วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พระพุทธชยันตี (ปางสมาธิ) ฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี


ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย จัดสร้างวัตถุมงคล พระพุทธชยันตี (ปางสมาธิ) เพื่อเป็นที่ระลึกงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ในเทศกาลวิสาขบูชา ปี 2555 โดย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ปี 2555 และเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.2555 และเมื่อวันเสาร์ที่ 5 เดือน 5 ปี 2555

สำหรับ พระพุทธชยันตี มาจากคำว่า "ชย" คือ ชัยชนะ อันหมายถึง ชัยชนะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีต่อหมู่มาร และกิเลสทั้งปวงอย่างสิ้นเชิง อันทำให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นในโลก พุทธชยันตีจึงมีความหมายว่าเป็น "การตรัสรู้ และการบังเกิดขึ้นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย"

ในปัจจุบันพุทธชยันตียังถูกตีความในความหมายถึง ชัยชนะของพุทธศาสนาและชาวพุทธด้วย เช่น การได้รับเอกราช และมีสิทธิ์ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเป็นครั้งแรกของชาวพุทธในประเทศศรีลังกา การฉลองปีใหม่ชาวพุทธโดยไม่มีเหล้าสุรายาเสพติดสิ่งมึนเมาทั่วทั้งประเทศศรีลังกา การเอาชนะสิ่งเลวร้ายในสังคม จนทำให้ประเทศศรีลังกามีสถิติอาชญากรรมที่ต่ำมาก

ความสำคัญของ พุทธชยันตี เป็นชื่อเรียกงานเฉลิมฉลองหรือพิธีบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื่องในวาระแห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาในประเทศไทยนั่นเอง พุทธชยันตีนี้เป็นที่รู้จักกันดี ของชาวพุทธนาๆ ชาติอย่างประเทศศรีลังกา อินเดีย พม่า ไทย เป็นต้น

สำหรับรัฐบาลไทย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้ร่วมฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ ด้วยการสร้าง "พุทธมณฑลเป็นอนุสรณ์สถาน" ประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยกำหนดให้วันพระ หรือวันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ (ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2499 ) และมีการพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทยครบชุดฉบับแรก เป็นต้น

สำหรับการเฉลิมฉลองในระดับนานาชาตินั้น รัฐบาลพม่าได้เป็นเจ้าภาพในการจัด "ฉัฎฐสังคีติ" คือการสังคยนาพระไตรปิฎกระดับนานาชาติ โดยทางพม่านับเป็นการสังคยนาครั้งที่ 6 แล้วได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาลี และคัมภีร์ทั้งหลายขึ้นเป็นจำนวนมาก สำหรับวาระสำคัญในปีปัจจุบันเนื่องในมหาธัมมาภิสมัย พุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้นั้น ถ้าถือตามหลักการคำนวนปีพุทธศักราชแบบไทยอยู่ในช่วงระหว่าง วันวิสาขบูชา 2554 และวันวิสาขบูชา 2555 ทั้งนี้ ในวันวิสาขบูชา 2555 ที่ผ่านมานี้ (วันที่ 4 มิ.ย.2555) เป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ครบ 2600 ปี

ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการจัดงาน ได้จัดพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสก แผ่นเงิน, ทอง, นาก และชนวนมวลสาร สร้างวัตถุมงคล พระพุทธชยันตี (ปางสมาธิ) ณ วิหารพุทธมณฑล อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม โดยพระเกจิคณาจารย์ 9 รูป ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ

- พระธรรมปริยัติเวที วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม,
- หลวงปู่แคล้ว วัดดอนเมือง กรุงเทพฯ,
- หลวงพ่อแย้ม วัดไร่ขิง จ.นครปฐม,
- หลวงพ่อเฉลา วัดราชคฤห์ กรุงเทพฯ,
- พระรัตนมงคลโมลี วัดธาตุทอง กรุงเทพฯ,
- หลวงพ่อชัยศรี วัดตุ๊กตา จ.นครปฐม,
- ครูบาหลวงปู่เสาร์ สำนักสงฆ์อำเภอแม่แตง จ.เชียงใหม่,
- พระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร วัดกุศลสมาคร
- องอนันตสรนาท วัดอุทัยภาติการาม (ซำปอกง) จ.ฉะเชิงเทรา

พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงเสด็จประกอบพิธีเททอง พระพุทธชยันตี ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อวันเสาร์ที่ 26 พ.ค. มีพระเกจิคณาจารย์นั่งอธิษฐานจิต 11 รูป ได้แก่

- หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์,
- หลวงพ่อบัว วัดเกาะตะเคียน,
- หลวงพ่อแถม วัดช้างเทกระจาด,
- หลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่,
- หลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้ว,
- หลวงพ่อคง วัดเขากลิ้ง,
- หลวงพ่อหวัน วัดคลองคูณ,
- หลวงพ่อสวาท วัดอ่าวหมู,
- หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม,
- หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน
- หลวงพ่ออเนก วัดนาหนอง

วัตถุมงคลรุ่นนี้ประกอบไปด้วย พระกริ่งพุทธชยันตี (ปางสมาธิ) เนื้อทองคำ, เนื้อเงิน, เนื้อนวโลหะ และเนื้อสำริด พระเนื้อผงพุทธชยันตี (ปางสมาธิ) แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ได้แก่ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นที่ระลึกงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ในเทศกาลวิสาขบูชา ปี 2555, เพื่อเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, เพื่อจัดหากองทุนจัดงานวิสาขบูชา และเพื่อเป็นกองทุนส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา

สอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น