วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

พระเจ้าตากสินมหาราช แห่ง วัดนาคกลางวรวิหาร


"อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา แด่พระศาสนา สมถะ พระพุทธโคดม
ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี สมณะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม
เจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา
คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
พุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน"

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นพระราชปณิธานของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ทรงมีต่อพระพุทธศาสนา พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ การกอบกู้เอกราชจากพม่า ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และยังทรงส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา

ด้วยเหตุนี้เอง วัด หน่วยงานราชการ และบริษัทเอกชน จึงได้สร้างอนุสาวรีย์ไว้เป็นที่เคารพสักการบูชาจำนวนมาก โดยเฉพาะที่ วัดนาคกลางวรวิหาร ถ.อรุณอมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่ กทม. มีการสร้างไว้มากถึง ๙ อิริยาบถ อาทิ 

- ปางนั่งเมือง 
- ปางทรงม้า (แบบวงเวียนใหญ่) 
- ปางทรงม้า (แบบจันทบุรี) 
- ปางยืน (ออกรบ) 
- ปางยืน (ทรงเครื่องพระมหากษัตริย์) 
- ปางอุบาสก (นั่งวิปัสสนา) 
- ปางอุบาสก (เดินจงกลม) 
- ปางผนวช (นั่งวิปัสสนา) 
 - ปางผนวช (ยืนทรงบาตร)


“พระครูศรีปริยัติคุณ” เจ้าอาวาสวัดนาคกลางวรวิหาร กล่าวว่า วัดแห่งนี้มีความผูกพันกับพระองค์ท่าน ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงกอบกู้อิสรภาพให้ชนชาติไทยในอดีต และทรงเป็นปูชนียบุคคลในทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เพราะในระหว่างที่พระองค์ทรงทำหน้าที่พระมหากษัตริย์ ก็ยังทรงทำหน้าที่ของพุทธมามกะอย่างเต็มที่ จะเห็นได้ว่าท่านก็ทรงบริจาค ศีลก็ทรงรักษา ภาวนาก็ทรงเจริญ ทรงสนพระทัยในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ทั้งขณะที่อยู่ในป่า ในระหว่างการสู้รบตามหัวเมืองต่างๆ และขณะที่ประทับอยู่ในพระราชวัง ก็มักจะเสด็จออกจากวังมานั่งเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

ถึงแม้ว่าในรัชสมัยของพระองค์ บ้านเมืองจะตกอยู่ในภาวะสงครามเกือบตลอดเวลา แต่พระองค์กลับมิได้ทรงละเลยงานด้านศาสนจักร ได้ทรงมุ่งมั่นทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองเหมือนเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา พระราชกรณียกิจด้านฟื้นฟูพระพุทธศาสนา เช่น บทสวดมนต์ พุทธชัยมงคลคาถา และสร้างพระยอดธง มีบันทึกโบราณบอกไว้ดังนี้

"เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตีเมืองจันทบุรีได้แล้ว ก็ทรงเล็งเห็นว่า สงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนาและยืดยาว จึงโปรดเกล้าให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้น แล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลาย มาสวดบทพาหุงมหากาบรรจุไว้ในองค์พระ และพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยการเจริญพาหุงมหากา จึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น