วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มรดกธรรม "หลวงพ่อปัญญา" อุโบสถใหญ่ที่สุดในโลก


เมื่อวันที่ 30 ต.ค. ที่ "อุโบสถกลางน้ำ" มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระธรรมวิมลโมลี เจ้าอาวาสวัดชลประทานฯ แถลงข่าวการสร้างอุโบสถกลางน้ำสานต่อปณิธาน พระพรหมมังคลาจารย์ หรือ หลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุ อดีตเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์ ว่า การก่อสร้างอุโบสถกลางน้ำดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ใช้งบประมาณ 192 ล้านบาท และจะมีการจัดพิธีมอบให้ มจร. ต้นปี 2556

ทั้งนี้ จุดเด่นของอุโบสถคือ จัดแสดงพระบรมสาทิสลักษณ์ที่แสดงถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 องค์สถาปนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทั้งยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่รวบรวมเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น สึนามิ การชุมนุมประท้วงของม็อบสีต่างๆ ด้วย


ส่วนบริเวณฐานของอุโบสถด้านนอกจะใช้หินทรายเขียว ซึ่งเป็นหินแบบเดียวกับที่ใช้สร้างปราสาทหินนครวัด ประเทศกัมพูชา แกะสลักเป็นภาพนูนต่ำเกี่ยวกับวัฒนธรรมของคนไทยในภาคต่างๆ ส่วนพระประธานในอุโบสถจะเป็นพระรัตนโกสินทร์ทรงเครื่อง

พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) กล่าวว่า อุโบสถกลางน้ำ เป็นอุโบสถ 2 ชั้น ชั้นล่างสามารถรองรับพระสงฆ์ได้ถึง 4,000 รูป จึงถือได้ว่าเป็น "อุโบสถที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก"

*************************

ข่าวโดย : ไทยรัฐออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พายุกระหน่ำ เจดีย์วัดมหรรณพาราม โค่น!!


นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วย นายธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผอ.สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร ตรวจสอบเจดีย์วัดมหรรณพาราม ซึ่งหักโค่นลงมา โดยนายสหวัฒน์ กล่าวว่า จากการสอบถามพระลูกวัดทราบว่าเมื่อดึกเวลาประมาณ 02.00 น.ของวันที่ 30 ต.ค. เกิดพายุฝนตกอย่างหนักทำให้ยอดเจดีย์บริวารภายในวัดมหรรณพารามหักโค่นลงมาอย่างแรง ใส่กุฏิพระลูกวัดรูปหนึ่ง จนหลังคากุฏิแตกกระจายทะลุลงมาถึงฝ้า แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ จากการตรวจสอบพบว่า ยอดเจดีย์หักลงมาเป็น 4 ท่อน เหลือแต่แกนใน ส่วนบริเวณเหนือองค์ระฆัง เป็นแกนก่ออิฐถือปูนอยู่ โดยไม่มีลักษณะโครงสร้างแกนเหล็กอยู่เลย

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อว่า ตนสันนิษฐานว่า ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างของเจดีย์ที่มีอายุยาวนานและไม่มีความแข็งแรง เนื่องจากสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 มีอายุยาวนานถึง 162 ปี โดยได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานจากกรมศิลปากร ในปี 2532 และอีกประเด็นหนึ่ง ทราบว่า ทางวัดได้ขออนุญาตกรมศิลปากร ในการบูรณะทาสีองค์เจดีย์ และได้ว่าจ้างภาคเอกชนให้มาดำเนินการ โดยติดตั้งนั่งร้านครอบอยู่รอบองค์เจดีย์ ซึ่งเมื่อถูกพายุฝนและลมแรงๆ ก็มีส่วนดึงทำให้เจดีย์เอียง หรือตัวยอดองค์เจดีย์ตั้งแต่ปล้องไฉนลงมาพังลงมาได้

นายสหวัฒน์ กล่าวด้วยว่า กรมศิลปากร ได้มอบหมายให้วิศวกรตรวจสอบอย่างละเอียด โดยมีความเห็นเบื้องต้นว่าการบูรณะ จะต้องใส่แกนเจดีย์ และก่ออิฐกลับขึ้นไปตามรูปแบบเดิม ขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้สถาปนิกสวนแบบเจดีย์โดยเร็วที่สุด เพื่อให้ทางวิศวกรสามารถคำนวณราคาการก่อสร้างได้ ว่าหากใส่แกนเจดีย์มีความสูงด้วยรูปทรงขนาดนี้จะต้องใช้งบประมาณเท่าใด อย่างไรก็ตาม ตนได้รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ นางสุกุมล คุณปลื้ม อดีต รมว.วัฒนธรรม ให้ทราบแล้ว โดยนางสุกุมล ขอให้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

“สำหรับงบประมาณในการดำเนินการนั้น ขณะนี้ต้องยอมรับว่ากรมศิลปากร ไม่มีงบประมาณสำรองไว้เลย มีเพียงเงินบูรณะโบราณสถานในเหตุการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ จำนวน 10 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ ก็มีสำนักศิลปากรทั่วประเทศ ทยอยของบประมาณเข้ามา เพื่อที่จะนำไปบูรณะโบราณสถานที่ประสบภัยพิบัติ ดังนั้น ทางกรมศิลปากร จะต้องมาจัดลำดับความสำคัญก่อนและหลังว่าสถานที่ใดเหมาะสมที่จะได้รับการบูรณะบ้าง เบื้องต้นจะของบประมาณจากทางวัดมหรรณพารามส่วนหนึ่งมาร่วมบูรณะกับงบของกรมศิลปากรไปก่อน” อธิบดีกรมศิลปากร กล่าว

ด้าน พระราชสุดกวี เจ้าอาวาสวัดมหรรณพาราม กล่าวว่า ทางวัดมหรรณพาราม พร้อมให้ความร่วมมือในด้านงบประมาณส่วนหนึ่งในการบูรณะ ซึ่งต้องการให้กรมศิลปากรเร่งเข้ามาดำเนินการโดยเร็วที่สุด

ขณะที่ นายธราพงษ์ กล่าวถึงความคืบหน้าการบูรณะและซ่อมแซมเศียรยักษ์ยอดพระปรางค์องค์เล็ก ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัดอรุณราชวราราม ซึ่งถูกฟ้าผ่าช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการบูรณะเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยในวันที่ 31 ตุลาคม เวลา 10.00 น. ที่วัดอรุณราชวราราม กรมศิลปากรจะแถลงความคืบหน้าการบูรณะ รวมถึงแผนการบูรณะ และวิธีการบูรณะหลังจากนี้ และจะรื้อนั่งร้านออกทั้งหมด เพื่อเตรียมการจัดการงานพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค


*************************

ข่าวโดย : ไทยรัฐออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ

สหรัฐฯ มอบงบ 4 ล้าน บูรณะวัดไชยฯ


นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการที่ นายไมเคิล เจ ฮอนนอลด์ ผู้ช่วยทูตวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมของสหรัฐอเมริกา ได้เข้าพบตน โดยได้หารือเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถาน วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปี 2554 โดยเบื้องต้นทางสหรัฐอเมริกายินดีที่จะให้ความร่วมมือกับกรมศิลปากรในการช่วยเหลือเกี่ยวกับการจัดทำระบบโครงสร้างป้องกันน้ำท่วมวัดไชยวัฒนาราม และได้อนุมัติเงินจำนวน 131,800 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 4,085,800 บาท จากกองทุนสถานทูตอเมริกา (The U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation ZAFCP) ในการดำเนินโครงการบูรณะวัดไชยวัฒนารามในปี 2556 ด้วย

โดยจะเริ่มจากการประสานงานกับ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เพื่อทำการสำรวจหน้าดินทั้งบริเวณของวัดไชยวัฒนารามว่ามีสภาพดินเป็นอย่างไร เนื่องจากน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา มีกำแพงทางด้านทิศตะวันตกล้มพัง จึงจะต้องดูในภาพรวมทั้งหมด ขณะเดียวกัน จะต้องหารือกับทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาถึงแผนการดำเนินการจัดสร้างถนนขึ้นใหม่ บริเวณรอบนอกวัดไชยวัฒนาราม ว่าจะสามารถทำเป็นเขื่อนป้องกันน้ำท่วมได้หรือไม่ นอกจากนี้ กรมศิลปากรจะมีการจัดทำสำเนา 3 มิติของวัดไชยฯ เพื่อเก็บข้อมูลเป็นหลักฐานการบูรณะทั้งหมดด้วย


*************************

ข่าวโดย : ไทยรัฐออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

นางกวัก มหาลาภ

แม่นางกวัก ในตำนานบันทึกไว้ว่า ชื่อ สุภาวดี กำเนิดในวรรณะพรามณ์ เมื่อแรกรุ่น มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม เป็นที่ต้องตาแก่ผู้พบเห็น

นางเป็นบุตรีของ สุจิตพราหมณ์ และนางสุมณฑาพราหมณี ซึ่งเป็นพ่อค้าของเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ (อยู่ไม่ไกลจากเมืองสาวัตถี) ต่อมาผู้เป็นพ่อ ได้ขยายกิจการซื้อเกวียนมา 1 เล่ม นำสินค้าไปเร่ขายในต่างถิ่น โดยได้นำบุตรสาวไปด้วย เพื่อเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ

ครั้งหนึ่ง นางสุภาวดีได้มีโอกาสฟังธรรมของ "พระมหากัสสปเถระเจ้า" ด้วยความเคารพ และได้รับพรจากพระเถระให้นางเป็นผู้สามารถเรียกโภคทรัพย์ทั้งหลายได้

และต่อมา นางได้มีโอกาสรับฟังธรรมจาก "พระสิวลีเถระเจ้า" ผู้เป็นพระอรหันต์ขีนาสพผู้เลิศกว่าผู้อื่นในด้านมีลาภสักการมาก เมื่อนางฟังธรรมเสร็จสิ้น และกล่าวโมทนาธรรมด้วยความเคารพแล้ว ก็ได้รับพรจากพระสิวลี ให้เป็นหญิงผู้เลิศกว่าหญิงอื่นในด้านลาภสักการะ




ด้วยเหตุที่นางฟังธรรมจาก 2 พระมหาเถระเจ้าโดยความเคารพ และได้รับพร ให้เจริญรุ่งเรืองในด้านมหาโภคทรัพย์ บริบูรณ์ในทรัพย์สมบัติทั้งปวงนี้เอง จึงทำให้นางเป็นผู้มีลาภสักการะมาก ตั้งแต่นั้นมา

เมื่อบิดานางไปค้าขายที่ไหน ก็จะนำนางนั่งเกวียนเป็นกระบวนหน้า นำกองคารวานสินค้าบิดาไป และแม้เดินทางไปในระหว่างทาง ยังไม่ทันถึงจุดหมายที่จะขายสินค้า ก็ขายสินค้าหมด จึงเป็นเหตุให้บิดานางร่ำรวย มีทรัพย์สินเงินทองมากมาย และมีเกวียนสินค้าบริวารมากเป็นพันๆ เล่ม เทียบได้กับท่านธนัญชัยเศรษฐี บิดาของวิสาขาแห่งแคว้นโกศล

และแม้ว่าบิดาของนางสุภาวดี จะแตกขบวนเกวียนสินค้าไปในทิศทางใด ถ้าเพียงแต่ทำหุ่นรูปนางสุภาวดี นั่งหน้าเกวียนสินค้าไปเท่านั้น ก็บันดาลให้กองเกวียนนั้น ขายสินค้าดี ขายสินค้าหมด ตั้งแต่ยังไม่ทันถึงที่หมาย ได้เงินทอง โภคทรัพย์มาเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ แม้เมื่อนางสิ้นชีวิตไปแล้ว ก็ยังยึดถือการทำหุ่นรูปนางตั้งไว้บูชาหน้าร้านค้าบ้าง หน้าเกวียนสินค้าบ้าง หน้าเรือบรรทุกสินค้าบ้าง เพื่อผลในด้านการค้าขายดี มาจนถึงทุกวันนี้

คาถาบูชาแม่นางกวัก

สาธุ ขอแม่นางกวักจงนำเอาโชคลาภ แก้วแหวนเงินทองข้าวของ 
มาสู่ข้าพเจ้า มาสู่ร้านค้า ในสถานที่นี้ด้วย เทอญ
พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา พุทธังคุ้ม ธัมมังคุ้ม สังฆังคุ้ม
เอหิพุทธานุภาเวนะ เอหิธัมมานุภาเวนะ เอหิสังฆานุภาเวนะ
นะเมตตา โมขายดี พุทธไม่ต่อ ธาซื้อดี ยะใจดี 
มิใจอ่อน รักพุทโธ ปฏิรูปัง สัมปะฏิจฉามิ เพี้ยง 
สิทธิโภคา สิทธิพะลา สิทธิจะมหาเดชา นะชาลีติ 
เอหิจงมา พุทธะสังมิ นิมามะมามา มาช่วยกันค้า มาช่วยกันขาย 
กวักเอาเงินมา กวักเอาทองมา กวักเอาโชคลาภ 
แก้วแหวนเงินทองข้าวของ หน้าที่การงาน 
ผู้คน ชื่อเสียงเกียรติยศ ข้าทาสหญิงชายมา มาด้วย
นะโมพุทธายะ ปฏิรูปัง สัมปะฏิจฉามิ เพี้ยง 
พุทธังขอให้เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี 
ธัมมังขอให้เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี 
สังฆังขอให้เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี 
เตชะสุเนมะภูจะนาวิเว อิติ นะเยปะรังยุตเต อายุ วรรโณ สุขัง พลัง


*************************

บทความโดย : บก.ไก่ วีรพล
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แต่งตั้งโยกย้าย ผอ.สำนักพุทธฯ จังหวัด


นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)
ได้ลงนามแต่งตั้งโยกย้าย ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด (พศจ.) ดังนี้

