ในช่วงวัยเยาว์ จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 โรงเรียนวัดแสนภูดาษ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา หลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนในหมู่บ้าน ได้ไปใช้ชีวิตฆราวาส แต่อุปนิสัยของท่าน เป็นผู้มีจิตใจโน้มเอียงเข้าหาพระธรรม เวลาว่างจากงาน ได้พยายามศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา รวมทั้งแนวทางปฏิบัติของพระสายกัมมัฏฐาน
กระทั่งอายุ 38 ปี เกิดความเบื่อหน่ายชีวิตทางโลก ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2510 ณ วัดท่าสะอ้าน ต.ท่าสะอ้าน อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
โดยมี พระครูธรรมกิจจานุรักษ์ วัดอุสภาราม จ.ฉะเชิงเทรา เป็นพระอุปัชฌาย์
พระสมุห์แจ่ม ทันตธัมโม วัดอุสภาราม ต.บางวัว เป็นพระกรรมวาจาจารย์
และ พระครูบัว โรย สีลเตโช วัดท่าสะอ้าน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ปิยวัณโณ"
หลังเข้าสู่ร่มเงาผ้ากาสาวพัสตร์แล้วได้จำพรรษา ที่วัดท่าสะอ้าน เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย หลังมุมานะศึกษาอยู่หลายปี พ.ศ.2514 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ ที่สำนักเรียนคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา
ตลอดเวลาหลวงปู่ได้เฝ้าปรนนิบัติรับใช้ดูแลอุปัฏฐากพระอุปัชฌาย์อย่างใกล้ชิด พร้อมกับได้ฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐาน ทำให้ท่านมีความเชี่ยวชาญทั้งพระธรรมวินัยและวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ลำดับงานปกครอง
พ.ศ.2521 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดท่าสะอ้าน
พ.ศ.2528 เป็นเจ้าคณะตำบลบางวัว
พ.ศ.2529 เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.2532 เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าสะอ้าน
พ.ศ.2532 เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าสะอ้าน
พ.ศ.2546 เป็นเจ้าคณะอำเภอบางปะกง
พ.ศ.2552 รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโสธร วรารามวรวิหาร
พ.ศ.2552 รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโสธร วรารามวรวิหาร
ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2547 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระพิพิธกิจจาภิวัฒน์ และเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2552 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชมงคลรังษี
ทั้งนี้ พระราชมงคลรังษี มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง ท่านได้กำหนดกฎระเบียบเข้มไว้ด้วยวัตรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทำให้ท่านมีชื่อเสียงอยู่ในศรัทธาของญาติโยมชาวบางปะกงอย่างรวดเร็ว ในแต่ละวันมีญาติโยมจากทั่วสารทิศเดินทางมากราบนมัสการรับฟังธรรมจากท่านอย่างล้นหลาม
สำหรับปัจจัยที่ได้รับการบริจาคจากญาติโยม ได้นำมาพัฒนาให้กับวัดแห่งนี้ อาทิ ประตู กุฏิ ศาลาการเปรียญ เป็นต้น
พระราชมงคลรังษี พร่ำสอนให้ญาติโยมยึดคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ให้หมั่นประกอบแต่กรรมดี รู้จักการทำบุญให้ทาน อย่าเห็นแก่ตัว ตายไปแล้วทรัพย์สินใดๆ ก็เอาติดตัวไปไม่ได้ ขอให้ยึดหลักความพอเพียง ชีวิตตนเองและครอบครัวจะประสบแต่ความเจริญรุ่งเรือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น