เจ้าอาวาส วัดสุทธาวาส วิปัสสนา ต.ลาดบัวหลวง อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา
แม่ทัพธรรม แห่ง ภาคกลาง พระคณาจารย์ผู้เรืองอาคม แห่ง เมืองอยุธยา
(ตรงกับขึ้น 12 ค่ำ เดือน 1) ปีชวด ที่บ้านเลขที่ 103/1 หมู่ที่ 4 ต.สองคลอง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
โยมบิดาชื่อ นายสำราญ จูนิยม โยมมารดาชื่อ นางนวล จูนิยม ครอบครัวประกอบอาชีพเลี้ยงปลาสลิด
โยมบิดาชื่อ นายสำราญ จูนิยม โยมมารดาชื่อ นางนวล จูนิยม ครอบครัวประกอบอาชีพเลี้ยงปลาสลิด
มีพี่น้องด้วยกันทั้งหมด จำนวน 3 คน ได้แก่
1. หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย
2. นายสาโรจน์ จูนิยม
3. นางศิรัตน์ จูนิยม
2. นายสาโรจน์ จูนิยม
3. นางศิรัตน์ จูนิยม
ในช่วงวัยเด็กหลวงพ่อรักษ์ ได้รับการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนจากบิดามารดา และญาติมิตรเป็นอย่างดีเช่นบุตรคนอื่นๆ ความเป็นอยู่สนุกสนานตามวัยเด็กทั่วไป มีสุขภาพแข็งแรง และชอบเข้าวัดทำบุญโดยจะไปกับคุณยายทุกวันพระ รวมทั้งยังมีอุปนิสัยชอบพูดคุยกับพระเณร ชอบศึกษาเขียนอักขระขอม และเลขยันต์ต่างๆ อยู่เนืองนิตย์ ท่านได้รับการศึกษาจากโรงเรียน หลวงพ่อปาน คลองด่านอนุสรณ์ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ สำเร็จการศึกษามัธยมปีที่ 3
เมื่ออายุ 19 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดแจ่มราษฎร์ศรัทธาธรรม จ.สมุทรปราการ โดยมี หลวงพ่อสะอาด (ศิษย์สาย หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) เป็นพระอุปัฌาย์ ท่านได้ปฏิบัติรับใช้ หลวงพ่อสะอาด และศึกษาธรรมต่างๆ ทั้งรวมกรรมฐาน จากพระอุปัชฌาย์ ซึ่งต่อมาได้ลาสิกขามาช่วยโยมบิดามารดาประกอบอาชีพทางบ้าน
ซึ่งต่อมา เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2542 หลวงพ่อรักษ์ ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดหลักชัย ต.หลักชัย อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา
โดยมี พระครูสิริธรรมทัต (หลวงพ่อสุมิตร) เจ้าอาวาสวัดหลักชัย เป็นพระอุปัชฌาย์
พระครูโฆษิตวิหารคุณ วัดตรีพาราสีมาเขต เป็นพระกรรมวาจาจารย์
และ พระครูเกษมปทุมรักษ์ วัดลาดปทุมคงคาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า อนาลโย หมายถึง ผู้ไม่มีอาลัย
เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดหลักชัย คอยอุปัฏฐากรับใช้พระอุปัชฌาย์ จนกระทั่งพระอุปัชฌาย์มรณภาพลง ซึ่งระหว่างนั้นท่านก็ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม ปฏิบัติสมถะกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน อยู่เนืองนิตย์ และสามารถศึกษาสอบนักธรรมชั้น ตรี - โท - เอก ได้อย่างเจนจบ และที่น่าอัศจรรย์ คือ หลวงพ่อรักษ์ สามารถท่องจำพระปาฎิโมกข์ได้อย่างแม่นยำ ในขณะที่ท่านยังเป็นศิษย์วัดอยู่
เกียรติประวัติ และ สมณศักดิ์ฐานานุกรม
พ.ศ. 2542 สอบได้นักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม พระภิกษุ-สามเณร)
พ.ศ. 2544 สอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. 2545 สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. 2545 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระสมุห์ ในฐานานุกรมของ พระครูสุภัทรกิตติ เจ้าอาวาสวัดลาดบัวหลวง