- นายสมชาย สุรชาตรี เป็น ผอ.พศจ.ชลบุรี 
- นายสมบูรณ์ บุญเขตต์ เป็น ผอ.พศจ.เพชรบุรี 
- นายประสงค์ จักรคำ เป็น ผอ.พศจ.นครราชสีมา 
- นายชูเกียรติ ชมแก้ว เป็น ผอ.พศจ.ระยอง 
- นายณัฐสิทธิ์ วงค์ตลาด เป็น ผอ.พศจ.อุดรธานี 
- นายธนูศร ตาสระคู เป็น ผอ.พศจ.ร้อยเอ็ด 
- นายสิทธิกร อ้วนศรี เป็น ผอ.พศจ.เลย 
- นายอุบลพันธ์ ขันผนึก เป็น ผอ.พศจ.ลำปาง 
- นายประยงค์ ศรไชย เป็น ผอ.พศจ.บุรีรัมย์
- นายพงศ์ธนธร ศรีขาว เป็น ผอ.พศจ.ยโสธร 
- นายสมบูรณ์ ดีเสมอ เป็น ผอ.พศจ.สุโขทัย 
- นายจีรวิชญ์ นิยมธรรม เป็น ผอ.พศจ.ปทุมธานี 
- นายเฉลิมชัย ลิ้มสกุล เป็น ผอ.พศจ.สุพรรณบุรี 
- นายบัญชายุทธ นาคมุจลินท์ เป็น ผอ.พศจ.ขอนแก่น 
- นายบัณฑิต ชนะกาญจน์ เป็น ผอ.พศจ.กาฬสินธุ์ 
- นายเสถียร ดำรงคดีราษฎร์ เป็น ผอ.พศจ.นราธิวาส 
- นายถมยา ศรีประสม เป็น ผอ.พศจ.ปัตตานี
- นางนัทธมน จินดาโชติ เป็น ผอ.พศจ.จันทบุรี 
- นางจุฑามาศ วีระพิเชฎฐ์ เป็น ผอ.พศจ.น่าน 
- นายคุณัญพงษ์ ทหารไทย เป็น ผอ.พศจ.นครศรีธรรมราช 
- นายวิรอด ไชยพรรณา เป็น ผอ.พศจ.ศรีสะเกษ 
- นางปรีดา ชาติวุฒิ เป็น ผอ.พศจ.กระบี่ 
- นายสมนึก ดีหะสิงห์ เป็น ผอ.พศจ.สมุทรสงคราม 
- นายสุรพล กรีถาวร เป็น ผอ.พศจ.นครนายก 
- นายมงคล ขัดผาบ เป็น ผอ.พศจ.ตาก 
- นายศุภเดช การถัก เป็น ผอ.พศจ.มุกดาหาร 
- นายสิทธา มูลหงษ์ เป็น ผอ.พศจ.อุตรดิตถ์
- นายกิจจา นวลสุวรรณ์ เป็น ผอ.พศจ.สระแก้ว 
- นางศิริพร เรืองวงษ์ เป็น ผอ.พศจ.ชัยนาท 
- นายสุรชัย ขยัน เป็น ผอ.พศจ.ลำพูน 
- นายเดช กองแก้ว เป็น ผอ.พศจ.สระบุรี 
- นายวีระเดช กัณณีย์ เป็น ผอ.พศจ.ฉะเชิงเทรา 
- นายสิปป์บวร แก้วงาม เป็น ผอ.พศจ.สุราษฎร์ธานี 
- นายมรกต เทพอ่อน เป็น ผอ.พศจ.สกลนคร 
- นายฉัตรชัย ชูเชื้อ เป็น ผอ.พศจ.กาญจนบุรี 
- นายธนวัฒน์ แท่นทอง เป็น ผอ.พศจ.ปราจีนบุรี 
- นายนิวัฒน์ ยรรยงฤทธิ์ เป็น ผอ.พศจ.สงขลา 
- นายวีระพงษ์ สารบรรณ เป็น ผอ.พศจ.มหาสารคาม


*************************

ข่าวโดย : ไทยรัฐออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ


วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วัดนวมินทรราชูทิศฯ เฉลิมพระเกียรติพ่อหลวง

เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จฯแทนพระองค์ไปในพิธี พุทธาภิเษกพระประธาน และวัตถุมงคลประจำวัดนวมินทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติ นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ พระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ในฐานะประธานคณะกรรมการโครงการสร้างวัดนวมินทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติ ฝ่ายบรรพชิต กล่าวว่า ตามที่คณะสงฆ์และชาวไทยในสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกันดำเนินโครงการก่อสร้างวัด และ ศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ คือในเมืองเคมบริดจ์ นครบอสตัน หรือเมืองใกล้เคียง ในรัฐแมสซาชูเซตต์ สหรัฐอเมริกา เพื่อประโยชน์ และสันติสุขแก่ชาวไทย ตลอดถึงชาวโลก 

เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อ พ.ศ. 2549 พร้อมทั้งตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดนวมินทรราชูทิศ”



โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปริณายก ทรงรับโครงการนี้ไว้ในพระสังฆราชูปถัมภ์ และ มส.ได้รับเป็นโครงการของคณะสงฆ์ร่วมเฉลิมพระเกียรติกับรัฐบาล ในโอกาสมหามงคลดังกล่าว

พระพรหมวชิรญาณ กล่าวต่อไปว่า คณะกรรมการได้เลือกจัดหาซื้อที่ดินในเมืองเรย์นแฮม ใกล้เมืองเคมบริดจ์ นครบอสตัน จำนวน 137 ไร่ ในราคา 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 60 ล้านบาท เป็นที่ตั้งโครงการ และได้จัดหาบริษัท ตลอดถึงวิศวกรและสถาปนิกออกแบบวัดแห่งนี้ ให้มีลักษณะพุทธศิลป์ และสถาปัตยกรรมไทยผสมกับอเมริกาที่เหมาะสมกับเป็นวัดในพระพุทธศาสนา สอดคล้องกับสภาพดิน ฟ้าอากาศในเมืองหนาว ในงบฯก่อสร้าง 2,000 ล้านบาท 

ในการนี้รัฐบาลได้อนุมัติเงินสนับสนุนค่าออกแบบ และก่อสร้างในเบื้องต้น จำนวน 500 ล้านบาท และคณะกรรมการฯได้จัดหาทุนสมทบเพิ่มเติมในส่วนที่เหลือ ซึ่งการก่อสร้างได้สำเร็จไปแล้ว ประมาณร้อยละ 65 จึงได้จัดพิธีพุทธาภิเษกพระประธาน และวัตถุมงคลประจำวัดนวมินทรราชูทิศฯ เพื่อนำไปประดิษฐานที่วัดดังกล่าว








*************************

ข่าวโดย : ไทยรัฐออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ

พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ (หลวงพ่อน้ำฝน) รับโล่ประกาศเกียรติคุณ


พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หลวงพ่อน้ำฝน รังสรรค์สังคมถิ่นเกิด!!

เนรมิตศูนย์สั่งการควบคุมป้องกันอาชญากรรม “เหตุฉุกเฉิน” 

ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ปลื้ม!! มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ

แวดวงดงขมิ้นเมืองไทยต้องจารึกเป็นประวัติศาสตร์ไว้อีกครั้ง กับการส่งเสริมสร้างสรรค์จรรโลงสังคม ระหว่างพระสงฆ์ ผู้เผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้า กับตำรวจ ที่เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฏร์ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข เพื่อประชาชน ซึ่งทั้ง 2 บุคลากร ล้วนทำงานเพื่อประชาชน และพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริง!!!

ที่สำคัญสังคมไทยทุกวันนี้ ต้องยอมรับบทบาทของพระสงฆ์ ที่เป็นพระนักพัฒนา มีจิตใจเสียสละนั้น ล้วนมีจำนวนมากมายเช่นกัน ที่ได้สร้างสรรค์คุณประโยชน์ให้แก่สังคม จรรโลงสิ่งที่ดีงามอย่างรอบด้านอย่างถ่องแท้ ควรค่าแก่การยกย่อง และสาธุชน กราบไว้ได้อย่างสนิทใจ!!!




เฉกเช่นล่าสุด ตามที่พระเดชพระคุณ พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หลวงพ่อน้ำฝน ทายาทศิษย์เอกท่านเจ้าคุณพระมงคลสิทธิการ หลวงพ่อพูล อัตตะรักโข สุดยอดพระอมตะเถราจารย์ เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม ท่านได้ให้การสนับสนุนปัจจัยด้านงบประมาณ จำนวน 350,000 บาท มอบให้แก่ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างศูนย์ควบคุมและสั่งการ สำหรับดำเนินการควบคุมป้องกันอาชญากรรม และควบคุมสั่งการสถานการณ์ในสภาวะฉุกเฉินนั้น
และในการนี้ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ได้นิมนต์พระเดชพระคุณ พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หลวงพ่อน้ำฝน รับโล่ประกาศเกียรติคุณ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม 2555 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ถวายโดย พลตำรวจตรี เพชรัตน์ แสงไชย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม

นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดนครปฐม ที่มีพระสงฆ์ดี อีกทั้งท่านเอง มีตำแหน่งเป็น หัวหน้าพระวินยาธิการ จังหวัดนครปฐม หรือ ภาษาฆราวาสก็คือ “หัวหน้าตำรวจพระเมืองนครปฐม” นั่นเอง!!! ท่านคือพระเดชพระคุณ พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หลวงพ่อน้ำฝน ประธานมูลนิธิหลวงพ่อพูล เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม รูปปัจจุบัน ที่สรรสร้างทั้งงานหลวงงานราษฏร์ มิเคยขาดแม้เพียงวันเดียว

ด้วยความเป็นทั้งพระนักพัฒนา และเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ทำงานควบคู่ทั้งทางโลก และทางธรรม นำพาให้ชาวประชาพุทธศาสนิกชน มีความสุข คลายทุกข์ และเข้าถึงธรรม อันเป็นหนทางที่สว่างที่สุดของการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง!!!



************************

เรื่องโดย : บก.ไก่ วีรพล
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

"ไทยแลนด์คลินิก" เมตตาธรรมสู่อินเดีย

"ไทยกุสินาราเฉลิมราชย์" หรือ "ไทยแลนด์คลินิก" เริ่มขึ้นจาก เมื่อครั้งเริ่มงานสร้างวัดตั้งแต่ปี 2537 โดยท่านเจ้าคุณ พระราชรัตนรังษี หัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย ประธานดำเนินงานสร้าง วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย พุทธสถานแดนปรินิพพานของพระพุทธองค์ เมื่อคนงานอินเดียเกิดการเจ็บป่วย ท่านก็แบ่งยาที่เตรียมไว้เพื่อรักษาคณะสงฆ์, นายช่างไทยที่มาอาสาสร้างวัด รักษาคนงานท้องถิ่นด้วย ขณะเดียวกันคนงานเมื่อรักษาโรคหายดีแล้ว เมื่อญาติพี่น้องลูกหลานคนงานเจ็บป่วย ก็มาขอยาเพื่อรักษาโรคจากพระสงฆ์ไทยเป็นประจำ

ท่านเจ้าคุณพระราชรัตนรังษี จึงมีดำริสร้างสถานพยาบาลเล็กๆ ขึ้นมาเพื่อดูแลรักษาคนท้องถิ่น และถือเป็นการดูแลคนงานไปในขณะเดียวกันด้วย สถานพยาบาลจึงได้เริ่มเปิดทำการขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2543 โดยมี นายธวัธชัย ทวีศรี เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงนิวเดลี ในสมัยนั้น ร่วมกับ มูลนิธิฮารนาม ซิงห์ ฮารบันส์ กอร์ กรุงนิวเดลี โดยมี คุณกูรมัค ซิงห์ สัจจเทพ เป็นประธาน

จากการสร้างคลินิกเล็กๆ ภายใต้การดูแลของ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ให้บริการผู้ป่วยที่มารับการรักษา โดยเก็บ ค่ารักษา 8 รูปี (8 บาท) รักษาทุกโรค (วันพระรักษาฟรี) ต่อมามีชาวอินเดียเจ็บป่วยมารับบริการมีจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงได้ขยายสถานพยาบาล โดยย้ายไปฝั่งที่ดินตรงข้ามวัด ซึ่งมีบริเวณกว้างกว่าแห่งเดิม โดยได้รับพระราชทานแผ่นศิลาฤกษ์ การก่อสร้างอาคารจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2548

จนเมื่อตัวอาคารสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ประกอบพิธีเปิดที่ทำการสถานพยาบาลอาคารหลังแรกเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2550 โดยประธานาธิบดีของอินเดีย ดร.เอพีเจ อับดุล กาลาม ได้ให้เกียรติสูงสุดมาเป็นประธาน


สถานพยาบาลแห่งนี้ เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยที่มารับการรักษาร่วมบริจาคตั้งกองทุน ทุนละ 8 รูปีเท่านั้น ประชาชนท้องถิ่นทั้งใกล้ไกล ต่างเดินทางเข้ามารับรักษาโรคแต่ละวันเป็นจำนวนมาก เฉลี่ยวันละประมาณ 200 คน สถิติตั้งแต่เริ่มต้นการให้บริการ มีผู้ป่วยถึงวันนี้ มีจำนวนกว่า 6 แสนรายแล้ว

ปัจจุบันสถานพยาบาลมีนายแพทย์ชาวอินเดียอยู่ประจำ 3 ท่าน และเภสัชกร 2 ท่าน นับเป็นกิจกรรมนำศาสนา สร้างศาสนสัมพันธ์อันดีระหว่างวัดไทยในอินเดีย และชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งเป็นการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและอินเดียได้เป็นอย่างดียิ่ง

