พระพายัพเรียนพระพุทธศาสนาค่อนข้างจะใช้ปัญญา พิจารณาแยกแยะเยอะมาก แต่หลวงพ่อเรียนพระพุทธศาสนา หลวงพ่อใช้ความสงบมากกว่าใช้เหตุผล มากกว่าใช้ปัญญา ที่สำคัญ วัดป่าพุทธคยา "พระพายัพ" เป็นโยมอุปัฏฐากในการระดมทุนมาสร้างวัดแห่งนี้ เป็นการตอบแทนพุทธโอวาทของพระพุทธเจ้า
"เขาไปทุ่มเทที่วัดป่าพุทธคยา เขาไม่ได้ทุ่มเทเอาวัด เขาทุ่มเทเอาบุญ ถ้าเราเกิดมาเป็นมนุษย์ไม่ทำอะไรไว้บ้าง ไม่ตอบแทนชาติ ไม่ตอบแทนแผ่นดิน ไม่ตอบแทนพระศาสนาบ้างเลยหรือ"
ก่อนที่ "หลวงพ่อจิ๋ว" จะมาอยู่ที่อินเดีย ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าธรรมชาติ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี เป็นผู้ก่อตั้งวัดป่าธรรมชาติใน จ.เชียงใหม่ และวัดป่าธรรมชาติในอเมริกาอีก 4 วัด รวมทั้งเป็นผู้สร้างวัดป่าธรรมชาติในพุทธคยา ใกล้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย
ว่ากันว่า "พระพายัพ" กับ หลวงพ่อจิ๋ว เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธคยา มีสายสัมพันธ์กันยาวนานมากว่า 30 ปี นับแต่ได้รู้จักกันครั้งแรก เมื่อหลวงพ่อจิ๋วรับนิมนต์ไปสอนกรรมฐานที่สหรัฐอเมริกาแทบทุกรัฐ
"ตอนนั้นอยู่อเมริกา มีพระหลายรูปทะเลาะกันเรื่องไม่ฉันเช้า เวลามีโยมมาถวายอาหารเช้าก็ถามมีพระกี่รูป 9 รูป แต่มีรูปหนึ่งไม่ฉันตอนเช้า วันหนึ่งมีโยมชื่ออุไร ซื้อเทปภาษาอังกฤษให้หัดฟัง แล้วพอดีวันนั้นคุณพายัพไปที่วัด เขาชอบทำบุญ ก็ไปตามพระมาฉัน หลวงพ่อกำลังฟังซาวนด์อะเบาท์อยู่ เขาเห็นเข้าก็บอกว่า พระเฮงซวย ไม่ต้องฉันก็ได้ว่ะ เขาไม่ชอบ เห็นพระอะไรมานั่งฟังเพลงอย่างนี้ หลังจากนั้นไม่นาน วันหนึ่งมีโยมมานิมนต์หลวงพ่อไปสอนกรรมฐาน ข่าวดังไปจนถึงโยมคนนี้ เขาไปดู ไปถึงบอก..พระที่เราด่านั่นเอง"
หลวงพ่อให้แง่คิดชีวิตแก่พายัพ ชินวัตร ซึ่งเป็นโยมอุปัฏฐากท่านมากว่าครึ่งชีวิตว่า ชีวิตของโยมก็ดี ของพระก็ดี ส่วนใหญ่มักจะสายเกินไปกว่าที่จะได้มาประพฤติปฏิบัติ
"เพราะเป็นคนไม่ประมาทในชีวิต สร้างบารมีด้วยการตามหลวงพ่อไปนอนป่าช้าไหนก็ไปทั้งนั้น หลวงพ่ออยู่บนเขาลูกไหนก็ไปทั้งนั้น แต่ไปแล้วขอภาวนาแบบนอน คนอื่นเขานั่งหมด แต่คุณพายัพเอาแบบนอน แล้วเวลาไปป่าเขามันลำบาก หลวงพ่อก็สอนว่า เวลาเดินทางก็ให้มีสติกำหนดรู้ แล้วก็ปล่อยวาง มีสติกำหนดรู้แล้วก็รักษาไว้ มีสติกำหนดรู้แล้วก็ทำใจ เขาก็ปฏิบัติตามมาเรื่อย"
ครั้งหนึ่ง พระพายัพป่วยเป็นโรคตับ เกือบเอาชีวิตไม่รอด หลวงพ่อจิ๋วนี่แหละได้ใช้พลังช่วยเหลือจนรอดชีวิตมาได้อย่างปาฏิหาริย์นอกเหนือจากการเปลี่ยนตับในชั่วเสี้ยววินาทีที่เขาเองก็บอกว่า คิดว่าตนเองตายไปแล้ว และเหมือนเกิดใหม่ หลังจากนั้นชีวิตที่เหลืออยู่ของเขาเป็นเช่นไร และอยู่เพื่ออะไร
