พระอาจารย์ประสูติ ท่านมีนามเดิมว่า สูตร คงฤทธิ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2508 ณ หมู่ที่ 2 บ้านห้วยหลุด ต.ห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง โยมบิดา ชื่อ นายประดิษฐ์ และโยมมารดา ชื่อ นางสนิท คงฤทธิ์ ครอบครัวประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ในวัยเยาว์ ท่านเรียนหนังสือระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนบ้านทุ่งต่อ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง และได้ไปพักอาศัยอยู่ที่วัดในเตา กับ หลวงปู่แสง ธมฺมสโร เจ้าอาวาสวัดในเตา ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองตรัง สายสำนักเขาอ้อ จ.พัทลุง
ท่านได้ศึกษาสรรพวิชาจากหลวงปู่แสง จนกระทั่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนห้วยยอด จ.ตรัง และได้ผันตัวเองเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บรรพชา ณ วัดห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
ครั้นเมื่ออายุครบ 20 ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดห้วยยอด โดยมีพระครูนิมิตสังฆคุณ เจ้าคณะอำเภอห้วยยอด เป็นพระอุปัชฌาย์ ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม สามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก ก่อนกราบลาพระอุปัชฌาย์ เพื่อออกธุดงควัตร เสาะแสวงหาพระเกจิอาจารย์ชื่อดังตามภาคต่างๆ เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชาความรู้
เริ่มต้นเรียนจากหลวงปู่แสง เจ้าอาวาสวัดในเตา ซึ่งขณะนั้นในบริเวณรอบวัด ถือเป็นพื้นที่สีแดง แต่หลวงปู่แสงและพระอาจารย์ประสูติ สามารถอยู่จำพรรษาได้อย่างปกติสุข เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน
หลังจากร่ำเรียนวิชาจากหลวงปู่แสงแล้ว ท่านได้กราบลา เพื่อเดินทางไปศึกษาวิชากับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วทุกภาคของประเทศไทย เช่น
เดินทางไปภาคเหนือ เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ "ครูบาเหมย" วัดศรีดงเย็น จ.เชียงใหม่
เดินทางลงมายังภาคกลาง เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ "หลวงพ่อสัมฤทธิ์" วัดถ้ำแผด จ.กาญจนบุรี
ส่วนภาคใต้ ท่านเดินทางไปยังหลายวัด เพื่อขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ อาทิ
หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน อ.หลังสวน จ.ชุมพร,
พระครูบุญญาภินันท์ หรือพระอาจารย์หรีด วัดป่าโมกข์ จ.พังงา,
หลวงปู่ชื่น วัดทุ่งชน จ.ตรัง เป็นต้น
พระครูบุญญาภินันท์ หรือพระอาจารย์หรีด วัดป่าโมกข์ จ.พังงา,
หลวงปู่ชื่น วัดทุ่งชน จ.ตรัง เป็นต้น
กระทั่ง พ.ศ.2540 ท่านจึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง อีกครั้ง ต่อมา พ.ศ. 2535 หลวงปู่แสง เจ้าอาวาสวัดในเตา มรณภาพลง ทำให้วัดแห่งนี้แทบจะกลายเป็นวัดร้าง เนื่องจากไม่มีเจ้าอาวาส และไม่มีพระลูกวัดอาศัยอยู่อย่างถาวร เมื่อชาวบ้านรับทราบว่า พระอาจารย์ประสูติ เดินทางกลับมาจำวัดอยู่ที่วัดห้วยยอด ในฐานะที่เป็นศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่แสง มากที่สุด และ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของสาธุชน บรรดาชาวบ้านจึงได้ไปกราบนิมนต์ขอให้เป็นเจ้าอาวาสวัดในเตา นับตั้งแต่ พ.ศ.2544 จนถึงปัจจุบัน
สำหรับวัดในเตา ได้ก่อสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.2203 มีพระพุทธรูปที่สวยงามและศักดิ์สิทธิ์ ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย ประดิษฐานอยู่คู่กับวัด 3 องค์ คือ
- พระพุทธโกษีย์
- พระธรรมรูจี
- พระธรรมรูจี
- พระศรีไกรสร
โดยได้นำเอาชื่อของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ที่ประดิษฐานอยู่ในถ้ำ มาตั้งเป็นชื่อวัด และภายในถ้ำแห่งนี้ เป็นที่ร่ำลือกันว่า มีเหล็กไหล ฝังอยู่มานานหลายร้อยปีแล้ว เป็นผลทำให้มีชาวบ้านจำนวนมาก แอบลักลอบเข้าไปขุดเหล็กไหล สร้างความเสียหายอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้ พระอาจารย์ประสูติ จึงได้นำเหล็กไหล ที่ได้กระทำพิธีขอพลีขึ้นมาจากใต้ถ้ำ รวมน้ำหนักประมาณ 400 กิโลกรัม ไปฝังเอาไว้ใต้พระประธานภายในอุโบสถวัด เพื่อต้องการแก้ปัญหาการทุบทำลายถ้ำ ขโมยเหล็กไหล อย่างไรก็ตาม ท่านได้พยายามสั่งสอน เรื่องการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาให้กับชาวบ้าน ทำให้วัดแห่งนี้กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจของสาธุชนผู้มีความศรัทธา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น