พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือที่ประชาชนทั่วไปขนานพระนามว่า "เสด็จเตี่ย" ทรงก่อตั้งโรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายช่างกล ซึ่งต่อมารวมเป็น "กองโรงเรียนนายเรือ" ทรงปรับปรุงแก้ไขรูปแบบของกองทัพเรือ และกองทัพบกไทย นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากการไปศึกษายังต่างประเทศเข้ามาสร้างความเจริญก้าวหน้า
นอกจากนี้ ยังทรงมีส่วนในการจัดตั้งกองดับเพลิง โรงเรียนพลทหาร ฯลฯ จนได้รับความเคารพศรัทธายกย่องให้พระองค์เป็น "พระบิดาแห่งราชนาวีไทย" และทรงเป็นต้นสกุล "อาภากร"
พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาโหมด ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2423
เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา พระราชบิดาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งนับเป็นพระองค์แรกในบรรดาพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกทั้งทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ศึกษาวิชานี้ในต่างประเทศ
เมื่อจบการศึกษากลับมาทรงรับราชการทหารเรือ ปีพ.ศ.2443 ได้รับพระราชทานยศเป็นนายเรือโท (ปัจจุบันเทียบเท่านาวาตรี) ปีพ.ศ.2444 เป็นนายเรือเอก (ปัจจุบันเทียบเท่านาวาเอก) และด้วยพระปรีชาสามารถในวิชาการทหารเรืออันยอดเยี่ยม จึงทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารเรืออีกตำแหน่งหนึ่ง
จากนั้นได้รับพระราชทานยศเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2447 ได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็นพลเรือตรีกรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ กระทั่งปีพ.ศ.2449 จึงทรงได้เป็นเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ พระองค์ทรงปฏิวัติกองทัพเรือให้มีความทันสมัย เพื่อไม่ให้ชาวไทยเสียเปรียบชาวต่างประเทศดังเช่นอดีตที่ผ่านๆ มา
ทรงก่อตั้งโรงเรียนนายเรือ โดยได้รับที่ดินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระทำพิธีเปิดด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2449 และพระองค์ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง
ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนยศเป็นพลเรือเอก เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2463 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระอิสริยยศเป็นกรมหลวง เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2463 และหลังจากได้รับพระราชทานตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ในปี พ.ศ.2466 เพียงไม่กี่วัน พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ได้กราบบังคมทูลลาออกจากราชการเพื่อพักผ่อนรักษาพระองค์เนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์
จากนั้นมา พระองค์ก็ทรงเป็นหมอยาไทย เที่ยวรักษาโรคให้ราษฎร ทรงเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณจากตำราไทย กับพระยาพิษณุหมอหลวง พระองค์ทรงเรียกตัวเองว่า "หมอพร"
เสด็จในกรมฯ ไม่เลือกชั้นวรรณะในการตรวจรักษา ทรงรักษาโรคและจ่ายยาให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น จนเป็นที่รักเคารพของราษฎรโดยถ้วนทั่ว วาระสุดท้ายเสด็จในกรมฯ ประทับที่ จ.ชุมพร และประชวรเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้ 3 วันก็สิ้นพระชนม์ที่ตำบลทรายรี ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2466 สิริพระชนมายุ 44 พรรษา
ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนยศเป็นพลเรือเอก เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2463 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระอิสริยยศเป็นกรมหลวง เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2463 และหลังจากได้รับพระราชทานตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ในปี พ.ศ.2466 เพียงไม่กี่วัน พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ได้กราบบังคมทูลลาออกจากราชการเพื่อพักผ่อนรักษาพระองค์เนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์