"ผมเชื่อมั่นในการทำบุญ ก่อนที่จะทำเต็มใจที่จะทำ เวลาทำเต็มใจที่จะทำ หลังทำ ภูมิใจที่ได้ทำ แล้วบุญจะเกิดขึ้นเป็นความสุขในใจ เวลาเรามีภาวะคับขัน เราไม่ละอายแก่ใจ เป็นความภาคภูมิใจ นี่คือบุญ ส่วนอานิสงส์เป็นอีกเรื่อง ถ้าปลูกข้าวในดินดี ข้าวก็งอกงามดี ผมจึงเลือกที่พุทธคยา" พระพายัพ เคยกล่าวกับผู้สื่อข่าวพิเศษในวันหนึ่งที่วัดป่าพุทธคยา ด้านการปฏิบัติธรรมส่วนตัว พระพายัพมีหลักคิดที่ว่า "การปฏิบัติธรรม เหมือนค้าขาย ทำทุกวัน ปรับปรุงทุกวัน ไม่สิ้นสุด จากเงินล้านก็ต้องเป็นสิบล้าน เป็นร้อยล้าน ปัจจุบันเรามีเวลาสักสองชั่วโมงในการพิจารณาชีวิตและจิตใจไหม มันเป็นเรื่องของชั่วโมงบินในการปฏิบัติ"
ว่ากันว่า "พระพายัพ" กับ หลวงพ่อจิ๋ว เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธคยา มีสายสัมพันธ์กันยาวนานมากว่า 30 ปี นับแต่ได้รู้จักกันครั้งแรก เมื่อหลวงพ่อจิ๋วรับนิมนต์ไปสอนกรรมฐานที่สหรัฐอเมริกาแทบทุกรัฐ
"ตอนนั้นอยู่อเมริกา มีพระหลายรูปทะเลาะกันเรื่องไม่ฉันเช้า เวลามีโยมมาถวายอาหารเช้าก็ถามมีพระกี่รูป 9 รูป แต่มีรูปหนึ่งไม่ฉันตอนเช้า วันหนึ่งมีโยมชื่ออุไร ซื้อเทปภาษาอังกฤษให้หัดฟัง แล้วพอดีวันนั้นคุณพายัพไปที่วัด เขาชอบทำบุญ ก็ไปตามพระมาฉัน หลวงพ่อกำลังฟังซาวนด์อะเบาท์อยู่ เขาเห็นเข้าก็บอกว่า พระเฮงซวย ไม่ต้องฉันก็ได้ว่ะ เขาไม่ชอบ เห็นพระอะไรมานั่งฟังเพลงอย่างนี้ หลังจากนั้นไม่นาน วันหนึ่งมีโยมมานิมนต์หลวงพ่อไปสอนกรรมฐาน ข่าวดังไปจนถึงโยมคนนี้ เขาไปดู ไปถึงบอก..พระที่เราด่านั่นเอง"
หลวงพ่อให้แง่คิดชีวิตแก่พายัพ ชินวัตร ซึ่งเป็นโยมอุปัฏฐากท่านมากว่าครึ่งชีวิตว่า ชีวิตของโยมก็ดี ของพระก็ดี ส่วนใหญ่มักจะสายเกินไปกว่าที่จะได้มาประพฤติปฏิบัติ
"เพราะเป็นคนไม่ประมาทในชีวิต สร้างบารมีด้วยการตามหลวงพ่อไปนอนป่าช้าไหนก็ไปทั้งนั้น หลวงพ่ออยู่บนเขาลูกไหนก็ไปทั้งนั้น แต่ไปแล้วขอภาวนาแบบนอน คนอื่นเขานั่งหมด แต่คุณพายัพเอาแบบนอน แล้วเวลาไปป่าเขามันลำบาก หลวงพ่อก็สอนว่า เวลาเดินทางก็ให้มีสติกำหนดรู้ แล้วก็ปล่อยวาง มีสติกำหนดรู้แล้วก็รักษาไว้ มีสติกำหนดรู้แล้วก็ทำใจ เขาก็ปฏิบัติตามมาเรื่อย"
ครั้งหนึ่ง พระพายัพป่วยเป็นโรคตับ เกือบเอาชีวิตไม่รอด หลวงพ่อจิ๋วนี่แหละได้ใช้พลังช่วยเหลือจนรอดชีวิตมาได้อย่างปาฏิหาริย์นอกเหนือจากการเปลี่ยนตับในชั่วเสี้ยววินาทีที่เขาเองก็บอกว่า คิดว่าตนเองตายไปแล้ว และเหมือนเกิดใหม่ หลังจากนั้นชีวิตที่เหลืออยู่ของเขาเป็นเช่นไร และอยู่เพื่ออะไร
"ผมเชื่อมั่นในการทำบุญ ก่อนที่จะทำเต็มใจที่จะทำ เวลาทำเต็มใจที่จะทำ หลังทำ ภูมิใจที่ได้ทำ แล้วบุญจะเกิดขึ้นเป็นความสุขในใจ เวลาเรามีภาวะคับขัน เราไม่ละอายแก่ใจ เป็นความภาคภูมิใจ นี่คือบุญ ส่วนอานิสงส์เป็นอีกเรื่อง ถ้าปลูกข้าวในดินดี ข้าวก็งอกงามดี ผมจึงเลือกที่พุทธคยา" พระพายัพ เคยกล่าวกับผู้สื่อข่าวพิเศษในวันหนึ่งที่วัดป่าพุทธคยา ด้านการปฏิบัติธรรมส่วนตัว พระพายัพมีหลักคิดที่ว่า "การปฏิบัติธรรม เหมือนค้าขาย ทำทุกวัน ปรับปรุงทุกวัน ไม่สิ้นสุด จากเงินล้านก็ต้องเป็นสิบล้าน เป็นร้อยล้าน ปัจจุบันเรามีเวลาสักสองชั่วโมงในการพิจารณาชีวิตและจิตใจไหม มันเป็นเรื่องของชั่วโมงบินในการปฏิบัติ"
*************************
เรื่อง/เรียบเรียงโดย : ทีมข่าวมงคลพระ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น