คนที่ไม่มีความจริงใจ ไม่มีน้ำใจ ทำให้เกิดมีความโลภขึ้นมา
เมื่อ “ความโลภ” เข้ามาครอบงำจิตใจ ย่อมเกิดความอยากได้ ใคร่มี อยากได้ของคนอื่นมาเป็นเจ้าของ อยากได้มาครอบครองเป็นของตน ขอให้พึงระลึกไว้เสมอว่า “จงพอใจในสิ่งที่เรามีอยู่”
เมื่อความโลภเข้าครอบงำชีวิตของคนเราแล้ว ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ก็เริ่มหายไป กลายเป็นความรู้สึกอยากได้ของคนอื่นอยู่ร่ำไป อยากได้ตลอดชีวิต อยากร่ำรวย อยากมั่งมีจนวันตาย!!
สิ่งที่จะช่วยแก้ไขความโลภได้ดีที่สุดคือ “การให้” เพราะการให้เป็นสิ่งที่ดี ผู้ให้ย่อมบังเกิดความสบายใจ “ผู้รับ” ก็มีความสุข เกิดพลังสร้างสรรค์ขึ้นเป็นกำลังใจ
ทั้งนี้ต้องดำรงไว้ด้วยคติเตือนใจ อย่าให้เพราะความโลภ และอย่ารับด้วยความโลภ คำว่า โลภ ค่อนข้างรุนแรง ในแง่ความรู้สึกของคนทั่วไป แต่ละไม่ได้ ส่วนใหญ่ “ความโลภ” มักแฝงอยู่ในตัวตนของทุกคน
ตัวอย่างความโลภมีให้เห็นมากมาย เช่นในนิทานเรื่องหมาป่ากับเงา ที่หมาป่าไปขโมยเนื้อของชาวบ้าน และก็วิ่งไปถึงสะพาน เมื่อมองลงไปในน้ำ เห็นว่าเนื้อที่อยู่ในน้ำนั้น มีขนาดใหญ่กว่าเนื้อที่คาบอยู่ จึงปล่อยเนื้อที่คาบอยู่ในปากนั้นทิ้งเสีย เพื่อจะเอาเนื้อที่เห็นในน้ำ ด้วยความที่หมาป่าโลภจึงทำให้ไม่ได้กินอะไรเลย อดอย่างหมดท่าที่สุด นี่คือตัวอย่างของความโลภที่เห็นชัดเจน
ถ้าถามว่า ทำไมทุกคนต้องโลภ คำตอบง่ายๆ ก็เพราะทุกคนมีความอยากได้อยากมีนั่นเอง!
ทุกวันนี้ความโลภมีให้เห็นทุกเหลี่ยมมุมของชีวิตคน ฝังอยู่ในตัวและจิตใจของทุกคน ทุกเพศทุกวัย แต่จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการห้ามใจ อย่างที่เห็นชัดในสังคมไทย เวลามีการแจกของตามหน้าห้าง บางคนก็รับมาชิ้นเดียวตามที่เขาแจก แต่บางคนวนมารับหลายรอบ เพราะความอยากที่จะได้อีก
นี่คือความโลภระดับพื้นฐาน โลภระดับต้นๆ ที่กำลังเริ่มพัฒนาไปสู่ความโลภที่มากขึ้น
จริงๆแล้วความโลภไม่เข้าใครออกใคร เพราะความโลภตัวเดียวทำให้คนทำอะไรได้ทุกอย่าง และสามารถทำในสิ่งที่ไม่ดีลงไปได้เพราะความโลภ เมื่อความโลภเดินเข้ามาในใจ ความสำนึกดีเริ่มเดินหนีจากไป กลายเป็นความอยาก คล้ายกับความฝันลมๆแล้งๆที่ถูกจินตนาการขึ้นมาภายในจิตใจ และจากการที่เคยเป็นคนดีในสายตาของคนอื่น เมื่อความโลภเข้ามาครอบงำ ก็กลายเป็นคนไม่ดีในสายตาของผู้อื่นได้เช่นกัน
ถ้าไม่อยากเป็นคนไม่ดีในสายตาคนอื่น ก็จงทำตัวให้ดี ต้องขจัด ความโลภออกไป ให้ได้โดยเด็ดขาด ถ้าทำได้ชีวิตก็จะมีแต่ความสุขความเจริญ เพราะความสุขที่แท้จริง ไม่ได้อยู่ที่ข้าวของ เงินทอง หรือทรัพย์สมบัติอะไรทั้งสิ้น