ในฤดูกาลแสวงบุญของชาวพุทธ ระหว่างเดือนตุลาคม-มีนาคม ของทุกๆ ปี กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ของไทย ได้จัดส่งทีมแพทย์มาอยู่ประจำการ เพื่อดูแลรักษาผู้แสวงบุญชาวไทยที่เจ็บป่วยเป็นพิเศษอีกด้วย โดยจัดส่งทีมแพทย์ 2 ทีม มีนายแพทย์ 4 ท่าน และพยาบาล 6 ท่าน ทีมหนึ่งอยู่ประจำรักษาที่สถานพยาบาลวัดไทยกุสินาราฯ และอีกทีมอยู่ประจำการ ณ วัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร อินเดีย


นอกจากนี้ สถานพยาบาลยังมีหน่วยพยาบาลฉุกเฉินเตรียมการ หากเกิดกรณีเร่งด่วนที่ต้องรีบให้รักษา นับเป็นการสร้างความมั่นใจด้านสุขภาพ สำหรับผู้แสวงบุญที่เดินทางไปประเทศอินเดีย หากเกิดการเจ็บป่วยขึ้นได้เป็นอย่างดี

ขณะนี้ สถานพยาบาลได้เพิ่มบริการจากการตรวจทั่วไป (O.P.D.) ด้วยการเปิดบริการห้องแล็บ รับตรวจเลือด และบริการกายภาพบำบัดแก่คนไข้ทั่วไป และคลินิกรักษาสุขภาพฟัน ในราคาเพื่อการกุศลอีกด้วย สำหรับโรคที่พบและได้ทำการรักษา มีดังนี้ 

1.โรคปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ทั่วไป 
2.โรคผิวหนัง โรคที่เกี่ยวกับสตรี 
3.โรคเบาหวาน ความดันโลหิต 
4.โรคไข้ตัวเหลือง 
5.โรคระบบทางเดินอาหาร 
6.โรคเท้าช้าง 
7.โรคมาลาเรีย และอื่น ๆ

ในส่วนของอาคารด้านหลังใช้เป็นสถานที่รักษาโรคทางใจ คือ ใช้เป็นที่อบรมศึกษา ปฏิบัติธรรมแบบธรรมโอสถ ตามคติการสร้างสถานพยาบาลแห่งนี้ว่า "กุสินาราคลินิกเพื่อร่างกายและจิตใจ" (Kushinagar Clinic for Body and Mind)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานนามอาคารนี้ว่า "อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์" เพื่อเป็นสิริมงคลแก่สถานพยาบาล ให้ดูแลรักษาผู้ป่วยทั่วไป โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ชาติ ศาสดาใดๆ และเป็นศูนย์ฝึกอาชีพแก่ชาวอินเดียในท้องถิ่นอีกด้วย

การดำเนินงานในปัจจุบัน สถานพยาบาลยังต้องการเงินบริจาคเข้ากองทุนเพื่อบริหารดำเนินงานให้อยู่ได้ ประมาณ 1 แสนบาทต่อเดือน

ขออนุโมทนา ทุกท่านที่มีส่วนร่วมสนับสนุนบริจาคให้การช่วยเหลือส่งเสริมและสนับสนุนสถานพยาบาลของพระสงฆ์ไทย ณ แผ่นดินพุทธภูมิ ในนามชาวพุทธไทยเป็นที่ยอมรับรู้จักของชาวอินเดียทั่วไป จนคนอินเดียเรียกติดปากว่า "ไทยแลนด์คลินิก" และชาวพุทธผู้มาแสวงบุญจากนานาชาติ ต่างก็พลอยได้รับอานิสงส์ เป็นหลักประกันด้านสุขภาพ เมื่อเดินทางไปไหว้พระที่อินเดียเป็นอย่างดี

สาธุชนผู้ประสงค์ร่วมบริจาคปัจจัยเข้ากองทุนรักษาพยาบาล ติดต่อได้ที่

ธนาคารทหารไทย สาขาสุรวงศ์ ออมทรัพย์ 
มูลนิธิวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์-อินเดีย เพื่อสถานพยาบาล 
บัญชีเลขที่ 078-2-14799-5

ในประเทศอินเดีย : ติดต่อได้ที่
ธนาคาร ICICI BANKA/C. Number 036401000468 
 WAT THAI KUSINARA CHARITABLE TRUST FCRA, 
KAROL BAGH,NEW- DELHI 110005
*************************

เรื่องโดย : คมชัดลึก
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ

คณะสงฆ์อุตรดิตถ์ ปลูกฝังคุณธรรม บวชสามเณร-ศีลจาริณี

นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า เนื่องจากโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยาได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็น โรงเรียนดี ศรีตำบล ในการสร้างผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรมที่มีคุณภาพพื้นฐาน

ดังนั้น ฝ่ายคณะสงฆ์ สภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ สถานศึกษา ฝ่ายปกครองท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และ เทศบาลตำบลคุ้งตะเภา ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมดำเนินบรรพชาสามเณร และศีลจาริณี ในโครงการโรงเรียนดี ศรีตำบล ประจำปี 2555 ในวันที่ 9-19 ต.ค.ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนที่เป็นพุทธศาสนิกชนสมัครใจเข้าร่วมโครงการ ให้ได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมจากกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และกิจกรรมทางวิชาการต่างๆ ที่มีคุณประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต อันจะได้นำไปสู่การบรรลุคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการของกระทรวงศึกษาธิการ และคุณธรรม 3 ประการที่ได้แก่ วินัย เคารพ และ อดทน





นายสุนทร อ่อนวัง ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา กล่าวด้วยว่า โดยพิธีการในภาคเช้าได้เริ่มขึ้นหลังจากนักเรียนมารายงานตัว และมาลงทะเบียน จากนั้นเป็นการปลงผม โดยบิดามารดา หรือผู้ปกครองร่วมขริบผม และพระภิกษุร่วมกันโกนผม ร่วมกันแต่งกายให้แก่ผู้บรรพชา เสร็จแล้วประกอบพิธีขอขมาบิดามารดา และผู้ปกครอง เพื่อเข้ารับการบรรพชา ก่อนที่จะมีการเทศน์สอนนาค 2 ธรรมาสน์

สำหรับในภาคบ่ายได้เริ่มเมื่อประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาสักการะพระรัตนตรัย จากนั้นผู้บริหารโครงการกล่าวรายงานต่อประธานในพิธี จบแล้ว ประธานให้โอวาท และกล่าวเปิดโครงการ พร้อมทั้งบรรยายพิเศษ หลังจากนั้นประธานในพิธี และผู้มีเกียรติ ตลอดทั้งเจ้าภาพร่วมกันมอบผ้าไตร ก่อนที่จะแห่นาคไปบรรพชา ณ อุโบสถวัดใหม่เจริญธรรม และร่วมประกอบพิธีใส่บาตรสามเณรใหม่ จำนวน 109 รูป


*************************

ข่าวโดย : ข่าวสดออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พศ.มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ สำนักเรียนนักธรรม


สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
(พศ.) จัดพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ สำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2554 โดยส่วนกลาง 10 อันดับแรก คือ 

1.วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม 
2.คณะเขตลาดพร้าว-บึงกุ่ม 
3.วัดยานนาวา 
4.คณะเขตลาดกระบัง 
5.วัดราชโอรสาราม 
6.คณะเขตบางขุนเทียน-บางบอน 
7.คณะเขตบางกะปิ 
8.คณะเขตมีนบุรี 
9.วัดบวรนิเวศวิหาร 
10.คณะเขตดอนเมือง-หลักสี่ 

ขณะที่สำนักเรียนธรรมศึกษาดีเด่น 10 อันดับแรก ในส่วนกลาง คือ 

1.วัดยานนาวา 
2.คณะเขตลาดพร้าว-บึงกุ่ม 
3.วัดประยุรวงศาวาส 
4.วัดพระศรีมหาธาตุ 
 5.คณะเขตราษฎร์บูรณะ-ทุ่งครุ 
 6.วัดเทพลีลา 
7.คณะเขตบางขุนเทียน-บางบอน 
8.คณะเขตมีนบุรี 
9.คณะเขตสายไหม 
10.วัดราชโอรสาราม

ส่วนภูมิภาค 10 อันดับแรก คือ 

1.คณะจังหวัดนครราชสีมา 
2.คณะ จ.อุบลราชธานี 
3.คณะ จ.ศรีสะเกษ 
4.คณะ จ.ขอนแก่น 
5.คณะ จ.บุรีรัมย์ 
6.คณะ จ.ร้อยเอ็ด 
7.คณะ จ.สุรินทร์ 
8.คณะ จ.เชียงใหม่ 
9.คณะ จ.นครสวรรค์ 
10.คณะ จ.กาญจนบุรี 

ขณะที่สำนักเรียนธรรมศึกษาดีเด่น 10 อันดับแรก คือ 

1.คณะ จ.ขอนแก่น 
2.คณะ จ.อุบลราชธานี 
3.คณะ จ.นครราชสีมา 
4.คณะ จ.ร้อยเอ็ด 
5.คณะ จ.กาญจนบุรี 
6.คณะ จ.ศรีสะเกษ 
7.คณะ จ.สุพรรณบุรี 
8.คณะ จ.นครปฐม 
9.คณะ จ.บุรีรัมย์ 
10.คณะ จ.ลพบุรี 

ส่วนสำนักเรียนคณะจังหวัด (ธรรมยุต) ดีเด่น 5 อันดับแรก ในส่วนของสำนักเรียนนักธรรม คือ

1.คณะ จ.อุดรธานี 
2.คณะ จ.สกลนคร 
3.คณะ จ.อุบลราชธานี 
4.คณะ จ.ขอนแก่น 
5.คณะ จ.พระนครศรีอยุธยา 

ส่วนสำนักเรียนธรรมศึกษา 5 อันดับแรก คือ 

1.คณะ จ.เพชรบูรณ์ 
2.คณะ จ.นครศรีธรรมราช 
3.คณะ จ.สกลนคร 
4.คณะ จ.อุดรธานี 
5.คณะ จ.ร้อยเอ็ด

*************************

ข่าวโดย : ไทยรัฐออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ

บวชเฉลิมพระเกียรติในหลวง ณ อินเดีย


สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส และ ลขาธิการคณะธรรมยุต เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 85 พรรษา ในวันที่ 5 ธ.ค. 2555 จะจัดโครงการ “อุปสมบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ณ วัดป่าพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 16-25 พ.ย.นี้ โดยมีบรรดาข้าราชการ ทหาร ตำรวจ แพทย์ นักธุรกิจ เกือบ 100 คน ร่วมอุปสมบทเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

โดยมี สมเด็จพระธีรญาณมุนี เป็นประธานในพิธีโกนผมนาค และเป็นพระอุปัชฌาย์ ที่สำคัญ โครงการดังกล่าวยังมีผู้ประสงค์ที่จะอุปสมบทอีกจำนวนมาก จึงต้องจัดแบ่งเป็น 2 รุ่น คือ ในวันที่ 16-25 พ.ย.นี้ ชุดหนึ่ง และอีกชุดประมาณเดือน เม.ย.2556 สาเหตุที่มีผู้ประสงค์จะอุปสมบทจำนวนมาก เพราะนอกจากเป็นการบวชเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 85 พรรษา และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์จงทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์แล้ว การบวชยังถือเป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่ เป็นการทดแทนคุณบิดามารดา และยังช่วยพัฒนาจิตให้พ้นจากทุกข์อีกด้วย

สมเด็จพระธีรญาณมุนี กล่าวต่อว่า สำหรับการมาบวชที่อินเดียไม่ต่างจากการบวชที่ประเทศไทย แต่ที่อินเดีย ผู้บวชได้ปฏิบัติธรรม และตั้งจิตภาวนาตามรอยพระบาทพระศาสดา และบูชาพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ได้แก่ พุทธคยา, ลุมพินีวัน, พาราณสี และกุสินารา อยากให้ทุกคนทำความดีถวายพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างจริงๆจังๆ อย่าเพียงแต่พูด แต่ต้องลงมือปฏิบัติ และทำตามที่พูด 

พระองค์จะได้มีความสุข และมีพระพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ เปรียบไปแล้วเหมือนทุกคนมีลูกก็อยากให้ลูกเป็นคนดี ถ้าลูกเราดีผู้ที่เป็นพ่อเป็นแม่ก็มีความสุข ซึ่งการทำความดีทำอะไรก็ได้ที่เป็นความดี เช่น การรักบ้านรักเมือง รักสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นต้น

สมเด็จพระธีรญาณมุนี กล่าวด้วยว่า นอกจากจะมีการอุปสมบทเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้ว ยังจะมีการถวายปัจจัยที่บรรดาญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาร่วมกันบริจาคเพื่อสร้างอาคารที่พักให้กับพระภิกษุสามเณรที่มาเรียนหนังสือที่อินเดียด้วย จำนวนกว่า 8 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระให้กับคณะสงฆ์อีกทางหนึ่งด้วย


*************************

ข่าวโดย : ไทยรัฐออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ

ตั้งกองทุนช่วยรักษาพระเณร ซ่อมแซมวัด

มหาเถรสมาคม ตั้งกองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบอุบัติภัย ช่วยค่ารักษาพยาบาลพระภิกษุสามเณร และบูรณปฏิสังขรณ์วัด ศาสนสถาน

พระพรหมเมธี กรรมการ และโฆษกมหาเถรสมาคม (มส.) วัดสัมพันธวงศ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ มส.ได้มีมติให้ตั้งกองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบอุบัติภัย ตามที่ มส.ได้มีมติให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ไปร่างระเบียบสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ว่าด้วยเงินกองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบอุบัติภัยขึ้น 

เพื่อใช้จ่ายให้ความช่วยเหลือในการบูรณปฏิสังขรณ์วัด และศาสนสถาน ให้ความช่วยเหลือเป็นค่ารักษาพยาบาล ในกรณีพระภิกษุสามเณร หรือประชาชนผู้ประสบอุบัติภัย ให้ความช่วยเหลือในการจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค และสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นแก่พระภิกษุสามเณร หรือประชาชน ให้ความช่วยเหลือในการส่งเสริมการศึกษาให้แก่พระภิกษุสามเณร เด็กหรือเยาวชนในครอบครัวที่ประสบอุบัติภัย และให้ความช่วยเหลืออื่นๆ ตามที่คณะกรรมการกองทุนฯ เห็นสมควร โดยมอบให้ พระพรหมสุธี วัดสระเกศ และ พระพรหมมุนี วัดราชบพิธฯ เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