เจ้าคณะอำเภอลาดบัวหลวง (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว)
พ.ศ. 2545 ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรพระกรรมฐานประจำจังหวัด รุ่นที่ 1 (กรมศาสนา) เป็นพระวิปัสสนาจารย์
พ.ศ. 2545 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการ เจ้าคณะอำเภอลาดบัวหลวง (ปัจจุบันลาออกแล้ว)
พ.ศ. 2545 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรักษาการแทน เจ้าอาวาสวัดสุทธาวาส (เป็นพระกรรมวาจาจารย์)
พ.ศ. 2546 ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรพระกรรมฐานประจำจังหวัด รุ่นที่ 1 (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ) เป็นพระวิปัสสนาจารย์
พ.ศ. 2547 รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดสุทธาวาส
พัฒนาวัดได้รับแต่งตั้ง เป็นศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรม
พัฒนาวัดได้รับการแต่งตั้งเป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.)
พ.ศ. 2549 พัฒนาวัดให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมสอบกรรมฐาน
ได้รับแต่งตั้งจากมหาเถรสมาคม ให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แห่งที่ 13
โดยมี พระสมุห์สมรักษ์ อนาลโย (หลวงพ่อรักษ์) เป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรม
พ.ศ. 2552 ได้รับพิจารณาแต่งตั้ง ให้เป็นประธานจัดสร้างพุทธมณฑลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. 2555 รับมอบตราตั้ง พระครูฐานานุกรม ของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ
ในพระพรหมโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ เจ้าคณะภาค 5
โดยมี เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ
เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานพิธีมอบตราตั้ง
ให้ดำรงตำแหน่ง พระครูฐานานุกรม ที่ "พระครูธรรมธรสมรักษ์ อนาลโย"
มจร. ถวายปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิปัสสนาภาวนา
พ.ศ. 2544 สอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. 2545 สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. 2545 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระสมุห์ ในฐานานุกรมของ พระครูสุภัทรกิตติ เจ้าอาวาสวัดลาดบัวหลวง
เจ้าคณะอำเภอลาดบัวหลวง (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว)
พ.ศ. 2545 ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรพระกรรมฐานประจำจังหวัด รุ่นที่ 1 (กรมศาสนา) เป็นพระวิปัสสนาจารย์
พ.ศ. 2545 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการ เจ้าคณะอำเภอลาดบัวหลวง (ปัจจุบันลาออกแล้ว)
พ.ศ. 2545 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรักษาการแทน เจ้าอาวาสวัดสุทธาวาส (เป็นพระกรรมวาจาจารย์)
พ.ศ. 2546 ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรพระกรรมฐานประจำจังหวัด รุ่นที่ 1 (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ) เป็นพระวิปัสสนาจารย์
พ.ศ. 2547 รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดสุทธาวาส
พัฒนาวัดได้รับแต่งตั้ง เป็นศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรม
พัฒนาวัดได้รับการแต่งตั้งเป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.)