ในทางพระพุทธศาสนา ความโลภ คือ ความอยากมาก จนเกินความพอเหมาะพอควร ไม่เดินสายกลาง จึงทำให้เกิดความทุกข์ทางจิตใจมากกว่าระดับปกติ นับเป็นความอยากอย่างรุนแรง ทำให้จิตใจดิ้นรนด้วยความทะยานอยาก เรียกว่า "ตัณหา".และความโลภที่เห็นชัดเจนมากที่สุดคือ ความโลภที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของตัณหา และกามารมณ์ ทุกวันนี้คนเราอยากเสพกาม จนเกินความพอเหมาะพอควร เนื่องเพราะการรับรู้ข้อมูลที่เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส จะเป็นทางใดทางหนึ่งหรือหลาย ๆ ทางก็ได้ เช่น มีความอยากมากที่จะเห็นสิ่งที่สวยงามทางตา ฟังเสียงที่ไพเราะทางหู ดมกลิ่นที่หอมทางจมูก ลิ้มรสที่อร่อยทางลิ้น สัมผัสของที่นุ่มนวลทางกาย เป็นต้น
ความดิ้นรนทะยานอยากที่จะเสพกามอย่างรุนแรง เรียกว่า กามตัณหา
ส่วนอีกตัวอย่างความโลภคือประเภทแบบอยากได้ อยากมี อยากเป็น คือ การมีความอยากมากที่จะได้ จะมี จะเป็น จนเกินความพอเหมาะพอควร เช่น อยากจะได้ลาภมาก อยากจะมีทรัพย์สมบัติมาก อยากเป็นคนมีอายุยืนมาก เป็นต้น
นับเป็นความดิ้นรนทะยานอยากที่จะได้ จะมี จะเป็นอย่างรุนแรง
ความโลภเฉกเช่นนี้เป็นไปตามที่ตนมีความปรารถนา ถึงขั้นเบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่น หรือสิ่งแวดล้อม สุดท้ายก็ทำให้เกิดความทุกข์
คนไทยทุกวันนี้ ส่วนใหญ่มีแต่ความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย คนไทยที่ว่านี้อยู่ในตัวเมืองที่เจริญและคนจำพวกนี้มีแต่ความลุ่มหลงเป็นนิสัย ชอบจัดงานใหญ่โต ฉลองยศ ฉลองตำแหน่ง เลี้ยงรุ่น งานคืนสู่เหย้า ที่สำคัญงานประเภทนี้มีอยู่ทุกวัน
จนกลายเป็นความเชื่อที่สืบเนื่องมานานเป็นประเพณี ถูกสร้างขึ้นเป็นค่านิยม โดยเฉพาะเรื่องของหน้าตา เกียรติยศ ชื่อเสียง ต้องการให้สังคมยอมรับ เชื่อถือ และคนประเภทนี้ เมื่อเกิดความผันแปรอันเป็นกฎธรรมดา เช่น เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ความเศร้าหมองก็จับหัวใจ มีความทุกขเวทนาในอารมณ์ จนสุดจะทนทานได้
เมื่อหัวโขนหลุดลอยไป ผู้คนที่เคยแวดล้อม เคยสรวลเสเฮฮา เคยยกยอปอปั้นประจบสอพลอ ก็ทยอยหลบหน้าหายไป ผู้ที่เคยให้ความเคารพนับถือ เคยสรรเสริญเยินยอ สุดท้ายก็หายไปในที่สุด ไม่ปรากฏให้เห็นดังที่เป็นมา บุคคลเช่นนี้มีมากมายในเมืองไทย มีทุกระดับชั้น
ถ้าไม่อยากเป็นคนไม่ดีในสายตาคนอื่น ก็จงทำตัวให้ดี ต้องขจัด ความโลภออกไป ให้ได้โดยเด็ดขาด ถ้าทำได้ชีวิตก็จะมีแต่ความสุขความเจริญ เพราะความสุขที่แท้จริง ไม่ได้อยู่ที่ข้าวของ เงินทอง หรือทรัพย์สมบัติอะไรทั้งสิ้น
