สิ่งหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของวัดก็คือ การลอดอุโบสถอายุมากกว่า 50 ปี ที่ยกขึ้นให้พ้นจากวิกฤตน้ำท่วม ตั้งแต่ปีพ.ศ.2550 โดยตลอด 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนคนเดินทางมาลอดโบสถ์ ไม่เคยลดลง บางคนมาแล้วมาอีก ถ้าเป็นวันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดราชการ และวันนักขัตฤกษ์ มีคนเดินทางมาลอดโบสถ์เป็นหลักพันคน ส่วนวันธรรมดาไม่ต่ำกว่า 500 คน ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจทุกชนิดในแสมสาร
สืบเนื่องจากปีพ.ศ.2555 เป็นอภิลักขิตกาลที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ครบ 2600 ปี หรือปีพุทธชยันตี ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา (วันที่ 4 มิ.ย. 2555) ทางวัดช่องแสมสารได้จัดกิจกรรมร่วมเฉลิมฉลองคือ การปฏิบัติธรรมเป็นพุทธบูชา มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเวียนรอบอุโบสถ โดยมีญาติโยมพุทธศาสนิกชนมาร่วมงานจำนวนมาก
นอกจากนี้ ยังจัดปฏิบัติธรรมในช่วงเวลา 18.00 น. ของทุกวันศุกร์ และวันเสาร์ตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นที่น่าปลื้มใจมาก เพราะภาพที่เห็นคือผู้เฒ่าผู้แก่ คนหนุ่มสาว รวมไปถึงเด็กวัยรุ่นและวัยเรียน แต่งกายด้วยเสื้อผ้าหลากสีสันนับร้อยๆ คน นั่งสวดมนต์อย่างเป็นระเบียบรอบโบสถ์ โดยมีเจ้าอาวาสและพระเณร นำสวดมนต์
พระครูวิสารทสุตรากร เจ้าคณะตำบลพลูตาหลวง และเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน กล่าวว่า กิจกรรมสวดมนต์นี้ดำเนินการมากว่า 2 ปี แล้ว คนที่มาวัดช่องแสมสารอาจจะมองเห็นการก่อสร้างศาสนสถานมากมาย รวมทั้งอาจจะมองว่าวัดช่องแสมสารเป็นวัดท่องเที่ยว แต่อีกมุมหนึ่ง ทางวัดก็สร้างคนด้วย มีการเปิดสอนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สอนปฏิบัติธรรม รวมทั้งสอนธรรมะศึกษาให้เด็กนักเรียนในท้องถิ่นอีกด้วย
สำหรับวัดช่องแสมสาร นอกจากจะขึ้นชื่อเรื่อง "การลอดโบสถ์" เพื่อสะเดาะเคราะห์ ทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ แล้ว ปัจจุบันยังมี "ท้าวสหัมดีพรหม (มหาพรหม)" ขนาดหน้าตักกว้าง 7.88 เมตร เป็นศูนย์รวมศรัทธาของผู้ที่มาเยือนจากทั่วสารทิศ ซึ่งนับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก จัดสร้างขึ้นเมื่อกลางปี พ.ศ.2554 และประกอบพิธีอัญเชิญประดิษฐานบนแท่นศิลา เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2554 โดยมี พระพรหมสุธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ เจ้าคณะภาค 12 กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานพิธีเบิกพระเนตร
กล่าวสำหรับพระพรหมนั้น ในพระพุทธศาสนายอมรับว่าเป็นเทพที่ปกป้องพระพุทธศาสนา เข้ามาเกี่ยวข้องกับพระบรมศาสดาหลายหนด้วยกัน สังเกตง่ายๆ คือ การอาราธนาให้แสดงธรรมเป็นเจ้าแรก ดังปรากฏในบทอาราธนาเทศน์ว่า พรหมาจโลกาธิปติ สหัมปติ อันเป็นการระลึกถึงการอาราธนาธรรมของพระสหัมบดีพรหมนั่นเอง
เช่นเดียวกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา มีธรรมข้อหนึ่งคือ พรหมวิหาร ซึ่งหมายถึง ธรรมะที่พระพรหมถือปฏิบัติเป็นประจำ และผู้ที่จะได้ไปเป็นพรหมก็ต้องปฏิบัติเช่นนั้น คือ
เช่นเดียวกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา มีธรรมข้อหนึ่งคือ พรหมวิหาร ซึ่งหมายถึง ธรรมะที่พระพรหมถือปฏิบัติเป็นประจำ และผู้ที่จะได้ไปเป็นพรหมก็ต้องปฏิบัติเช่นนั้น คือ
1.เมตตา มีความสงสารและเห็นใจผู้ที่ด้อยกว่าและร้องขอความช่วยเหลือ
2.กรุณา ให้การสงเคราะห์ตามควรแก่กรณีที่จะทำ
3.มุทิตา ให้ด้วยความบริสุทธิ์ไม่หวังในสิ่งตอบแทนภายหลังและให้โดยทั่วกัน
4.อุเบกขา ความเที่ยงธรรมไม่ลำเอียงเห็นแก่หน้า หรือการให้ความเสมอภาค
นอกจากนี้ ในคติพุทธศาสนา พระพรหมเป็นชาวสวรรค์ชั้นสูงขั้นหนึ่งที่สูงกว่าเทวดาทั่วไป เรียกว่า พรหม พระพรหมยังอยู่ในกามาวจรภพ มีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสวรรค์ที่เรียกว่าชั้นพรหม (พรหมภูมิ) พระพรหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พรหมที่มีรูป เรียกว่า รูปพรหม มีทั้งหมด 16 ชั้น และพรหมที่ไม่มีรูป เรียกว่า อรูปพรหม มีทั้งหมด 4 ชั้น โดยอรูปพรหมจะสูงกว่ารูปพรหม
ผู้ที่สนใจใฝ่ปฏิบัติธรรมสามารถเข้าร่วมได้ทุกเย็นวันศุกร์ และวันเสาร์
ผู้ที่สนใจใฝ่ปฏิบัติธรรมสามารถเข้าร่วมได้ทุกเย็นวันศุกร์ และวันเสาร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น