โฆษกมหาเถรฯ กล่าวต่อว่า กองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบอุบัติภัยจะนำเงินมาจากแหล่งต่างๆ อาทิ เงินกองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบอุบัติภัยภาคใต้ เงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือจากภาครัฐ คณะสงฆ์ องค์กรเอกชน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ มูลนิธิ สมาคม และประชาชนทั่วไปช่วยกันบริจาค และมีคณะกรรมการบริหารจัดการเงินกองทุนฯ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก มส.ขึ้นมาทำหน้าที่ 

ส่วนการอนุมัติ หรือการเบิกจ่ายเงินต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน เว้นแต่กรณีมีเหตุฉุกเฉิน ให้เสนอประธานคณะกรรมการ หรือรองประธานคณะกรรมการ รูปใดรูปหนึ่งพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยผู้มีอำนาจเบิกจ่ายเงินตามที่คณะกรรมการได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว ประกอบด้วย ผอ.พศ.หรือ รอง ผอ.พศ. คนใดคนหนึ่งลงนามร่วมกับ ผอ.กองกลาง หรือ ผอ.ส่วนบริหารงานคลังคนใดคนหนึ่ง รวม 2 คน และให้ พศ.เป็นผู้ดูแลรักษาเงินกองทุน โดยนำฝากธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ






*************************

ข่าวโดย : ไทยรัฐออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

"หลวงพ่อปั้น" ศูนย์รวมความศรัทธา แห่ง ศิษยานุศิษย์

วัดเนินกุ่มใต้ ต.เนินกุ่ม ซึ่งอยู่ติดกับ ต.วัดตายม มีคลองวัดชมพู ไหลผ่าน ซึ่งอดีต พระเกจิอาจารย์ชื่ออดัง "พระครูสังคกิจ" หรือ "หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ ปั้น" วัดพิกุลโสคัณธ์ ต.พระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นผู้สร้าง

ท่านเกิดเมื่อปีพ.ศ.2376 สมัยรัชกาลที่ 2 อุปสมบท พ.ศ.2396 แล้วไปศึกษาที่กรุงเทพฯ กับ พระมหาแดง สีลวัฑฒโน วัดสุทัศเทพวราราม (ภายหลังดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวันรัต) และ พระก๋ง วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ (ภายหลัง เปลี่ยนชื่อเป็น ฑิต อุทโย และได้สมณศักดิ์สูงสุดที่ สมเด็จพระวันรัต) และได้กลับมาเป็น เจ้าอาวาสปกครองบูรณะวัดพิกุลโสคัณธ์ แล้วจึงออกธุดงค์พร้อมพระอนุจรเป็นนิจท่านธุดงค์ผ่านวัดสี่ร้อย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ขึ้นมาทางชัยนาท ตัดเข้าบางคลาน (ภายหลังเปลี่ยนเป็น อ.โพทะเล พ.ศ.2481) ผ่านพิจิตร มาปักกลดที่ป่าบ้านดงหมี ต.เนินกุ่ม ซึ่งแต่เดิมเป็นป่ารกมีสัตว์ดุร้ายชุกชุมมาก โดยเฉพาะหมีควายและเสือโคร่ง





ชาวบ้านจึงไปเรียนท่านว่า บริเวณนี้เวลากลางคืนพวกเสือมักออกหาอาหาร เนื่องจากเป็นที่เนินสูงกว่าที่อื่นน้ำท่วมไม่ถึง จึงมีสัตว์ที่เป็นอาหารของเสือหลบมาอาศัย แต่ท่านปฏิเสธ เพราะถือปฏิบัติตามครูท่านสั่งห้ามไว้ว่า ถ้าปักกลดตรงไหนต้องอยู่ไปจนตลอดรุ่ง

รุ่งขึ้นตอนสางชาวบ้านรีบไปดูท่านปักกลด เพราะได้ยินเสียงคำรามร้องของเสือตั้งหลายตัวดังก้องไปถึงหมู่บ้าน เมื่อมาถึงพบท่านอยู่ปกติดีไม่มีอันตรายใดๆ เกิดขึ้นกับท่านเลย จึงเชื่อว่าท่านมีวิชาดี ท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านไม่มีอะไรดี อาศัยคุณพระรัตนตรัย และส่งกระแสจิตแผ่เมตตาให้ พวกเสือจึงเข้าป่า มีแต่ไอ้ตัวใหญ่ดูเหมือนจะเป็นจ่าฝูงเท่านั้น ที่นอนหมอบอยู่ข้างกลดอาตมา พึ่งจะเข้าป่าไปตอนใกล้รุ่งก่อนโยมมาถึงนี้เอง และได้โอกาสสั่งสอนข้อธรรมแก่ชาวบ้าน หรือในครั้งหนึ่งมีไฟป่าลุกลามไหม้เข้ามาล้อมกลดที่หลวงพ่อปั้นนั่งภาวนาสงบนิ่งอยู่ และจู่ๆ ก็มีลมพัดไฟป่าให้ลุกลามไปทางอื่นเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก 

ด้วยความศรัทธา ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านสร้างวัดเนินกุ่มขึ้น จนแล้วเสร็จเป็นอารามใหญ่ด้วยบุญญาบารมีของท่าน ซึ่งมีวาจาศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริง

โดยเฉพาะอุโบสถ หลวงพ่อปั้นท่านได้ลงมือปั้นหลวงพ่อโต พระประธานประจำอุโบสถด้วยมือของท่านเอง จึงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประจำวัดเนินกุ่ม แล้วท่านก็กลับสู่วัดพิกุล จ.พระนครศรีอยุธยา และไปมาระหว่างวัดพิกุล กับวัดเนินกุ่ม เรื่อยมา

จนเป็นธรรมเนียมในหมู่ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดว่า ก่อนเข้าพรรษา ชาวบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา จะเป็นฝ่ายมารับหลวงพ่อปั้น กลับไปจำพรรษาที่วัดพิกุล หลังออกพรรษาพ้นหน้ากฐิน ชาวเนินกุ่มจะลงไปรับหลวงพ่อปั้น โดยใช้เรือมาด 8 แจว เป็นพาหนะ เนื่องสมัยนั้นการสัญจรทางน้ำสะดวกรวดเร็วที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ลาบวช เฉลิมพระเกียรติ 15 วัน ไม่ถือเป็นวันลา

การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร ที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี กระทรวงวัฒนธรรมขอความเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท (ยกเว้นข้าราชการการเมือง และข้าราชการส่วนท้องถิ่น) พนักงานราชการ รวมถึงลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้าร่วมอุปสมบทในโครงการอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2555 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555 เป็นระยะเวลา 15 วัน (ตั้งแต่เตรียมการอุปสมบทถึงลาสิกขา) โดยไม่ถือเป็นวันลา เสมือนเป็นการปฏิบัติราชการและได้รับเงินเดือนตามปกติ





ทั้งนี้ การใช้สิทธิการลาดังกล่าวให้สิทธิแก่ข้าราชการ (ยกเว้นข้าราชการการเมือง และข้าราชการส่วนท้องถิ่น) พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจที่เคยลาอุปสมบทระหว่างรับราชการมาแล้ว สามารถลาอุปสมบทเพื่อเฉลิมพระเกียรติตามมติคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ได้อีก

สำหรับผู้ที่ไม่เคยลาอุปสมบทระหว่างรับราชการ หากได้ลาอุปสมบทเพื่อเฉลิมพระเกียรติตามมติคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้แล้ว ไม่มีผลกระทบสิทธิในการลาอุปสมบทในอนาคต ซึ่งเป็นการใช้สิทธิการลาอุปสมบทครั้งแรกตั้งแต่เริ่มราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 โดยยังคงได้สิทธิการลาอุปสมบท และยังคงได้สิทธิในการรับเงินเดือนตามปกติ ตามพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535

นอกจากนี้ การใช้สิทธิตามมติคณะรัฐมนตรี ผู้ลาจะต้องเข้าร่วมอุปสมบทในโครงการที่ส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนจัดขึ้นเป็นโครงการอย่างชัดเจน และเข้าร่วมอบรมตามหลักสูตรศาสนา ศึกษาสำหรับผู้บวชระยะสั้นตามที่กรมการศาสนาหรือคณะสงฆ์กำหนด 

ทั้งนี้ ให้ลาได้ตามระยะที่กำหนดของโครงการแต่ไม่เกิน 15 วัน หากอุปสมบทเป็นเอกเทศโดยไม่ได้เข้าร่วมโครงการ จะไม่ได้รับสิทธิในการลาดังกล่าว

เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ข้าราชการได้มีโอกาสบำเพ็ญคุณงามความดี เพื่อถวายเป็น พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ยามมกุฎราชกุมาร ด้วยการอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ และเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการทำความดี

*************************

ข่าวโดย : ไทยรัฐออนไลน์
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ

พระธรรมโกศาจารย์ ขึ้น รองสมเด็จฯ “พระพรหมบัณฑิต”

วงการสงฆ์เมืองไทย กำลังสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ในสมณศักดิ์ตำแหน่ง พระราชาคณะชั้นรองสมเด็จฯ ในนามชื่อ “พระพรหมบัณฑิต” ซึ่งก่อนหน้านี้ว่างอยู่ 1 ตำแหน่งพอดี!!!

ถ้าจะให้วิเคราะห์ตามเนื้อผ้าชั้นธรรมที่อาวุโสสุดคือ พระธรรมกิตติวงศ์ วัดราชโอรสาราม กทม. เพราะได้ชั้นธรรมตั้งแต่ปี 2535 อดีตเคยเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม แต่ถูกถอดถอน ส่วนอีกรูปก็น่าสนใจคือ พระธรรมกิตติมุนี วัดเฉลิมพระเกียรติ นนทบุรี ได้ชั้นธรรมตั้งแต่ปี 2542 และ พระธรรมเจดีย์ วัดกัลยาณมิตร กทม.ได้ชั้นธรรมตั้งแต่ปี 2546

แต่สุดท้ายก็มาจบที่ พระธรรมโกศาจารย์ วัดประยูรวงศาวาส กทม. ซึ่งท่านได้ชั้นธรรมตั้งแต่ปี 2548

ส่งผลให้วงการสงฆ์ซีกมหาจุฬาฯ (มจร.) ได้เฮ โผแบเบอร์ สดใสไร้คู่แข่ง! ดันพระธรรมโกศาจารย์ขึ้นแท่น "รองสมเด็จ" ชื่อใหม่ "พระพรหมบัณฑิต" เปิดใหม่ ซิงๆ สื่อหลายฉบับพาดหัวข่าว "เตรียมเลื่อนสมณศักดิ์พระธรรมโกศาจารย์"

จากที่ผ่านมาชาว มจร. ลุ้นกันตัวโก่งขอให้เลื่อนในปีนี้นะครับ อย่าเลื่อนไปปีหน้า ฮา ! แต่ความจริงแล้วก็ไม่มีอะไรหรอก เหตุผลที่เจ้าคุณประยูรได้รองสมเด็จฯปีนี้ก็คือ "ไม่มีตัวแล้ว"

เนื่องเพราะความเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง เพราะเจ้าคุณประยูร ได้เป็นกรรมการเถรสมาคม ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่ควรจะได้เป็น "รองสมเด็จฯ" ไปโดยปริยาย เพื่อความเหมาะสมในด้านการปกครองที่ปัจจุบันต้องยอมรับว่าเข้มข้น เนื่องเพราะเจ้าคุณประยูร เป็นพระนักวิชาการ และเป็นถึงอธิการบดี มจร. ที่เพียบพร้อมทั้งวัยวุฒิ และคุณวุฒิอย่างแท้จริง!!!