ในทางพระพุทธศาสนา ความโลภ คือ ความอยากมาก จนเกินความพอเหมาะพอควร ไม่เดินสายกลาง จึงทำให้เกิดความทุกข์ทางจิตใจมากกว่าระดับปกติ นับเป็นความอยากอย่างรุนแรง ทำให้จิตใจดิ้นรนด้วยความทะยานอยาก เรียกว่า "ตัณหา".และความโลภที่เห็นชัดเจนมากที่สุดคือ ความโลภที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของตัณหา และกามารมณ์ ทุกวันนี้คนเราอยากเสพกาม จนเกินความพอเหมาะพอควร เนื่องเพราะการรับรู้ข้อมูลที่เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส จะเป็นทางใดทางหนึ่งหรือหลาย ๆ ทางก็ได้ เช่น มีความอยากมากที่จะเห็นสิ่งที่สวยงามทางตา ฟังเสียงที่ไพเราะทางหู ดมกลิ่นที่หอมทางจมูก ลิ้มรสที่อร่อยทางลิ้น สัมผัสของที่นุ่มนวลทางกาย เป็นต้น
ความดิ้นรนทะยานอยากที่จะเสพกามอย่างรุนแรง เรียกว่า กามตัณหา
ส่วนอีกตัวอย่างความโลภคือประเภทแบบอยากได้ อยากมี อยากเป็น คือ การมีความอยากมากที่จะได้ จะมี จะเป็น จนเกินความพอเหมาะพอควร เช่น อยากจะได้ลาภมาก อยากจะมีทรัพย์สมบัติมาก อยากเป็นคนมีอายุยืนมาก เป็นต้น
นับเป็นความดิ้นรนทะยานอยากที่จะได้ จะมี จะเป็นอย่างรุนแรง
ความโลภเฉกเช่นนี้เป็นไปตามที่ตนมีความปรารถนา ถึงขั้นเบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่น หรือสิ่งแวดล้อม สุดท้ายก็ทำให้เกิดความทุกข์
คนไทยทุกวันนี้ ส่วนใหญ่มีแต่ความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย คนไทยที่ว่านี้อยู่ในตัวเมืองที่เจริญและคนจำพวกนี้มีแต่ความลุ่มหลงเป็นนิสัย ชอบจัดงานใหญ่โต ฉลองยศ ฉลองตำแหน่ง เลี้ยงรุ่น งานคืนสู่เหย้า ที่สำคัญงานประเภทนี้มีอยู่ทุกวัน
จนกลายเป็นความเชื่อที่สืบเนื่องมานานเป็นประเพณี ถูกสร้างขึ้นเป็นค่านิยม โดยเฉพาะเรื่องของหน้าตา เกียรติยศ ชื่อเสียง ต้องการให้สังคมยอมรับ เชื่อถือ และคนประเภทนี้ เมื่อเกิดความผันแปรอันเป็นกฎธรรมดา เช่น เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ความเศร้าหมองก็จับหัวใจ มีความทุกขเวทนาในอารมณ์ จนสุดจะทนทานได้
เมื่อหัวโขนหลุดลอยไป ผู้คนที่เคยแวดล้อม เคยสรวลเสเฮฮา เคยยกยอปอปั้นประจบสอพลอ ก็ทยอยหลบหน้าหายไป ผู้ที่เคยให้ความเคารพนับถือ เคยสรรเสริญเยินยอ สุดท้ายก็หายไปในที่สุด ไม่ปรากฏให้เห็นดังที่เป็นมา บุคคลเช่นนี้มีมากมายในเมืองไทย มีทุกระดับชั้น
ยกตัวอย่างนิทานอุทาหรณ์ เรื่องราวของนาย ก. ซึ่งนับเป็นบุคคลที่เคยมีอำนาจวาสนา ประกอบกับฐานะการเงินอยู่ในขั้นสูง เป็นเจ้าของกิจการใหญ่โตมาแล้วหลายแห่ง และมีทีท่าจะขยายงานออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะความไม่รู้จักพอ
ความต้องการครั้งหลังสุดของนาย ก. คือเจ้าของกิจการที่ใหญ่สุดในประเทศไทย และสมบูรณ์แบบที่สุด เมื่อท่านตั้งใจจะเอาอะไรแล้ว นาย ก.ต้องเอาให้ได้ จะพยายามทุ่มเทเงินทองวิ่งเต้นเป็นการใหญ่ ชื่อเสียงของนาย ก. มีอยู่ในข่าวสังคมชั้นสูงเกือบทุกสัปดาห์ ประเดี๋ยวให้เงินการกุศลงานโน้น ประเดี๋ยวให้เงินการกุศลงานนี้ ประเดี๋ยวจัดงานรุ่นนักเรียนเก่า ประเดี๋ยวได้รับเลือกเป็นประธานงานต่างๆ เป็นต้น