พ.ศ. 2549 พัฒนาวัดให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมสอบกรรมฐาน
ได้รับแต่งตั้งจากมหาเถรสมาคม ให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แห่งที่ 13
โดยมี พระสมุห์สมรักษ์ อนาลโย (หลวงพ่อรักษ์) เป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรม
พ.ศ. 2552 ได้รับพิจารณาแต่งตั้ง ให้เป็นประธานจัดสร้างพุทธมณฑลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. 2555 รับมอบตราตั้ง พระครูฐานานุกรม ของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ
ในพระพรหมโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ เจ้าคณะภาค 5
โดยมี เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ
เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานพิธีมอบตราตั้ง
ให้ดำรงตำแหน่ง พระครูฐานานุกรม ที่ "พระครูธรรมธรสมรักษ์ อนาลโย"
มจร. ถวายปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิปัสสนาภาวนา
ด้านการพิธีกรรมปลุกเสก สร้างพระเครื่อง และวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ ของ หลวงพ่อรักษ์ นั้น
ท่านได้เริ่มสร้างเป็นพระผงขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อตอนท่านอายุ 30 ปี โดยท่านได้นำวิชาความรู้ต่างๆ ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา โดยเริ่มเขียนยันต์ ลงผงอิทธิเจ และผงยันต์ต่างๆ รวมทั้งหามวลสาร เช่น ผงเกษรดอกไม้บูชาพระ, ดอกไม้บูชาครูอาจารย์, ผงธูป, ผงพระเครื่องหักต่างๆ, ผงว่าน นำมาผสมทำวัตถุมงคล และ ทำพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกมวลสารเป็นปฐมฤกษ์ ก่อนปั้มพระ และเมื่อสร้างเป็นองค์พระเครื่องเรียบร้อยแล้ว ก็นำมาปลุกเสกไตรมาสอีก 3 เดือน
วัตถุมงคลของ หลวงพ่อรักษ์ มีหลายรูปแบบ พระสมเด็จ พระปิดตา พระกริ่ง กำไล ตะกรุด พญาหนุมาน พญาคชสีห์ กระทิง เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อหาทุนทรัพย์สร้าง และพัฒนาวัดสุทธาวาส วิปัสสนา เป็นลำดับ
หลวงพ่อรักษ์ ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องของตะกรุดจารมือรุ่นต่างๆ สำหรับ ตะกรุดที่โดดเด่นมีประสบการณ์สูงของท่าน คือ "ตะกรุดมหาบารมี ๓๐ ทัศ" ซึ่งศิษยานุศิษย์ และสาธุชนต่างขนานนามท่านว่า "หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย เจ้าตำหรับตะกรุดมหาบารมี ๓๐ ทัศ แห่งทุ่งลาดบัวหลวง เมืองกรุงศรีอยุธยา"
วัตถุมงคลของ หลวงพ่อรักษ์ นั้นส่วนมากท่านมักจะปลุกเสกของท่านด้วยพุทธาคมที่ท่านร่ำเรียนมาอย่างเต็มพลัง หลักการอธิษฐานจิตของท่านนั้นจะเน้นไปทาง เมตตามหาเสน่ห์ - โชคลาภ เงินทอง - ความสำเร็จ - กันคุณไสยต่างๆ และด้านแคล้วคลาดกันภัยคงกระพัน เป็นเลิศ
การทำวัตถุมงคลของ หลวงพ่อรักษ์ นั้น ท่านมีหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย 4 ประการสำคัญคือ
1. ดูที่เจตนา ถ้าวัตถุประสงค์ดี วัตถุมงคลจึงจะดี
2. พิธีกรรม ถูกต้องตามโบราณกาลหรือไม่
3. มวลสารดี
4. ดูฤกษ์ผานาทีว่าเหมาะสมหรือไม่
3. มวลสารดี
4. ดูฤกษ์ผานาทีว่าเหมาะสมหรือไม่
หลวงพ่อรักษ์ ท่านสร้างวัตถุมงคลเพื่อสร้างถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนา ท่านกล่าวย้ำเสมอว่า การทำวัตถุมงคลต้องตั้งใจทำ ให้ผู้นำไปใช้ได้รับพุทธคุณครอบจักรวาล วัตถุมงคลทำไว้มอบให้กับญาติโยมที่บริจาคสมทบทุนสร้างวัด ไม่ได้ทำเพื่อซื้อขาย เป็นที่ระลึกว่าใครได้ไปสร้างโบสถ์ สร้างวิหาร สร้างถาวรวัตถุ ถวายไว้ในพระพุทธศาสนามาเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น