ส่วนวัดปากน้ำก็เข็นเอา "เจ้าคุณสุชาติ" ขึ้นรองสมเด็จฯไปก่อนหน้าเจ้าคุณประยูรแล้ว ซึ่งท่านสอบได้ ป.ธ.9 เป็นเณรนาคหลวงปีเดียวกัน แต่ตั้งตัดหน้าให้มีอาวุโสด้านสมณศักดิ์แก่กว่าตั้ง 1 ปี ยังไงก็ต้องได้สมเด็จฯ ก่อนเพื่อน

เหลือเพียงพระธรรมเจดีย์ "เจ้าคุณประกอบ" วัดกัลยาณมิตรองค์เดียว ที่ไปไม่ถึงดวงดาว เพราะเจ้านายคือ สมเด็จวัดชนะมรณภาพละสังขารไปเสียก่อน ย่อมขาดเสาหลักที่พึ่งใหญ่ แต่ถึงกระไรก็ตามอีกไม่นานย่อมถึงคิวของท่านอย่างแน่นอน

โดยเมื่อวันที่ 10 ต.ค. ที่ผ่านมา ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร มีการประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมครั้งนี้ ได้มีการพิจารณารายชื่อพระเถรานุเถระ ที่จะเข้ารับพระราชทานสถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ ประจำปี 2555 สำหรับในปีนี้มีตำแหน่งชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นหิรัญบัฏ ฝ่ายมหานิกาย ว่างจำนวน 1 ตำแหน่ง ซึ่งพระเถรานุเถระที่ได้รับการพิจารณาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะฯ ได้แก่ พระธรรมโกศาจารย์ (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส และอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคม โดยรองสมเด็จพระราชาคณะฯรูปใหม่ คาดว่าจะมีราชทินนามว่า “พระพรหมบัณฑิต” ทั้งนี้ ไม่มีพิจารณาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จพระราชาคณะ เนื่องจากโควตาเต็มจำนวนทั้งของมหานิกายและธรรมยุต

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) 
มีนามเดิมว่า ประยูร มีฤกษ์ เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2498 มีความรู้ความสามารถอย่างสูงในทางพุทธปรัชญา และทางพระพุทธศาสนา ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. 2509 ขณะที่อายุได้ 11 ปี ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ท่านสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค และได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในปีเดียวกันนั้น ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร

หลังจากนั้นท่านได้ศึกษาเล่าเรียนและพัฒนาความรู้ทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง จนสามารถได้รับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) พ.ศ. 2521 สอบได้ประกาศนียบัตรภาษาฝรั่งเศส (Diploma in French) จากมหาวิทยาลัยเดลี เมื่อ พ.ศ. 2527 และสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาเอก (Ph. D.) สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยเดลี เมื่อ พ.ศ. 2528

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เป็นผู้มีเกียรติคุณความสามารถทั้งทางด้านวิชาการ และทางด้านงานบริหารอย่างโดดเด่นท่านหนึ่งของสังคมไทย บทบาทสำคัญในทางวิชาการของท่านมีอยู่มากมาย เช่น 

- เป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 
- เป็นอาจารย์พิเศษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก 
- เป็นประธานอำนวยการดำเนินการรายการธรรมะทางวิทยุเพื่อการศึกษา 
- เป็นประธานคณะบรรณาธิการพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 
- เป็นประธานจัดการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธ เพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา แห่งโลก ครั้งที่ ๒ ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 9-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543

: ประวัติการทำงาน

* พ.ศ. 2528 เป็นอาจารย์ประจำคณะพุทธศาสตร์
* พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2532 เป็นผู้อำนวยการกองวิชาการ
* พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2536 เป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย 
* พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535 เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา
* พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2540 เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
* พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน เป็นอธิการบดี

: ลำดับสมณศักดิ์

* พ.ศ. 2532 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระเมธีธรรมาภรณ์ 
* พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวรมุนี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี 
* พ.ศ. 2542 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโสภณ วิมลปริยัติกิจ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
* พ.ศ. 2548 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมวิจิตร ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
* พ.ศ. 2555 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏหรือรองสมเด็จพระราชาคณะ ฝ่ายมหานิกาย ที่ พระพรหมบัณฑิต

: ตำแหน่งทางคณะสงฆ์

* เจ้าคณะภาค 2 รับผิดชอบเขตปกครองคณะสงฆ์ 3 จังหวัด คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง และ จังหวัดสระบุรี
* เจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร 
* เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.)

: ตำแหน่งทางวิชาการ

* พ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ สาขาวิชาปรัชญา ของ มจร.
* เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2552 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอัคฆวิทยา พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) นับว่าเป็นพระเถรานุเถระรูปที่ 2 ของประเทศไทย ที่ได้รับตำแหน่งดังกล่าว ก่อนหน้านี้ท่านเจ้าประคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาศาสนศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2549 ทั้งนี้ ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คือ ผู้ทรงเกียรติคุณในวิชาประเภทใดประเภทหนึ่ง ซึ่งที่ประชุมร่วมกันของราชบัณฑิตทุกสำนักเห็นชอบ ก่อนนำเสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

ผลงานทางวิชาการ มีผลงานทางวิชาการ งานวิจัย เป็นที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้ง ผลงานวิชาการยังได้รับการอ้างอิงในวารสาร ตำรา รวมทั้งหนังสือที่เชื่อถือได้ในวงวิชาการ และมีการนำผลงานทางวิชาการ ไปใช้ประโยชน์จนเป็นที่ยอมรับในสาขาปรัชญา ผลงานวิชาการที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง อาทิ วิมุตติมรรค ปรัชญากรีกบ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก A Buddhist Approach to Peace Buddhist Morality เป็นต้น 

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) นับว่าเป็นศาสตราจารย์ สายวิชาการคนแรกของประเทศไทยที่มาจากคณะสงฆ์ ที่ผ่านมามีพระสงฆ์ที่ได้เป็นศาสตราจารย์ แต่เป็น ศาสตราจารย์พิเศษ คือ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวสกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม 

ปัจจุบัน ท่านปฏิบัติงานอยู่ที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ และพำนักจำพรรษาที่ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร แขวงกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600

***************************************

เรื่องโดย  : บก.ไก่ วีรพล
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ

วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สืบทอดงานบุญ "ตักบาตรเทโว" วัดไผ่ล้อม นครปฐม

พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ (หลวงพ่อน้ำฝน) เชิญชวนญาติโยม สืบทอดบุญใหญ่ ตักบาตรเทโว ในวันพุธที่ 31 ตุลาคม 2555 แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ณ วัดไผ่ล้อม ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม 

โดยพระเดชพระคุณ พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ (หลวงพ่อน้ำฝน) ทายาทศิษย์เอกหลวงพ่อพูล ได้จัดให้มีพิธีตักบาตรเทโว ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป และ ที่สำคัญข้าวปลาอาหารที่ได้จากการทำบุญตักบาตรเทโวในวันนี้ หลวงพ่อน้ำฝน จะนำไปบริจาคให้ที่บ้านพักคนชราในจังหวัดนครปฐมอีกด้วย

ตักบาตรเทโว หมายถึงการทำบุญตักบาตร ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คำว่า เทโว เรียกกร่อนมาจากคำว่า เทโวโรหนะ (เทว+โอโรหน) ซึ่งแปลว่า การเสด็จลงจากเทวโลก




ความเดิมมีว่า ในพรรษาที่ 7 นับแต่วันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา ที่ได้กำเนิดเป็นเทพบุตรอยู่ในชั้นดุสิต จนบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 แล้ว จึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมืองสังกัสสนคร ในกาลที่เสด็จลงจากเทวโลก ได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก

เมื่อทรงแลดูข้างล่าง สถานที่นั้นก็มีเนินอันเดียวกันจนถึงอเวจีมหานรก ทรงแลดูทิศใหญ่และทิศเฉียง จักรวาลหลายแสนก็มีเนินเป็นอันเดียวกัน เทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม้พวกมนุษย์ก็เห็นเทวดา สัตว์นรกก็เห็นมนุษย์และเทวดา ต่างก็เห็นกันเฉพาะหน้าทีเดียว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งฉัพพรรณรังสี ขณะที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวเมืองจึงพากันทำบุญตักบาตรเป็นการใหญ่ เพราะไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้ามาถึง 3 เดือน การทำบุญตักบาตรในวันนั้นจึงได้ชื่อว่า ตักบาตรเทโวโรหนะ ต่อมามีการเรียกกร่อนไปเหลือเพียง ตักบาตรเทโว

เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น จึงนิยม ตักบาตรเทโว กันจนเป็นประเพณีสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วัตถุมงคล รุ่น อายุวัฒนะมงคล ๙๙ "พ่อท่านเสือเล็ก"


พ่อท่านเสือเล็ก
วัดควนซาง ต.หนองบัว อ.รัษฎา จ.ตรัง ถือเป็นศิษย์สายเขาอ้อที่มีอาวุโสสูงสุดในปัจจุบัน ด้วยวัย ๙๙ ปี แต่ท่านยังมีสุขภาพที่แข็งแรง โดยได้ปฏิบัติกิจของสงฆ์เป็นประจำ เช่น ทำวัตรเช้า วัตรเย็น มิได้ขาด นอกจากนี้ยามว่างท่านมักจะนั่งทบทวนคาถาอาคมที่ได้ร่ำเรียนมา ท่านได้กล่าวว่า การปฏิบัติสมาธิ และเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สามารถครองสติ และจดจำคาถาอาคมต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ

ที่ผ่านมาวัตถุมงคลของท่านทุกรุ่นมีประสบการณ์มากมายในทุกด้าน เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของผู้คนจำนวนมากมาย จนเป็นที่เลื่องลืออย่างกว้างไกล

ขณะนี้ทางวัดกำลังจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่น “อายุวัฒนะมงคล ๙๙” ประกอบด้วย 

- เหรียญรูปเหมือน 
- เหรียญรูปเหมือนหล่อโบราณ 
- รูปเหมือนปั๊ม 
- รูปเหมือนหล่อโบราณ 
- พระบูชา ๕ นิ้ว 
- พระปิดตา
- เครื่องรางรูปนางเงือก 

ซึ่งพ่อท่านเสือเล็กได้ทำพิธีปลุกเสกเดี่ยวทั้งหมดมาก่อนหน้านี้แล้ว เป็นเวลา ๙ วัน และจะทำพิธีปลุกเสกหมู่อีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๕ เริ่มเวลา ๑๗.๐๙ น. โดยพ่อท่านเสือเล็กจะนั่งปรกปลุกเสก ร่วมกับพระเกจิอาจารย์สายเขาอ้อหลายรูป อาทิ 

- หลวงพ่อเอียด วัดโคกแย้ม 
- หลวงพ่อผล วัดทุ่งนารี ฯลน 

หลังเสร็จแล้ว ทุกท่านที่เข้าร่วมพิธีจะได้รับแจกฟรี 
"เหรียญรูปเหมือนตัดชิด" (รุ่นแรก) ของพ่อท่านเสือเล็กเป็นที่ระลึก

สาธุชนท่านใดต้องการบูชาวัตถุมงคลของพ่อท่านเสือเล็ก รุ่น “อายุวัฒนะมงคล ๙๙” 
เพื่อนำรายได้บูรณะปฏิสังขรณ์ศาสนสถานภายในวัด 
ติดต่อโดยตรงได้ที่วัดควนซาง โทร.๐๘-๙๖๙๑-๖๗๓๙

ความคืบหน้า "ธนาคารพุทธฯ"

นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้สอบถามถึงความคืบหน้าของร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา และร่าง พ.ร.บ.ธนาคารพระพุทธศาสนา ซึ่งในส่วนของร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์ฯ ตนได้ชี้แจงไปว่าได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว อยู่ในระหว่างรอเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อนที่จะเสนอเข้าสู่วาระการประชุมของสภาฯ ต่อไป 

ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่าใช้เวลานานมาก แต่กลับยังไม่มีความคืบหน้านั้น ส่วนตัวกฎหมายแล้วยอมรับว่าไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย รัฐมนตรีที่มาดูแล พศ.ก็เปลี่ยนอยู่ตลอด จึงทำให้การพิจารณากฎหมายฉบับนี้ไม่คืบหน้า

นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวต่อว่า ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารพระพุทธศาสนายังอยู่ในระหว่างการพิจารณารายละเอียด โดยมีหลักการว่าพระสงฆ์จะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องในการบริหารธนาคาร และจะไม่มีการนำเงินพระสงฆ์เข้ามาเป็นทุนประเดิม ซึ่งการตั้งธนาคารพระพุทธศาสนาจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจะทำอย่างไรให้ธนาคารอยู่รอด ไม่ใช่พอตั้งธนาคารไปแล้ว และมีวัดต่างๆ นำเงินเข้ามาฝาก แต่มีการบริหารไม่ดี ไม่อยู่รอด เพราะเฉลี่ยแล้วการตั้งธนาคารแต่ละแห่งจะต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท ดังนั้น ในเรื่องนี้จึงจำเป็นต้องคิดให้ถี่ถ้วนก่อน

ดร.อำนาจ บัวศิริ รอง ผอ.พศ.กล่าวว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาและส่งร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว คาดว่าจะมีการนำร่าง พ.ร.บ.นี้บรรจุในวาระการประชุม ครม.ภายในเดือน ต.ค.นี้

คอลัมน์ : แวดวงมงคลพระ (ตุลาคม)


"รวบรวมทุกข่าวสาร แห่งวงการพระศาสนา"

******************

วัดพระธาตุเฉลิมพระเกียรติ
ต.ม่อนปิ่น อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ บริเวณวัดมีประชากร 600 กว่าหลังคาเรือน ตั้งอยู่ในพื้นที่เป็นเนินและดอยสูง ไม่มีที่เผาศพประจำหมู่บ้าน ทุกครั้งที่จะเผาศพต้องเดินทางไปใช้ร่วมกับหมู่บ้านอื่นเป็นระยะทางไกลและลำบากมาก พระราชกิตติสุนทร เจ้าอาวาส จึงได้ดำเนินการก่อสร้างเนื่องจากชาวบ้านขอให้หลวงพ่อสร้างมา 3 ปีแล้ว ผู้มีจิตศรัทธาติดต่อร่วมบริจาคได้ตามกำลังศรัทธา

******************

พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง "พระมหาสุรศักดิ์ อติสักโก" วัดประดู่ ศิษย์เอก "หลวงพ่อสุด วัดกาหลง" เจ้าตำรับ ยันต์ตะกร้อ อันโด่งดัง เมื่อเร็วๆ นี้ ท่านได้ดำริจัดสร้างวัตถุมงคล "พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์หลวงพ่อใหญ่ รุ่นรวยแน่นแน่น" วัตถุมงคลประกอบด้วย พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ เนื้อทองคำ, เนื้อเงิน, เนื้อนวโลหะหล่อโบราณ, เนื้อเมฆสิทธิ์, เนื้อซาติน และเนื้อทองทิพย์ 

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสมทบทุนสร้างอาคารศูนย์วัฒนธรรมและการเรียนรู้ และพัฒนาการศึกษาอื่นๆ ของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดประดู่) ในพระราชูปถัมภ์ฯ สนใจร่วมบุญบูชาสอบถามรายละเอียดได้ที่วัดประดู่ ต.เมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

******************

หนึ่งในศิษย์เอกของ หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จ.ระยอง เจ้าของตำนานหนุมาน และผงพรายกุมาร อันเลื่องชื่อของภาคตะวันออก ซึ่งปัจจุบันมีชื่อเสียงและกิตติคุณโด่งดังไม่แพ้พระอาจารย์ก็คือ "พระครูมนูญธรรมวัตร" หรือ "หลวงพ่อสาคร มนุญโญ" เล่ากันว่า ก่อนมรณภาพหลวงปู่ทิมได้มอบสมุดข่อยโบราณที่เขียนถึงการสร้างพระ การเขียนยันต์ รูปยันต์ต่างๆ ให้