ที่สำคัญชั่วโมงนี้นาย ก. กำลังมีชื่อเสียงสูงสุด และได้รับความนิยมจากสังคมเป็นอย่างยิ่ง พอชื่อเสียงได้ระดับเป็นที่พอใจ นาย ก. ก็เข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ ที่พอจะมีอำนาจเนรมิตให้ได้งานที่ปรารถนามาช้านาน
ความมีชื่อเสียงเกียรติยศที่เลื่องลือในวงสังคมทั่วไป ผสมกับเงินที่มีจำนวนหลายร้อยล้าน ผู้หลักผู้ใหญ่ก็อนุมัติให้ได้งานชิ้นนั้นสมแก่ความต้องการ
แต่ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นอนิจจัง ดังพระพุทธพจน์ดำรัสไว้ เมื่อสองพันกว่าปีโดยไม่เปลี่ยนแปลง สัจธรรมเป็นของเที่ยงแท้ในทุกยุคทุกสมัย สิ่งที่ นาย ก. ทุ่มเงินไปมากมายมหาศาล จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พินาศฉิบหายในเวลาต่อมา
เพราะความโลภหวังจะอุดมสมบูรณ์ สุดท้ายก็พลาด ชื่อเสียงในระดับสังคมชั้นสูงของ นาย ก. เริ่มจางลงไป ผู้คนที่เคยไปมาหาสู่ด้วยกิริยานอบน้อม เคารพนับถือ เชื่อฟังคำพูดทุกคำทุกประโยค ทุกคนหายเงียบไป
เพื่อนพ้องที่เคยสบถสาบานยืนยันว่า จะสนับสนุน นาย ก. ในทุกกรณี หายหน้าไปหมด “ความเกิด ความดับ” กำลังคืบคลานเข้ามาหาอย่างรวดเร็ว และในที่สุด งานก็ล่ม เงินจำนวนนับร้อย ๆ ล้าน กลายเป็นผงธุลีดิน ภรรยาของ นาย ก. ที่เคยมีหน้ามีตาในงานสังคมแทบจะทุกงาน ออกไปเก็บตัวในต่างจังหวัด และหายเงียบเข้ากลีบเมฆจนทุกบัดนี้
สุดท้าย นาย ก. ก็ล้มและพลาด สะดุดขาตัวเอง เพราะความโลภ นอกจากจะหมดตัวแล้ว ผู้ค้ำประกันก็พลอยเสียหาย กระทบกระเทือนไปด้วยไม่น้อย
อุทาหรณ์ของนิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่าชีวิตของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเคยรุ่งเรืองในครั้งหนึ่ง ถึงกาลวิบัติเพราะความหลงใหลในสิ่งที่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย
เพราะเหตุนี้ ความหลงในลาภ ยศ สุข สรรเสริญ โดยไม่คำนึงถึงทางตรงกันข้าม คือ เสื่อมยศ เสื่อมลาภ นินทา และความทุกข์ เป็นสาเหตุให้มนุษย์คนหนึ่ง ต้องมีอันจมดิ่งลง อย่างไม่มีวันที่จะโผล่ขึ้นมาอีกเลย ด้วยประการฉะนี้
ฉะนั้นสิ่งที่อยากจะขอฝากเตือนก็คือ ถ้าตราบใดที่พวกเราไม่รู้จักคำว่า “พอ” แล้วล่ะก็ พวกเราทั้งหมดจะต้องประสบความทุกข์อย่างแสนสาหัส ดังตัวอย่างที่ยกมาเล่าให้ฟังนี้ อย่างแน่นอนและหลีกเลี่ยงไม่ได้!?!
ความโลภ นั้นดับง่ายกว่า ความโกรธ ความหลง
โลภ โกรธ หลง ล้วนเป็นภัยแก่มนุษย์ ไม่น้อยไปกว่ากันเท่าใด โดยเฉพาะถ้าผู้ใดมีความประมาท ผู้นั้นก็ย่อมจะถึงแก่ความตายทั้งเป็นด้วยกันทั้งสิ้น!!