จากนั้นมา พระองค์ก็ทรงเป็นหมอยาไทย เที่ยวรักษาโรคให้ราษฎร ทรงเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณจากตำราไทย กับพระยาพิษณุหมอหลวง พระองค์ทรงเรียกตัวเองว่า "หมอพร"
เสด็จในกรมฯ ไม่เลือกชั้นวรรณะในการตรวจรักษา ทรงรักษาโรคและจ่ายยาให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น จนเป็นที่รักเคารพของราษฎรโดยถ้วนทั่ว วาระสุดท้ายเสด็จในกรมฯ ประทับที่ จ.ชุมพร และประชวรเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้ 3 วันก็สิ้นพระชนม์ที่ตำบลทรายรี ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2466 สิริพระชนมายุ 44 พรรษา
ในงานพระเมรุท้องสนามหลวง ปี พ.ศ.2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้าง "เหรียญที่ระลึก" เพื่อแจกจ่ายเป็นที่ระลึกและเป็นการเชิดชูพระเกียรติ โดยได้รับการปลุกเสกจาก หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท พระเกจิอาจารย์ที่เป็นพระอาจารย์ของเสด็จในกรมฯ
เหรียญที่ระลึกกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นเหรียญรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด หูเจาะในตัว จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อทองแดง เนื้อทองแดงผิวไฟ เนื้อทองแดงกาไหล่เงิน และเนื้อทองแดงกาไหล่ทอง พิมพ์ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนกรมหลวงชุมพรฯ ครึ่งองค์ ฉลองพระองค์เต็มยศนายทหารเรือ โดยรอบสี่เหลี่ยมจารึกข้อความ "กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์" โดยมีลวดลายกระหนกประดับ พิมพ์ด้านหลัง ตรงกลางเป็นรูปพระอาทิตย์ทรงราชรถ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์
ข้อความโดยรอบจารึกว่า "ที่ระฤกงานพระเมรุ ท้องสนามหลวง วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๖" มีลายกระหนกประดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์พระขรรค์เต็ม และ พิมพ์พระขรรค์ขาด ซึ่งจะแตกต่างกันตรง "พระขรรค์" ช่วงที่ต่อจากพระหัตถ์ว่าเต็มหรือขาด
ด้วยความที่เป็นเหรียญยอดนิยมเหรียญหนึ่ง จึงมีการลอกเลียนแบบค่อนข้างสูง จึงนำวิธีการพิจารณาเหรียญแท้โดยสังเขปมาฝาก
ตำหนิแม่พิมพ์ด้านหน้า :
ข้อความโดยรอบจารึกว่า "ที่ระฤกงานพระเมรุ ท้องสนามหลวง วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๖" มีลายกระหนกประดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์พระขรรค์เต็ม และ พิมพ์พระขรรค์ขาด ซึ่งจะแตกต่างกันตรง "พระขรรค์" ช่วงที่ต่อจากพระหัตถ์ว่าเต็มหรือขาด
ด้วยความที่เป็นเหรียญยอดนิยมเหรียญหนึ่ง จึงมีการลอกเลียนแบบค่อนข้างสูง จึงนำวิธีการพิจารณาเหรียญแท้โดยสังเขปมาฝาก
ตำหนิแม่พิมพ์ด้านหน้า :
1.เจาะหูในตัว
2.เส้นสันขอบเหรียญนูนสูงชัดเจน
3.มีขีดแตก ตรง 'ม' คำว่ากรมหลวง
4.หัว 'พ' แกะเส้นเกือบขาดจากกัน
5.คำว่า 'อาภา' สระอาแกะชิดกับตัว 'อ' และ 'ภ'
6.เส้นเรียวชิดในอินทรธนู
7.ตัวหนังสือแกะคมชัดเจน
ตำหนิแม่พิมพ์ด้านหลัง :
ตำหนิแม่พิมพ์ด้านหลัง :
1.พิมพ์พระขรรค์เต็ม และพิมพ์พระขรรค์ขาด เป็นเหรียญที่ใช้แบบพิมพ์ตัวเดียวกัน ให้ดูตำหนิตรงพระอาทิตย์ทรงราชรถเป็นหลัก ในการแยกพิมพ์ คือ พระขรรค์เต็มจะติดมาจากบล็อกเป็นเส้นนูน แต่ถ้ามีการตอก (เหล็ก) ให้เป็นเส้นลึกลงในเนื้อเหรียญ เป็นพิมพ์พระขรรค์ขาด
2.พิมพ์พระขรรค์ขาด ตรงซี่ที่เชื่อมติดเป็นอาสนะอยู่เหนือวงล้อราชรถจะมีขีด
3.ช่วงท้ายของราชรถมีการตอกเช่นกัน
4.พิมพ์พระขรรค์เต็มจะติดหางราชสีห์ พิมพ์พระขรรค์ขาดไม่ติด
5.คำว่า 'ที่' สระอีและไม้เอกเป็นเครื่องหมาย '+'
6.ตัว 'ว' มีเนื้อเกินเป็นจุดกลม
7.รอยแตกในพิมพ์
8.หัวเลข '๔' ตรงปีพ.ศ.มีเนื้อเกินเห็นเด่นชัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น