******************

สืบเนื่องจาก สำนักสงฆ์เขาดินเนินหย่อง จ.ระยอง ซึ่งเป็นสำนักสงฆ์ในความอุปถัมภ์ของ หลวงพ่อสาคร จะดำเนินการก่อสร้างหอระฆัง "พระอาจารย์สุพจน์" เจ้าสำนัก ท่านจึงขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อนำรายได้มาสมทบทุน โดยหลวงพ่อสาครผู้มีกำเนิดวันเดียวกับหนุมาน คือ วันอังคาร เดือนสาม ปีขาล ซึ่งเชื่อว่าดวงกำเนิดเช่นนี้เป็นผู้มีตบะ เดชะ ได้โฉลกกับการปลุกเสกหนุมาน ท่านได้เมตตาตั้งชื่อหนุมานรุ่นนี้ว่า "มหาปราบไตรจักร" และมอบมวลสารประเภทโลหะ ได้แก่ แผ่นชนวนมวลสารจารยันต์หนุมาน 16 ปาง แผ่นชนวนมวลสารจารยันต์ 108 ยันต์ ตะปูสังฆวานร ใบพัดเรือประมงหากิน ตะกั่วตีนอวน ปลอกลูกปืน ตะกั่วโบสถ์ 100 ปี เป็นต้น

รูปแบบประกอบด้วย หนุมานลอยองค์ เนื้อทองคำ, เนื้อเงิน-เนื้อนวะ ก้นทองคำ, เนื้อเงิน-เนื้อนวะ ก้นอุดผง เนื้อชนวนสังฆวานร ก้นอุดผง เนื้อปลอกลูกปืน เนื้อชนวนทองแดง หนุมานช่อ 9 องค์ เนื้อปลอกลูกปืน, เหรียญหนุมาน หลังยันต์ 5 เนื้อใบพัดเรือ, เนื้อทองแดงผิวไฟ เนื้อตะกั่วตีนอวน หลังเรียบ จีวร จารมือ และผ้ายันต์หนุมานเขียนมือ (คลุมวัตถุมงคลตอนปลุกเสก) ทุกชนิดมีโค้ด และหมายเลขกำกับ สนใจร่วมบุญบูชาได้ที่สำนักสงฆ์เขาดินเนินหย่อง ม.3 ต.หนองบัว อ.บ้ายค่าย จ.ระยอง

******************

เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2555 ที่ผ่านมา ตรงกับวันครบรอบปีที่ 13 แห่งการมรณภาพของ หลวงปู่หลิว ปัณณโก อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่แตงทอง อ.กำแพงแสน เจ้าตำรับ เหรียญพญาเต่าเรือน อันโด่งดัง ทางวัดไร่แตงทองได้จัดพิธีทำบุญถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์ 1,000 รูป และร่วมหล่อ พระอรหันต์พระอนุรุธทะ ผู้เป็นเลิศด้านทิพพจักษุ ขนาดหน้าตัก 65 นิ้ว (165 ซ.ม.) ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และอุทิศให้ดวงวิญญาณหลวงปู่หลิว

โดยจะนำไปประดิษฐานไว้ให้ญาติโยมกราบไหว้หลังจากที่มีการหล่อพระอุปคุต, พระอานนท์ พระอรหันต์กัสสปะเถระแล้ว

******************

ถือว่าเป็นรุ่นสุดท้ายจริงๆ สำหรับ 'วัตถุมงคลรุ่นสิทธิมหามงคล 91' ครูบาสิทธิ อภิวัณโณ (พระครูมงคลรัตน์) วัดปางต้นเดื่อ (ดอยลาง) ต.แม่อาย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ หนึ่งในพระนักปฏิบัติ นักพัฒนา ที่ละสังขารไปเมื่อเร็วๆ นี้ หลังเข้าร่วมพิธีปลุกเสกร่วมกับพระคณาจารย์สายล้านนา เมื่อวันที่ 29 ก.ค.2555 ส่งผลให้ศิษยานุศิษย์ทางเชียงใหม่ และจังหวัดภาคเหนือ ร่วมทำบุญบูชาวัตถุมงคลรุ่นนี้เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก ประกอบด้วย เหรียญนั่งพาน, เหรียญนกยูงทองเรียกทรัพย์, รูปเหมือนบูชาหน้าตัก 9 นิ้ว 5 นิ้ว และรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก

******************

วัตถุมงคลสร้างใหม่ เปิดให้บูชาอีกรุ่น สุดยอดพุทธศิลป์ พระกริ่งใหญ่บัวรอบ, เหรียญพิมพ์เสมาหน้าเลื่อน และผ้ายันต์มหามงคล หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี รุ่น 100 ปี พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็นอดีตชาติ 'สามเณรบุญ รอด' เดินบนน้ำ ศิษย์เอกของหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ท่านผู้เป็นปฐมเหตุกำเนิดพระเครื่องหลวงพ่อทวด

วัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้จัดงานทำบุญ และงานรำลึกประวัติ 100 ปี พระอาจารย์ทิมจัดสร้างหุ่นขี้ผึ้งหลวงพ่อทวดและอาจารย์ทิมขนาดเท่าองค์จริง สมทบทุนบูรณะศาลาการเปรียญ วัดตานีนรสโมสร และสร้างบ่อน้ำบาดาล วัดมุจลินทวาปีวรวิหาร (วัดหลวงพ่อดำ) เป็นทุนช่วยเหลือสาธารณกุศล และมอบวัตถุมงคลให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติภารกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ และเป็นสิริมงคล 

พิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 26 ส.ค.2555 (ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9) วันพญาวัน พระพรหมจริยาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนใต้ ประธานจุดเทียนชัย

******************

จัดสร้างครั้งแรกในประวัติศาสตร์ พระพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง หลังประทับรูปสัตว์ 'รุ่นมหาลาภ' โดยรวบรวมผงพระสมเด็จเก่า วัดระฆังฯ, เกศไชโย และบางขุนพรหม ที่แตกหัก ชำรุด เสียหาย, ดินขี้กรุ, ดินกรุ, ผงวิเศษ 5 ประการ พระเก่า อิฐเก่า กำแพงเพชร และมวลสารมงคลอื่นๆ 

มี 6 พิมพ์ทรง คือ พระสมเด็จหลังครุฑ, พระสมเด็จหลังไก่, พระสมเด็จหลังปี่เซียะ, พระสมเด็จหลังหนุมาน, พระสมเด็จหลังน้ำเต้าคู่ และ พระสมเด็จหลังลายกาบหมาก ดำเนินการจัดสร้างโดย 'มูลนิธิอภิญญาจารย์' พิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 9 ก.พ.2555 ณ พระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม พระธรรมธีรราชมหามุนี ประธานจุดเทียนชัย พระพรหมสุธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ประธานดับเทียนชัย รายได้สมทบทุนมูลนิธิอภิญญาจารย์

******************

เชิญร่วมมหากุศลสร้าง พุทธมณฑลอยุธยา กับ หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย วัดสุทธาวาสวิปัสสนา อ.ลาด บัวหลวง จ.พระ นครศรีอยุธยา โดยการบูชาวัตถุมงคลต่างๆ อาทิ พระกริ่งกำแพงแก้ว, พระพิมพ์งบน้ำอ้อย 'รุ่นพระเจ้าสิบชาติ' พระปรุหนังกำบังภัย, เหรียญหล่อพระพิมพ์ประภามณฑล, พระยอดขุนพลทิพย์โกเมศ, พระยอดธงรุ่นทรงชัย, พระกริ่งหลวงปู่ทวด พิมพ์บัวรอบ, เหรียญบรมครูปู่ฤๅษีนารอท รุ่นเทพมุนี, ท้าวเวสสุวรรณ รุ่นสิทธิเวท, เหรียญโชคดี, รูปเหมือนหลวงพ่อรักษ์ ฯลฯ ติดต่อบูชาโดยตรงที่่วัด

******************

วัตถุมงคลรุ่นอายุยืน 108 ปี หลวงปู่สุภา กันตสีโล ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกวาระสอง เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2555 ณ วัดดอนสวรรค์ จ.สกลนคร (วัดบ้านเกิดหลวงปู่สุภา) สร้างหลายรูปแบบ อาทิ พระรูปเหมือนนั่งแมงมุมเรียกทรัพย์, เหรียญเม็ดแตงของขวัญ, เหรียญเจริญพร, เหรียญหล่อเจ้าสัว 5 แผ่นดิน, เหรียญพุทธซ้อน 'ศุขสุภา', เหรียญนาคปรก สนใจสอบถามได้ที่เซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขา

******************

ญาติโยมแห่ร่วมจารึกชื่อ นามสกุล วัน เดือน ปีเกิด บนแผ่นทอง และเททองหล่อ พระกริ่งรัตนโกสินทร์ พระเสาร์ทรงเสือ และสร้างพระด้วยมือเรา (ปั๊มพระประจำวันเกิด) เป็นต้น พระสงฆ์ดำรงสมณศักดิ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ฉลองชนวนแผ่นทอง แผ่นเงินจารึก

ประกอบพิธีบวงสรวง โดยโหรฟันธง 'ลักษณ์ เรขานิเทศ' ประธานดำเนินงานฝ่ายคฤหัสถ์ และพิธีนพเคราะห์ส่งพระเสาร์โดย พระโสภณธรรมวงศ์ (วศก ปัญญาอักโข) ประธานดำเนินงานฝ่ายสงฆ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ก.ย.2555 ณ มณฑลพิธีหน้าองค์หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง แขวงบางขุนพรหม เชิงสะพานพระราม 8 ใกล้ธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนวิสุทธิกษัตริย์

******************

วัตถุมงคล พ่อท่านคล้อย อโนโม 'รุ่นมหาสิทธิโชค' ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 11 ก.ย.2555 เวลา 13.09 น. ณ มณฑลพิธีวัดภูเขาทอง วัตถุประสงค์เพื่อสมทบกองทุนรักษาสุขภาพพ่อท่านคล้อย และสมทบทุนสร้างโรงครัวหลังใหม่ มี พระกริ่งมงคลอโนโม, เหรียญหล่อ, พระพรตมุนีฤๅษีองค์ครู, ตาพยนต์เจ้าทรัพย์

******************

พระครูนิเทศก์ธรรมรส หรือ หลวงพ่อไพฑูรย์ กันตธัมโม พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดโล่ห์สุทธาวาส จ.อ่างทอง จัดสร้างเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกขึ้น ชื่อว่า 'เหรียญรับทรัพย์' ผ่านพิธีปลุกเสกเมื่อวันเสาร์ที่ 5 เดือน 5 ปี 2555 ณ ห้องปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ่อน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์ สิทธิ์ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือน หลวงพ่อไพฑูรย์ กันตธัมโม แบบนั่งเต็มองค์ มีตัวเลขไทย ๕๕๕๕๕ ด้านล่างเขียนว่า 'พระครูนิเทศก์ธรรมรส' ส่วนด้านหลังเป็นอักขระเลขยันต์ ซึ่งสร้างขึ้นเป็นครั้งแรก สนใจร่วมบุญบูชาได้ที่วัดโล่ห์สุทธาวาส จ.อ่างทอง

******************

เมื่อเร็วๆ นี้ เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง 'หลวงพ่อเสน่ห์' วัดพันสี จ.อุทัยธานี ได้รับเลื่อนเป็นเจ้าคณะตำบลชั้นเอก มีพระสงฆ์ เจ้าคณะปกครอง ทั้งในจังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งศิษยานุศิษย์ ร่วมแสดงมุทิตาสักการะโดยพร้อมเพรียงกัน และต่างได้รับสิ่งมงคลคือ 'พระปิดตาต่อลาภ' ที่สร้างจากผงรังต่อร้าง เคยทำรังอยู่ตรงหัวบันไดกุฏิหลวงพ่อเสน่ห์

รังต่อรังนี้มีขนาดใหญ่มาก ทั้งตัวต่อที่อาศัยอยู่ก็ไม่ดุร้าย ไม่เคยออกไปทำความรำคาญเดือดร้อนให้เลย แม้ว่าจะมีชาวบ้านขึ้นบันไดผ่านไปผ่านมามากหน้าก็ตาม ไม่นานต่อรังนี้ก็ย้ายไปทำรังบนต้นมะม่วง 100 ปีของวัด ปล่อยให้รังร้าง หลวงพ่อเสน่ห์จึงให้พลีมาสร้างเป็น 'พระปิดตาต่อลาภ' ที่มีพุทธคุณ ต่อโชค ต่อลาภ ต่อเงิน ต่อทอง ออกไปไม่มีที่สิ้นสุด เป็นของดีที่นักนิยมพระต้องรีบหาบูชาอาราธนาพกพาติดตัว

******************

พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง 'หลวงปู่จัน' วัดวังเวิ่น จ.เพชรบูรณ์ ท่านเป็นสหธรรมิกกับ 'หลวงปู่ขุ้ย' วัดซับตะเคียน สมัยหนุ่มๆ ท่านเรียนวิชาร่วมกับหลวงปู่ขุ้ย ซึ่งถวายตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อทบ วัดชนแดน และ หลวงพ่อเขียน วัดขุนเณร ด้วยกัน 

หลวงปู่จันเล่าให้ศิษย์ฟังว่า รักกันกับหลวงปู่ขุ้ยมาก ขนาดเคยเล่นเขกหัวกัน ยามว่างก็แลกเปลี่ยนวิชากัน สรุปว่า เวทวิทยาคมของทั้ง 2 ท่าน เยี่ยมยอดทั้งคู่ 