หัวใจสำคัญนั้นเกิดจาก “ความปรารถนาหาสิ่งใด พอไม่ได้ดังปรารถนา ก็เป็นทุกข์”
ความต้องการครั้งหลังสุดของนาย ก. คือเจ้าของกิจการที่ใหญ่สุดในประเทศไทย และสมบูรณ์แบบที่สุด เมื่อท่านตั้งใจจะเอาอะไรแล้ว นาย ก.ต้องเอาให้ได้ จะพยายามทุ่มเทเงินทองวิ่งเต้นเป็นการใหญ่ ชื่อเสียงของนาย ก. มีอยู่ในข่าวสังคมชั้นสูงเกือบทุกสัปดาห์ ประเดี๋ยวให้เงินการกุศลงานโน้น ประเดี๋ยวให้เงินการกุศลงานนี้ ประเดี๋ยวจัดงานรุ่นนักเรียนเก่า ประเดี๋ยวได้รับเลือกเป็นประธานงานต่างๆ เป็นต้น
ที่สำคัญชั่วโมงนี้นาย ก. กำลังมีชื่อเสียงสูงสุด และได้รับความนิยมจากสังคมเป็นอย่างยิ่ง พอชื่อเสียงได้ระดับเป็นที่พอใจ นาย ก. ก็เข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ ที่พอจะมีอำนาจเนรมิตให้ได้งานที่ปรารถนามาช้านาน
ความมีชื่อเสียงเกียรติยศที่เลื่องลือในวงสังคมทั่วไป ผสมกับเงินที่มีจำนวนหลายร้อยล้าน ผู้หลักผู้ใหญ่ก็อนุมัติให้ได้งานชิ้นนั้นสมแก่ความต้องการ
แต่ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นอนิจจัง ดังพระพุทธพจน์ดำรัสไว้ เมื่อสองพันกว่าปีโดยไม่เปลี่ยนแปลง สัจธรรมเป็นของเที่ยงแท้ในทุกยุคทุกสมัย สิ่งที่ นาย ก. ทุ่มเงินไปมากมายมหาศาล จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พินาศฉิบหายในเวลาต่อมา
เพราะความโลภหวังจะอุดมสมบูรณ์ สุดท้ายก็พลาด ชื่อเสียงในระดับสังคมชั้นสูงของ นาย ก. เริ่มจางลงไป ผู้คนที่เคยไปมาหาสู่ด้วยกิริยานอบน้อม เคารพนับถือ เชื่อฟังคำพูดทุกคำทุกประโยค ทุกคนหายเงียบไป
เพื่อนพ้องที่เคยสบถสาบานยืนยันว่า จะสนับสนุน นาย ก. ในทุกกรณี หายหน้าไปหมด “ความเกิด ความดับ” กำลังคืบคลานเข้ามาหาอย่างรวดเร็ว และในที่สุด งานก็ล่ม เงินจำนวนนับร้อย ๆ ล้าน กลายเป็นผงธุลีดิน ภรรยาของ นาย ก. ที่เคยมีหน้ามีตาในงานสังคมแทบจะทุกงาน ออกไปเก็บตัวในต่างจังหวัด และหายเงียบเข้ากลีบเมฆจนทุกบัดนี้
สุดท้าย นาย ก. ก็ล้มและพลาด สะดุดขาตัวเอง เพราะความโลภ นอกจากจะหมดตัวแล้ว ผู้ค้ำประกันก็พลอยเสียหาย กระทบกระเทือนไปด้วยไม่น้อย
อุทาหรณ์ของนิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่าชีวิตของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเคยรุ่งเรืองในครั้งหนึ่ง ถึงกาลวิบัติเพราะความหลงใหลในสิ่งที่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย
เพราะเหตุนี้ ความหลงในลาภ ยศ สุข สรรเสริญ โดยไม่คำนึงถึงทางตรงกันข้าม คือ เสื่อมยศ เสื่อมลาภ นินทา และความทุกข์ เป็นสาเหตุให้มนุษย์คนหนึ่ง ต้องมีอันจมดิ่งลง อย่างไม่มีวันที่จะโผล่ขึ้นมาอีกเลย ด้วยประการฉะนี้
ฉะนั้นสิ่งที่อยากจะขอฝากเตือนก็คือ ถ้าตราบใดที่พวกเราไม่รู้จักคำว่า “พอ” แล้วล่ะก็ พวกเราทั้งหมดจะต้องประสบความทุกข์อย่างแสนสาหัส ดังตัวอย่างที่ยกมาเล่าให้ฟังนี้ อย่างแน่นอนและหลีกเลี่ยงไม่ได้!?!
ความโลภ นั้นดับง่ายกว่า ความโกรธ ความหลง
โลภ โกรธ หลง ล้วนเป็นภัยแก่มนุษย์ ไม่น้อยไปกว่ากันเท่าใด โดยเฉพาะถ้าผู้ใดมีความประมาท ผู้นั้นก็ย่อมจะถึงแก่ความตายทั้งเป็นด้วยกันทั้งสิ้น!!
หัวใจสำคัญนั้นเกิดจาก “ความปรารถนาหาสิ่งใด พอไม่ได้ดังปรารถนา ก็เป็นทุกข์”
*************************
เรื่องโดย : พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ (หลวงพี่น้ำฝน)
เรียบเรียงโดย : บก.ไก่ วีรพล และทีมงานมงคลพระ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น