ชนิดสามัญ (ไม่มีสร้อยนามต่อท้าย)
ทั้งนี้ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ชี้แจงขั้นตอนการขอยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง
การขอยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง มีขั้นตอนและวิธีดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการขอยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง พ.ศ.2518 ดังนี้
1.นายอำเภอรายงานขอยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ตามแบบที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้กำหนด ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
2.ผู้ว่าราชการจังหวัดนำปรึกษาเจ้าคณะจังหวัด เห็นสมควรแล้ว จะได้รายงานไปยังสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
3.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นสมควรแล้ว จะขอรับความเห็นชอบจากเจ้าคณะภาคและเจ้าคณะใหญ่ แล้วรายงานเพื่อพิจารณานำเสนอมหาเถรสมาคม
4.มหาเถรสมาคมเห็นสมควรแล้ว จะได้ขอพระราชทานยกวัดนั้นขึ้นเป็นพระอารามหลวง
5.เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แล้ว จะได้แจ้งความยกวัดนั้นขึ้นเป็นพระอารามหลวงในราชกิจจานุเบกษา
6.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติขึ้นทะเบียนพระอารามหลวงแล้ว จะได้แจ้งเจ้าคณะภาค และผู้ว่าราชการจังหวัด
เฉกเช่น วัดบางพลีใหญ่ใน ที่ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรีที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานและมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เพราะเป็นวัดที่ใช้ประดิษฐานหลวงพ่อโตซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัยและเป็นหนึ่งในพระสามพี่น้อง วัดแห่งนี้เดิมมีชื่อว่า วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม
วัด บางพลีใหญ่ใน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด สมุทรปราการ วัดนี้อยู่ริมคลองสำโรง ห่างจากประตูน้ำ สำโรง ประมาณ 13 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 40 กว่าไร่
ทางประวัติศาสตร์ พระนเรศวรทรงยาตรากองทัพ ขับไล่ข้าศึกมาทางทิศตะวันออก ของกรุงศรีอยุธยา มาถึงตำบลหนึ่งไม่ปรากฏนาม ทางทำพิธีพลีกรรมบวงสรวงตามตำรับพิชัยสงคราม เมื่อชนะสงครามแล้ว พระองค์ทรงกลับมาสร้างพลับพลานี้และเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดพลับลพาชัยชนะสงคราม ต่อมา เรียกชื่อตามตำบลที่ทำพิธีพลีกรรมบวงสรวงว่า ตำบลบางพลี จึงเรียกวัดพลับพลาชัยชนะสงครามว่า วัดบางพลี ต่อมามีพระองค์ใหญ่ คือหลวงพ่อโต มาประดิษฐานในอุโบสถ และมีวัดบางพลีใหญ่กลางอยู่ด้านนอก จึงเรียกวัดพลับพลาชัยชนะสงครามว่า วัดบางพลีใหญ่ใน หรือวัดหลวงพ่อโร มาจนตราบเท่าทุกวันนี้
กล่าวสำหรับรายนามเจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่ใน
รูปที่ ๑ พระอธิการจันทร์
รูปที่ ๒ พระอธิการดำ
รูปที่ ๓ พระอธิการจันทร์
รูปที่ ๔ พระอธิการเสม
รูปที่ ๕ พระอธิการไสว
รูปที่ ๖ พระปลัดกุ่ย สุทัศโน
รูปที่ ๗ พระมหารัตน์
รูปที่ ๘ พระครูพิศาล สมวัตต์ (ม้วน สุเมโธ งาม)
รูปที่ ๙ พระครูวุฒิธรรมสุนทร (พุธ แย้มสบาย)
รูปที่ ๑๐ พระครูโสภณธรรมานุกูล
รูปที่ ๑๑ พระโสภณพัฒนากร (เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน) (จรัญ วงษ์ดี) วิทยฐานะ น.ธ.เอก ตำแหน่งปัจจุบัน - เจ้าคณะตำบลบางพลี – เจ้าอาวาสพระอารามหลวง
และสำหรับพิธีเฉลิมฉลองได้จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๖.๐๙ น. เข้ารับประกาศสถาปนา พระอารามหลวง ณ พระอุโบสถวัดสระเกตุ กรุงเทพ เวลา ๑๘.๒๙ น. พิธีประกาศสถาปนา พระอารามหลวง ณ อุโบสถวัดบางพลีใหญ่ใน โดยพระสงฆ์ทั้งพระอาราม เจริญชัยมงคลคาถา ลั่นฆ้อง กลองชัย สมโภชเป็นปฐมฤกษ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น