ปัจจุบันหลวงปู่จัน สิริอายุ 90 ปี ท่านได้จัดสร้าง 'พระกริ่ง 9 จันทร์' ฉลองอายุขึ้น เป็นพระกริ่งเทหล่อโบราณ ก้นอุดผงวิเศษหลายชนิด รวมทั้ง 'สีผึ้งอีกาตอมซาก' ซึ่งเด่นทางเมตตามหานิยม และเป็นสุดยอดวิชาของหลวงปู่จัน

พระกริ่ง 9 จันทร์ มีทั้งก้นอุดตะกรุดทอง สร้างจำนวน 209 องค์ และ ก้นอุดผงวิเศษ สร้างจำนวน 2,555 องค์ น่าสะสมทั้ง 2 แบบ วัตถุมงคลอีกประเภทเป็น 'เบี้ยปัตตคราส' พุทธคุณปัดเคราะห์ร้าย โชคไม่ดีให้ห่างหนีออกไปจากชีวิต วิชาทำเบี้ยปัตตคราสนั้น ถือเอาเส้นปัดตลอดที่หลังตัวเบี้ย ซึ่งนักเลงพระโบราณเชื่อว่า หากเบี้ยมีเส้นปัดตลอดที่กลางหลังแล้ว จะปัดสิ่งอวมงคลให้หายสูญไปได้

******************

ถามหากันมาก 'แผ่นยันต์มหาเสน่ห์' ครูบาบุญทา วัดเจดีย์สามยอด จ.ลำพูน ปลุกเสกพร้อมเหรียญรุ่นแรก และวัวแดง ด้วยประสบการณ์ด้านเมตตามหาเสน่ห์ที่ ดังไกลถึงมาเลเซีย ตลอดเดือนที่ผ่านมา จึงมีนักนิยมสะสมวัตถุมงคลชาวมาเลเซีย ถามหาเช่าบูชากลับไปฝากเพื่อนฝูงที่มาเลเซียมากมายหลายราย สิ่งมงคลดีพุทธคุณขลัง ถึงอยู่ต่างแดนก็แสดงพุทธคุณให้เห็นได้เช่นกัน

******************

หลวงพ่อแป๋ว วัดดาวเรือง จ.สิงห์บุรี ท่านฝากบอกบุญ ถมที่ดินสร้างศาลาบูรพาจารย์ ประดิษฐานรูปหล่อท่านเจ้าคุณพระสิงห์มุนี องค์พระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อเชน วัดสิงห์ และ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม การนี้ได้จัดสร้างวัตถุมงคล 'หนุมานเชิญธง' รุ่นแรกให้บูชา โดยเอาแบบมาจากรอยสักหนุมานลายมือหลวงพ่อกวย ที่สักหนุมานตัวครูฝากไว้ที่สีข้างท่าน

หนุมานตัวนี้ อยู่กับหลวงพ่อแป๋วมายาวนานนับ 40 ปี ท่านปลุกเสกคาถาทุกวัน ศิษย์จึงรู้ว่าเป็นหนุมานตัวครูที่หลวงพ่อกวยฝากวิชาเอาไว้ หลวงพ่อแป๋วเชิญมาปลุกเสกหนุมานเชิญธงรุ่นแรก ให้มีหน้าที่เชิญโภคทรัพย์ แก้วแหวนเงินทอง ลาภ ยศ ตำแหน่ง เข้าบ้าน เข้าเรือนผู้บูชา เป็นของมงคลสูงค่าและน่าแสวงหาอีกชิ้นในขณะนี้ ความนิยมไม่แพ้ 'พระสมเด็จปรกโพธิ์สำริด' หลังตะกรุด 16 ดอก ที่ปลุกเสกพร้อมกัน

******************

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กรมศิลป์ฯ ของบ 40 ล้าน บูรณะวัดอรุณฯ

นายธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผอ.สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กล่าวถึงความคืบหน้าการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ว่า การบูรณะคอม้าพระปรางค์องค์เล็ก ได้ดำเนินการเสร็จแล้ว โดยคาดว่าในช่วงปลายเดือน ต.ค.นี้ กรมศิลปากรจะนำนั่งร้านออกเพื่อปรับภูมิทัศน์ให้สวยงามเช่นเดิม สำหรับแผนการดำเนินการบูรณะวัดอรุณราชวรารามนั้น ได้ดำเนินการจัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว
 
ทั้งนี้ จะดำเนินการบูรณะ ตั้งแต่ปี 2556-2558 โดยในปีงบประมาณ 2556 นี้ สำนักโบราณคดี ได้ทำแผนเสนอของบประมาณกลาง จำนวน 39.7 ล้านบาท ในการบูรณะพระปรางค์องค์เล็กด้านหลังพระปรางค์องค์ใหญ่ จำนวน 2 องค์ และมณฑปรายอีก 2 องค์ ซึ่งมีความทรุดโทรมมาก

ผอ.สำนักโบราณคดี กล่าวต่อว่า ในส่วนของพระปรางค์ประธานจะดำเนินการบูรณะ ตั้งแต่ ปี 2557-2558 โดยจะใช้งบประมาณจำนวน 130 ล้านบาท เนื่องจากจะต้องมีการเผาเซรามิกเป็นจำนวนมาก และจะต้องมีการตั้งนั่งร้าน อาจจะกระทบต่อภูมิทัศน์บ้าง ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการบูรณะให้เสร็จกำหนด เพื่อไม่กระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ส่วนการบูรณะเขตพุทธาวาสคณะกรรมการบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน อันเนื่องมาจากสถาบันพระมหากษัตริย์ได้อนุมัติในหลักการ ว่าจะให้ช่วยเหลือบูรณะเขตพุทธาวาส ขณะที่เขตสังฆาวาสนั้น ทางวัดจะเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ โดยทั้ง 3 ส่วนกรมศิลปากรจะเข้าไปดูแลการบูรณะทั้งหมดด้วย

“ผมได้รายงานความคืบหน้าให้ พระเทพมงคลรังษี เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ 
และ พระครูอรุณธรรมานุวัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ได้รับทราบความคืบหน้าแล้ว 
ซึ่งในปีงบประมาณ 2556 นี้ จะมีการจัดทำภาพสามมิติการบูรณะ 
และ การติดตั้งเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนในการเตือนแผ่นดินไหวด้วย 
พร้อมทั้งจะมีการศึกษาความแข็งแรงของฐานรากก่อนการบูรณะใหญ่ในปี 2557 อีกด้วย” 

นายธราพงศ์ กล่าว

จัดตั้ง "ห้องสมุดพุทธฯ" ฉลอง 100 พรรษา สมเด็จพระสังฆราชฯ

พระราชรัตนมงคล ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช กล่าวว่า การดำเนินการจัดตั้ง "ห้องสมุดพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย" เป็นจุดมุ่งหมายที่วางไว้ จากการดำเนินการภายใต้ โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมส่วนพระองค์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ 

โดยถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการจัดตั้งห้องสมุดพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ซึ่งจะดำเนินการรวบรวมมรดกทางธรรมต่างๆของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ตั้งแต่เดือน ต.ค.นี้ จากนั้นจะนำสิ่งต่างๆ ที่รวบรวมมาได้จัดทำเป็นสำเนาดิจิตอล เพื่อให้คงอยู่ในสภาพที่ดี และมีอายุยืนยาว เพื่อที่พุทธศาสนิกชนรุ่นหลังจะได้สามารถศึกษามรดกทางธรรมของพระองค์ได้ โดยมีกำหนด การจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย.2556 พร้อมกันนี้ยังได้ประสานไปยัง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยรังสิต และ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินการตามโครงการดังกล่าวด้วย



“ตั้งใจที่จะรวบรวมทุกเหตุการณ์ที่ พระองค์เสด็จไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งหากประชาชน หรือหน่วยงานใดๆ มีการบันทึกไว้ ไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม สามารถแจ้งมาได้ที่สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เพื่อที่จะนำมาจัดทำเป็นสำเนาดิจิตอลเก็บรักษาไว้ และต้องการรวบรวมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเบื้องต้นกำหนดไว้ว่าจะมีการทำสำเนาดิจิตอลลายพระหัตถ์ 1,000 ฉบับ สำเนาหนังสือพระนิพนธ์ 100 เล่ม สำเนาดิจิตอลหนังสือวิชาการส่วนพระองค์ 50 เล่ม สำเนาดิจิตอลเทปพระสุรเสียง 500 ม้วน และสำเนาพระรูป 6,000 รูป” พระราชรัตนมงคล ฉายภาพให้เห็นถึงเป้าหมายที่วางไว้ของการรวบรวมมรดกทางธรรมทั้งหมดของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ

นอกเหนือจากการรวบรวมข้อมูลต่างๆ และบันทึกไว้ในรูปแบบของสำเนาดิจิตอลแล้ว ทางสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ยังเตรียมที่จะพัฒนาข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้ เพื่อนำไปจัดทำเป็นแอพพลิเคชั่น เพื่อให้สามารถดาวน์โหลดลงในโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตได้อีกด้วย

พระครูสังฆสิทธิกร หัวหน้าฝ่ายศาสนวิเทศ สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช กล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยรังสิต จะเข้ามาช่วยในการนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมส่วนพระองค์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ไปพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่น เพื่อให้พุทธศาสนิกชนสามารถศึกษามรดกทางธรรมของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม เพราะพระพุทธศาสนานับเป็นการศึกษาตลอดชีวิต แม้จะอายุเท่าใดก็สามารถที่จะศึกษาหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาได้

"พระวินยาธิการ" มือปราบมารศาสนา!!

"บ้าน" จะดี ต้องมีแม่พ่อ สอนสั่ง
"คน" จะดี เพราะมีผู้ใหญ่ สั่งสอน
"เมือง" จะงาม ต้องมีกฎหมาย เป็นครรลอง
"ศาสนา" จะเรืองรอง เพราะคงไว้ซึ่ง "พระวินัย"

"ตำรวจ" เป็น ผู้ดูแลความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง
ผู้ที่คอยตรวจตรา และตักเตือน พระภิกษุสามเณร คือ "พระวินยาธิการ"

วินยาธิการ คือ "เจ้าการพระวินัย" หรือภาษาปากว่า "ตำรวจพระ" หมายถึง พระภิกษุผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามพระวินัย เรียกเต็มว่า "พระวินยาธิการ"

พระวินยาธิการ ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าคณะจังหวัด ให้มีหน้าที่ช่วยเหลือด้านการปกครองคณะสงฆ์ในจังหวัด โดยเฉพาะหน้าที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ด้านการปฏิบัติวินัยของพระภิกษุสามเณร

พระวินยาธิการ มีหน้าที่ตรวจตรา แนะนำ ชี้แจงระเบียบปฏิบัติ แก่พระภิกษุสามเณรในจังหวัด หรือที่เข้ามาในจังหวัด และ ตักเตือนบรรดาพระภิกษุสามเณร ที่มีความประพฤติไม่เรียบร้อย

การทำงานของ พระวินยาธิการ จะต้องประสานกับ 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และ เจ้าหน้าที่ตำรวจ การปฏิบัติหน้าที่ของพระวินยาธิการนั้น เปรียบเสมือน "แนวหน้า"ออกไปพบกับปัญหาก่อน ต้องออกไปตรวจดูพื้นที่อย่างน้อย 3-4 วันต่อสัปดาห์ หรือออกตรวจทุกวันได้ยิ่งดี โดยไม่ปล่อยให้เกิดเรื่องขึ้นมาก่อน

เมื่อออกไปตรวจพื้นที่ หรือ พบพระผู้ประพฤติปฏิบัติไม่ถูกต้องในเขตใด จะต้องนำพระรูปนั้นไปพบเจ้าคณะผู้ปกครองเขตนั้น ๆ เพื่อให้เจ้าคณะเขตได้สอบสวนว่ามาจากที่ไหนอย่างไร เมื่อได้ข้อเท็จจริงแล้ว ก็อยู่ในดุลพินิจของเจ้าคณะเขตจะพิจารณาลงโทษต่อไป

จังหวัดนครปฐม ดินแดนที่เปรียบเสมือน 
"เมืองหลวง แห่ง พระพุทธศาสนา" นั้น

ผู้ปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้าพระวินยาธิการ คือ "พระครูปลัดสิทธิวัฒน์" หรือ "หลวงพี่น้ำฝน" เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ผู้มีความมุ่งมั่นที่จะขจัดเหล่ามารศาสนาให้สิ้นไป

นอกจากการดูแลตรวจตราตามปกติ ที่ท่านถือปฏิบัติอยุ่เป็นประจำแล้ว หลายครั้งที่ท่านจะต้องออกไปปฏิบัติหน้าที่อย่าง "ถึงลูกถึงคน" จนเป็นที่รู้กันดีทั่วทั้งนครปฐมว่า ท่านเปี่ยมด้วยเมตตา แก่พระภิกษุผู้ปฏิบัติดี แต่ท่านจะไร้ซึ่งปราณี ต่อพระเก๊ที่ไร้วินัย

สาเหตุที่ท่านต้องดุดัน และจริงจังในการปฏิบัติหน้าที่ "หัวหน้าพระวินยาธิการ" นั้น 
ก็เพื่อหวังผลให้พระศาสนาสืบดำรง และคงไว้ซึ่งพระวินัย

เรียกได้ว่า หากใครคิดร้ายต่อพระศาสนา ต้องได้เจอดีจากหลวงพี่แน่นอน!!

ไม่ว่า "มารในคราบสงฆ์" นั้น จะหลบลี้หนีไกลสักเพียงไหน
แต่ก็ไม่เคยมีรายใด จะรอดพ้นจาก "มือปราบสงฆ์" นาม "หลวงพี่น้ำฝน" ไปได้สักราย

วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ตระกูล "โชกุน" ญี่ปุ่น ยกย่องวัดอรุณฯ


นพ.เกษม วัฒนชัย
องคมนตรี เป็นผู้แทนในการถวายใบรับรองจาก มูลนิธิพิพิธภัณฑ์โทคุกาวา ประเทศญี่ปุ่น ให้กับ วัดอรุณฯ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ควรได้รับความช่วยเหลือ เพื่อการซ่อมแซมและฟื้นฟูประจำปี 2555 และ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ควรเก็บรักษาไว้ โดยมี พระเทพมงคลรังษี เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ เป็นผู้รับมอบ 

ทั้งนี้ นพ.เกษม กล่าวว่า มูลนิธินี้เป็นมูลนิธิของตระกูลที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น เพราะเป็นตระกูลหนึ่งของโชกุน คือ โชกุนโทคุกาวา อิเอะยะซุ และภายหลังที่โชกุนคนดังกล่าวได้เสียชีวิตลง ลูกหลานก็รวบรวมสิ่งของจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์โทคุกาวาขึ้น 


ทั้งยังตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อคอยช่วยเหลือฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ด้วย ซึ่งวัดอรุณฯ เป็นโบราณสถานของไทยแห่งหนึ่งที่ได้รับการช่วยเหลือในการบูรณะซ่อมแซมพระพุทธรูป 23 องค์ ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วม พร้อมทั้งยังส่งช่างชาวญี่ปุ่นที่เชี่ยวชาญในการบูรณะพระพุทธรูป มาช่วยดำเนินการอีกด้วย ขณะเดียวกัน ทางมูลนิธิพิพิธภัณฑ์โทคุกาวายังแจ้งว่า หากเงิน 1 ล้านเยน หรือประมาณ 4 แสนบาท ซึ่งได้มีการถวายมายังวัดอรุณฯ เพื่อดำเนินการดังกล่าวไม่เพียงพอ ก็พร้อมที่จะถวายเงินเพิ่มอีก 1 ล้านเยน

นพ.เกษม กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ พระเทพมงคลรังษี ยังได้ทำหนังสือถึงสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในการบูรณะเขตพุทธาวาส วัดอรุณฯ ซึ่งคณะกรรมการบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถานอันเนื่องมาจากสถาบันพระมหากษัตริย์ สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้อนุมัติในหลักการว่าจะให้ความช่วยเหลือแล้ว

ด้าน พระครูอรุณธรรมานุวัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณฯ กล่าวว่า สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้มาจดบันทึกเหตุการณ์การบูรณะวัดอรุณฯ และการมอบหนังสือรับรองดังกล่าวให้เป็นเหตุการณ์สำคัญของชาติ เพราะถือเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์สำคัญอีกครั้งหนึ่งถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น

มหาเถรฯ ตั้ง เจ้าคณะบึงกาฬรูปแรก

พระพรหมเมธี กรรมการ และโฆษกมหาเถรสมาคม วัดสัมพันธวงศ์ เปิดเผยว่า ในการประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ได้มีมติแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดบึงกาฬ ทั้งฝ่ายธรรมยุต และมหานิกายขึ้นเป็นครั้งแรก หลังจากมีการยกจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งแต่เดิมเป็นอำเภอในจังหวัดหนองคาย ขึ้นเป็นเขตปกครองจังหวัด ทางคณะสงฆ์โดยฝ่ายธรรมยุตแต่งตั้ง พระประภัสสรมุนี (ดิ รันต์ ถามวโร) วัดท่าสะอาก อ.เซกา จ.บึงกาฬ และเจ้าคณะอำเภอเซกา ขึ้นเป็น เจ้าคณะจังหวัดบึงกาฬ (ธรรมยุต) ถือเป็นเจ้าคณะจังหวัดบึงกาฬรูปแรกของฝ่ายธรรมยุต

ส่วนฝ่ายมหานิกาย ได้แก่ พระครูสันติปัญญาภรณ์ (ประสงค์ ภูริปญฺโญ) วัดเซกาเจติยาราม อ.เซกา จ.บึงกาฬขึ้นเป็น เจ้าคณะจังหวัดบึงกาฬ

พระพรหมเมธี กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังมีการแต่งตั้งพระสังฆาธิการฝ่ายปกครอง ฝ่ายธรรมยุตขึ้นทำหน้าที่ หลายตำแหน่ง อาทิ

- พระราชเมธากรกวี (โสภณ ปญฺญาโสภโณ) เจ้าอาวาสวัดเสนาสนาราม (ธ) และเจ้าคณะอำเภอบางไทร ขึ้นเป็น เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

- พระครูวิมลศีลโสภณ (สำเนา ธมฺมสีโล) เจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีสองเมือง (ธ) อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ขึ้นเป็น เจ้าคณะจังหวัดนครพนม 

- พระครูอรรถธรรมเมธี (ชัยวัฒน์อิสฺสรธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดควนกะไหล (ธ) อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา เป็น เจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต–พังงา–กระบี่–ระนอง

- พระพิศาลศาสนกิจ (เยื้อน ขนฺติพโล) เจ้าอาวาสวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร (ธ) อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ เป็น เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์

- พระปิยทัสสี (สมพรฐานยุตฺโต) วัดป่าผาเจริญ (ธ) อ.วังสะพุง จ.เลย เป็น เจ้าคณะจังหวัดเลย แทน พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (ท่อน ญาณธโร) หรือ "หลวงปู่ท่อน" เกจิชื่อดัง วัดศรีอภัยวัน อ.เมืองเลย จ.เลย

- พระครูกิตติวรคุณ (บุญเลิศสุจิตฺโต) วัดอรัญญวาสี (ธ) อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เป็น เจ้าคณะจังหวัดหนองคาย แทน พระญาณสิทธาจารย์ (ทองพูล สิริกาโม) วัดสามัคคีอุปถัมภ์ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี

นอกจากนี้ ได้มีการอนุมัติให้ พระเทพวรเมธี (ดรุณ สุมโน) เจ้าอาวาสวัดบางขวาง อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี และ เจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรีต่อไปอีก 3 ปีเฉพาะกรณี

ทั้งนี้ ในส่วนของฝ่ายมหานิกาย มีการแต่งตั้งรองเจ้าคณะจังหวัด 2 รูป คือ พระมหาจันทราวุฒิ วชิรเมธี เจ้าอาวาสวัดตะพานหิน และ พระครูพิศาลจริยคุณ เจ้าอาวาสวัดบึงนาราง เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร

พระศรีศาสนโมลี (วิสูติปญฺญาทีโป) เจ้าอาวาสวัดโค้งสนามเป้า เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดจันทบุรี
พระราชพุฒิมุนี (ประทัย วชิรญาโณ) เจ้าอาวาสวัดศรีสะเกษ อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย เป็นรักษาการเจ้าคณะจังหวัดหนองคาย

พระพรหมเมธี กล่าวอีกว่า มส.ยังมีมติถอดถอน พระมหาไพศาล อาจาโร วัดหน้าเมือง จ.สุราษฎร์ธานี พ้นคณะทำงานการจัดตั้งสถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติในฐานะคณะทำงานและเลขานุการคณะทำงานการจัดตั้งสถานีเผยแพร่ภาพและเสียง (วิทยุโทรทัศน์) ให้พ้นจากตำแหน่งคณะทำงาน และเลขานุการคณะทำงานฯ เนื่องจากได้รับการร้องเรียนถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหลายประการ ของ พระมหาไพศาล อาจาโร และให้ พระครูวินัยธร สุรัฐ สิริปุญฺโญ วัดนายโรง กทม.เป็นคณะทำงานและ เลขานุการแทน

ตักบาตรพระนานาชาติ 2,600 รูป ช่วยสงฆ์ชายแดนใต้

นพ.พรชัย พิญญพงษ์ ประธานองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (ย.พ.ส.ล.) กล่าวว่า เนื่องในโอกาสฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กรุงเทพมหานคร ย.พ.ส.ล. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชมรมธรรมะในสวนในอุทยานเบญจสิริ สหพันธ์รวมใจไทยทั้งชาติ ร่วมกับเครือข่ายชาวพุทธจัด "ตักบาตรพระนานาชาติ 2,600 รูป" ในวันที่ 20 ต.ค.นี้ ที่อุทยานเบญจสิริ สุขุมวิท 24 

ทั้งนี้ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรม และร่วมฉลองครบรอบ 40 ปี ย.พ.ส.ล. โดยข้าวสารอาหารแห้งที่ได้จากการตักบาตรดังกล่าว จะนำไปถวายให้กับพระสงฆ์ที่อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ สำหรับพระสงฆ์นานาชาติที่จะมาบิณฑบาตในครั้งนี้มีประมาณ 7-8 ชาติ ซึ่งจะเป็นพระนิสิตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) โดยมี พระพรหมเมธี กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เป็นประธานในพิธี

นพ.พรชัย กล่าวต่อว่า สถานการณ์ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ยังคงเกิดความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยตนทราบข้อมูลมาว่าขณะนี้ชาวพุทธที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ได้ทยอยย้ายออกจากพื้นที่โดยตลอด ทำให้ขณะนี้มีจำนวนชาวพุทธในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ลดลงจากร้อยละ 20 เหลือเพียงร้อยละ 7 เท่านั้น 

แต่ในส่วนของพระสงฆ์ในพื้นที่ดังกล่าว ยังยืนยันที่จะอยู่ในพื้นที่ แม้จะต้องอยู่อย่างยากลำบากก็ตาม ดังนั้นทาง ย.ส.พ.ล. จึงจัดโครงการตักบาตรพระนานาชาติขึ้น เพื่อนำข้าวสาร อาหารแห้งที่ได้ไปถวายพระสงฆ์ในพื้นที่ดังกล่าวต่อไป เพื่อช่วยเหลืออีกทางหนึ่งให้พระสงฆ์ยังคงสามารถอยู่ในพื้นที่ได้ต่อไป

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

"มหาชาติ" 13 กัณฑ์ รำลึก "มหาทาน"

มหาชาติ แปลว่า ชาติที่ยิ่งใหญ่ หรือ การเกิดครั้งยิ่งใหญ่ หมายถึง การเกิดของพระเวสสันดรโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นการเกิดเพื่อบำเพ็ญบารมีครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติต่อมา

การเกิดครั้งสุดท้ายนี้พระเวสสันดรได้บำเพ็ญบารมีสำคัญ คือ ทานบารมี หรือ มหาทาน ซึ่งเป็นการทำให้บารมีอื่นสมบูรณ์ไปด้วย เปรียบเสมือนการประทับตราในหนังสือสำคัญ ทำให้เกิดความสมบูรณ์ และในชาติสุดท้ายนี้ พระเวสสันดรได้บำเพ็ญบารมีอื่น ๆ ครบทั้งสิบประการ จึงถือได้ว่า เป็นการเกิดครั้งสำคัญยิ่งใหญ่กว่าทุกชาติที่ผ่านมา


มหาชาติได้รับการประพันธ์เป็นบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรอง เพื่อนำไปเทศน์เป็นทำนองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เรียกการเทศน์เช่นนี้ว่า เทศน์มหาชาติ

ประเพณีงานเทศน์มหาชาติ นิยมทำกันหลังออกพรรษาพ้นหน้ากฐินไปแล้ว อาจทำในวันขี้น ๘ ค่ำกลางเดือน ๑๒ หรือในวันแรม ๘ ค่ำก็ได้ ซึ่งในช่วงนี้น้ำเริ่มลด และข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันทำบุญทำทาน และเล่นสนุกสนานรื่นเริง

การเทศน์มหาชาตินั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดร อันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นมหากุศลที่เตือนบุคคลให้น้อมรำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ คือความดีที่ยิ่งยวด อันมี การสละความเห็นแก่ตัว เพื่อผลประโยชน์อันไพศาลของมวลมนุษยชาติเป็นสำคัญ 

โดย เรื่องราวและประวัติความเป็นมาของการเทศน์มหาชาติในแต่ละกัณฑ์ มีดังนี้

- กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร ภาคสวรรค์

- กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรบริจาคทานช้างปัจจัยนาค ประชาชนสีพีโกรธแค้นจึงขับไล่ให้ไปอยู่เขาวงกต

- กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกมหาสัตสดกทาน

- กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศ เป็นกัณฑ์ที่สี่กษัตริย์เดินดงบ่ายพระพักตร์สู่เขาวงกต

- กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก เป็นกัณฑ์ที่ชูชกได้นางอมิตดามาเป็นภรรยา และหมายจะได้โอรสและธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาส

- กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน เป็นกัณฑ์ที่พรานเจตบุตรหลงกลชูชก และชี้ทางสู่อาศรมจุตดาบส

- กัณฑ์ที่ ๗ มหาพน เป็นกัณฑ์ป่าใหญ่ ชูชกหลอกล่ออจุตฤๅษีให้บอกทางสู่อาศรมพระเวสสันดรแล้วก็รอนแรมเดินไพรไปหา

- กัณฑ์ที่ ๘ กัณฑ์กุมาร เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก

- กัณฑ์ที่ ๙ กัณฑ์มัทรี เป็นกัณฑ์ที่พระนางมัทรีทรงได้ตัดความห่วงหาอาลัยในสายเลือด

- กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์จำแลงกายเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรี แล้วถวายคืนพร้อมถวายพระพร ๘ ประการ

- กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช เป็นกัณฑ์ที่เทพเจ้าจำแลงองค์ทำนุบำรุงขวัญสองกุมารก่อนเสด็จนิวัติถึงมหานครสีพี

- กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์ เป็นกัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญีภาพสลบลงเมื่อได้พบหน้า ณ อาศรมดาบสที่เขาวงกต

- กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัติพระนคร พระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดา

การเทศน์มหาชาติ จัดเป็นโบราณประเพณีอย่างหนึ่ง ซึ่งบรรพบุรุษไทยยึดถือสืบทอด และปฏิบัติสืบต่อกันมา ในปัจจุบันวัด ต่าง ๆ จัดให้มีการเทศน์มหาชาติขึ้น เพื่อเป็นการร่วมกันจรรโลงมรดกทางวัฒนธรรมที่สูงค่า ให้อยู่คู่กับพระพุทธศาสนาสืบไป